Submissions

Login or Register to make a submission.

Submission Preparation Checklist

As part of the submission process, authors are required to check off their submission's compliance with all of the following items, and submissions may be returned to authors that do not adhere to these guidelines.
  • The submission has not been previously published, nor is it before another journal for consideration (or an explanation has been provided in Comments to the Editor).
  • The submission file is in Microsoft Word document file format.
  • Where available, URLs for the references have been provided.
  • The text is single-spaced; uses a 12-point font; employs italics, rather than underlining (except with URL addresses); and all illustrations, figures, and tables are placed within the text at the appropriate points, rather than at the end.
  • The text adheres to the stylistic and bibliographic requirements outlined in the Author Guidelines.

Author Guidelines

ดาวน์โหลด

Author Guidelines (pdf)

- Research article  (Title page) (docx)
- Research article (Manuscript) (docx)

- Case report (Title page) (docx)
- Case report (Manuscript)
(docx)

- Review article (Title page) (docx)
- Review article (Manuscript)
(docx)

พันธกิจของวารสารเวชศาสตร์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย

วารสารเวชศาสตร์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทยเป็นวารสารอย่างเป็นทางการของวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย โดยมีพันธกิจเพื่อส่งเสริมให้เกิดผลงานวิจัยทางด้านเวชศาสตร์ฉุกเฉินอย่างต่อเนื่องและครอบคลุมทุกสาขาของเวชศาสตร์ฉุกเฉินและวิทยาศาสตร์พื้นฐานที่เกี่ยวข้อง โดยรับตีพิมพ์ผลงานจากทั้งสมาชิกภายในประเทศไทยและจากต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยวารสารมีกระบวนการตรวจสอบที่ชัดเจน (editors and peer reviewers) เพื่อให้ได้ผลงานตีพิมพ์ที่มีคุณภาพ

ประเภทของบทความที่รับตีพิมพ์ในวารสารเวชศาสตร์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย

บทความวิชาการทางด้านวารสารเวชศาสตร์ฉุกเฉิน ประกอบด้วยบทคัดย่อภาษาอังกฤษและภาษาไทย เนื้อหาเป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาไทย แบ่งบทความออกเป็น 9 ประเภท คือ

  1. รายงานวิจัย (RESEARCH ARTICLE) เป็นรายงานผลการค้นคว้าวิจัยของผู้เขียน ซึ่งไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารอื่น การเขียนเป็นบทหรือตอนตามลำดับดังนี้ บทคัดย่อภาษาอังกฤษไม่เกิน 300 คำ คำสำคัญ 3-5 คำ บทนำ วัตถุประสงค์ วัสดุ (หรือผู้ป่วย) และวิธีการผลการศึกษา วิจารณ์ สรุป กิตติกรรมประกาศ ความยาวไม่เกิน 4,500 คำ ตารางหรือภาพไม่เกิน 7
  2. บทรายงานเบื้องต้น (PRELIMINARY REPORT/ Short paper) เป็นรายงานการค้นคว้าวิจัยหรือการสังเกตขั้นต้น ที่ต้องการรายงานให้ผู้อื่นทราบโดยเร็ว แต่ยังไม่มีรายละเอียดเพียงพอที่จะเขียนเป็นบทรายงานที่สมบูรณ์ได้ความยาวไม่เกิน 2,000 คำ ตารางหรือภาพไม่เกิน 2 และเอกสารอ้างอิงไม่เกิน 15 รายการ
  3. บทความฟื้นวิชาการ (REVIEW ARTICLE) ควรเป็นบทความที่ให้ความรู้ใหม่ รวบรวมสิ่งตรวจพบใหม่หรือเรื่องที่น่าสนใจที่ผู้อ่านสามารถนำไปประยุกต์ได้หรือเป็นบทความวิเคราะห์สถานการณ์โรคต่างๆ ประกอบด้วย บทนำภาษาอังกฤษไม่เกิน 300 คำ ความรู้หรือข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่นำมาเขียนวิจารณ์หรือวิเคราะห์ สรุปเอกสารอ้างอิงที่ทันสมัย ความยาวไม่เกิน 4,500 คำ ตารางหรือภาพไม่เกิน 7
  4. รายงานผู้ป่วย (CASE REPORT) เป็นรายงานผลการศึกษาจากผู้ป่วยซึ่งเป็นโรคหรือภาวะที่พบได้ยากหรือโรคอุบัติใหม่ ไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารอื่นมาก่อน ควรประกอบด้วยบทคัดย่อเป็นภาษาอังกฤษและภาษาไทย บทนำ รายงานผู้ป่วย วิจารณ์ ข้อคิดเห็น สรุปและเอกสารอ้างอิง
  5. บทบรรณาธิการ (EDITORIAL) เป็นบทความที่เขียนวิจารณ์บทความใดบทความหนึ่งที่อยู่ในวารสารเวชศาสตร์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทน รวมทั้งเพิ่มเติมความรู้ใหม่ๆ เพื่อทำให้บทความที่วิจารณ์นั้นสมบูรณ์ยิ่งขึ้น หรือบทความอื่นใดที่บรรณาธิการเห็นสมควร
  6. ย่อวารสาร (JOURNAL ABSTRACT) เป็นบทความสั้นๆ ที่แปลและเรียบเรียงจากวารสารต่างประเทศที่ทันสมัยและเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน
  7. จดหมายถึงบรรณาธิการ (LETTER to EDITOR) เป็นจดหมายที่เขียนวิจารณ์เกี่ยวข้องกับบทความที่ได้ลงตีพิมพ์ไปแล้ว หรือแสดงผลงานทางวิชาการที่ต้องการเผยแพร่อย่างย่อ ความยาวไม่เกิน 2 หน้ากระดาษพิมพ์และมีเอกสารอ้างอิงประกอบ
  8. บทประชุมวิชาการได้แก่ บทความที่รวบรวมจากการประชุมทางวิชาการ ที่เห็นว่าเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่าน
  9. Imaging quiz เป็นการทดสอบความรู้ทั่วไปทางการแพทย์โดยเสนอตัวอย่างผู้ป่วยในภาวะฉุกเฉินที่น่าสนใจ เช่น คลื่นไฟฟ้าหัวใจ ภาพถ่ายทางรังสี เป็นต้น

 องค์ประกอบของบทความเพื่อส่งตีพิมพ์

  1. ข้อมูลเบื้องต้น (title page)
  2. บทความ (manuscript text) (สามารถดูรูปแบบของแต่ละชนิดบทความได้ที่ไฟล์ตัวอย่าง (template))
    1. บทคัดย่อ (abstract)
    2. บทความ (manuscript text)
    3. เอกสารอ้างอิง (reference)

การส่งบทความเพื่อตีพิมพ์

ต้องส่งทางออนไลน์เท่านั้นที่ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJEM

การเขียนเอกสารอ้างอิง 

  1. ผู้เขียนต้องรับผิดชอบในความถูกต้องของเอกสารอ้างอิง ใช้ font: TH Sarabun New 16
    1.1 การอ้างอิงเอกสาร ให้ใช้หมายเลข สำหรับเอกสารอ้างอิงอันดับแรกและเรียงต่อไปตามลำดับ โดยเรียงตามเนื้อหาของเอกสารอ้างอิง มิใช่เรียงตามอักษรของชื่อผู้นิพนธ์ หากต้องอ้างอิงเอกสารเรื่องเดิมในบทความอีกครั้งให้ใช้หมายเลขเดิม
    1.2 เอกสารอ้างอิงหากเป็นวารสารภาษาอังกฤษ ให้ใช้ชื่อย่อวารสารตาม Index Medicus

  2. รูปแบบการเขียนเอกสารอ้างอิง

      การอ้างอิงเอกสารใช้ระบบแวนคูเวอร์ (Vancouver style - superscript)  โดยใส่ตัวเลขตัวยกหลังข้อความ ถ้าต้องการอ้างอิงซ้ำให้ใช้หมายเลขเดิม ห้ามใช้คำย่อในเอกสารอ้างอิง ยกเว้นชื่อต้นและชื่อวารสารบทความที่บรรณาธิการรับตีพิมพ์แล้วแต่ยังไม่เผยแพร่ให้ระบุ “กำลังพิมพ์” บทความที่ไม่ได้ตีพิมพ์ให้แจ้ง “ไม่ได้ตีพิมพ์” หลีกเลี่ยง “ติดต่อส่วนตัว” มาใช้อ้างอิง เว้นแต่มีข้อมูลสำคัญมากที่หาไม่ได้โดยทั่วไป ให้ระบุชื่อและวันที่ติดต่อในวงเล็บท้ายชื่อเรื่องที่อ้างอิง ชื่อวารสารในการอ้างอิง ให้ใช้ชื่อย่อตามรูปแบบของ U.S. National Library of Medicine ที่ตีพิมพ์ใน Index Medicus หรือในเว็บไซต์ https://www.ncbi.nlm.nih.gov/nlmcatalog/journals

  1. การเขียนเอกสารอ้างอิงในวารสารวิชาการ มีหลักเกณฑ์ ดังนี้
    3.1. วารสารวิชาการ

ลำดับที่. ชื่อผู้นิพนธ์. ชื่อบทความ.  ชื่อวารสาร ปีที่พิมพ์;ปีที่:หน้าแรก-หน้าสุดท้าย.

- วารสารภาษาไทย ชื่อผู้นิพนธ์ให้ใช้ชื่อเต็มทั้งชื่อและชื่อสกุล ชื่อวารสารเป็นชื่อเต็มที่ปรากฏที่หน้าปก

- วารสารภาษาอังกฤษใช้ชื่อสกุลก่อน ตามด้วยอักษรย่อตัวหน้าตัวเดียวของชื่อต้นและชื่อกลางถ้ามีผู้นิพนธ์มากกว่า 6 คน ให้ใส่ชื่อเพียง 6 คนแรก คั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาค (comma,) แล้วตามด้วย et al.

- ชื่อบทความภาษาอังกฤษใช้อักษรตัวใหญ่ (Capital letter) เฉพาะตัวแรกและชื่อเฉพาะ นอกนั้นให้ใช้อักษรตัวเล็กทั้งหมด เมื่อจบชื่อบทความให้ใส่เครื่องหมายมหัพภาค (Fullstop.)

- ชื่อวารสารภาษาอังกฤษใช้ชื่อย่อตามแบบของ lndex Medicus หรือตามแบบที่ใช้ในวารสารนั้น ๆ เลขหน้าสุดท้ายใส่เฉพาะเลขท้ายตามตัวอย่างดังนี้

          3.1.1 เอกสารจากวารสารวิชาการผู้แต่งเกิน 6 คน ให้ใส่ชื่อ 6 คนแรกตามด้วย et al.

  1. วิทยา สวัสดิวุฒิพงศ์, พัชรีเงินตรา, ปราณี มหาศักดิ์พันธ์, ฉวีวรรณ เชาวกีรติพงศ์, ยุวดี ตาทิพย์. การสำรวจความครอบคลุมและการใช้บริการตรวจหามะเร็งปากมดลูกในสตรีอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ปี 2540. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2541;7:20-6
  2. Parkin DM, Clayton D,  Black RJ,  Masuyer E,  Friedl HP,  lvanov E, et al.  Childhood leukaemiaa  in  Europe after Chernobyl:5 year follow-up. Br J Cancer 1996;73:1006-12.

          3.1.2 องค์กรเป็นผู้นิพนธ์หน่วยงานย่อยขึ้นก่อน หน่วยงานหลัก

    คณะผู้เชี่ยวชาญจากสมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย. เกณฑ์การวินิจฉัยและแนวทางการประเมินการสูญเสียสมรรถภาพทางกายของโรคระบบการหายใจเนื่องจากการประกอบอาชีพ. แพทยสภาสาร 2538;24:190-204.

          3.1.3 ไม่มีชื่อผู้นิพนธ์ให้เขียนชื่อบทความเป็นส่วนแรกได้เลย

    Cancer in south Africa (editorial). S Afr Med J 1994;84:15.

          3.1.4 บทความในฉบับแทรกให้เขียนฉบับพิเศษไว้ในวงเล็บ

    วิชัย ตันไพจิตร. สิ่งแวดล้อม โภชนาการกับสุขภาพ. ใน: สมชัย บวรกิตติ, จอร์น ลอฟทัส, บรรณาธิการ. เวชศาสตร์สิ่งแวดล้อม. สารศิริราช 2539;48 (ฉบับผนวก):153-61.

         3.1.5 ระบุประเภทของบทความให้แสดงประเภทของเอกสารในเครื่องหมายวงเล็บ

  1. บุญเรือง นิยมพร, ดำรง เพ็ชรพลาย, นันทวัน พรหมผลิน, ทวี บุญโชติ, สมชัย บวรกิตติ, ประหยัด ทัศนภรณ์. แอลกอฮอล์กับอุบัติเหตุบนท้องถนน (บทบรรณาธิการ). สารศิริราช 2539;616-20.
  2. Enzensberger W, Fischer PA. Metronome in Parkinson’s disease(letter). Lancet  1996;347:1337.

3.2.หนังสือ ตำรา หรือรายงาน

    3.2.1.  หนังสือหรือตำราผู้นิพนธ์เขียนทั้งเล่ม

            ลำดับที่. ชื่อผู้นิพนธ์. ชื่อหนังสือ. ครั้งที่พิมพ์. เมืองที่พิมพ์:สำนักพิมพ์;ปีที่พิมพ์. (ถ้าพิมพ์ครั้งที่ 1 ไม่ต้องใส่)

           - หนังสือแต่งโดยผู้นิพนธ์

  1. ธงชัย สันติวงษ์. องค์การและการบริหาร ฉบับแก้ไขปรับปรุง. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ:ไทยวัฒนาพานิช;2535.
  2. Ringsven MK, Bond D. Gerontology and leadership skills for nurses. 2 ed. Albany (NY): Delmar Publishers; 1996.

          - หนังสือมีบรรณาธิการ

  1. วิชาญ วิทยาศัย, ประคอง วิทยาศัย, บรรณาธิการ. เวชปฏิบัติในผู้ป่วยติดเชื้อเอดส์.กรุงเทพฯ:มูลนิธิเด็ก;2535.
  2. Norman lJ, Redfern SJ, editors. Mental health care for elderly people. New York:Churchill Livingstone;1996.

    3.2.2 บทหนึ่งในหนังสือหรือตำรา

           ลำดับที่. ชื่อผู้นิพนธ์. ชื่อเรื่อง. ใน:ชื่อบรรณาธิการ, บรรณาธิการ. ชื่อหนังสือ. ครั้งที่พิมพ์. เมืองที่พิมพ์:สำนักพิมพ์;ปีที่พิมพ์.หน้า(หน้าแรก-หน้าสุดท้าย)

  1. เกรียงศักดิ์ จีระแพทย์. การให้สารน้ำและเกลือแร่. ใน:มนตรี ตู้จินดา, วินัย สุวัตถี, อรุณ วงษ์จิราษฎร์, ประอร ชวลิตธำรง, พิภพ จิรภิญโญ, บรรณาธิการ. กุมารเวชศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:เรือนแก้วการพิมพ์:2540. หน้า 424-7.
  2. Phillips SJ, Whisnant JP. Hypertension and stroke. In:Laragh JK, Brenner BM, editors.  Hypertension:pathophysiology, diagnosis and management. 2nd ed. New York:Raven Press;1995.p.465-78.                       

3.3. รายงานการประชุม สัมมนา                 

     ลำดับที่. ชื่อบรรณาธิการ, บรรณาธิการ. ชื่อเรื่อง. ชื่อการประชุม; วัน เดือน ปี ประชุม; สถานที่จัดประชุม. เมืองที่พิมพ์:สำนักพิมพ์:ปีที่พิมพ์.

  1. อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล, งามจิตต์ จันทร์สาธิต, บรรณาธิการ. นโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ครั้งที่ 2 เรืองส่งเสริมสุขภาพ: บทบาทใหม่แห่งยุคของทุกคน; 6-8 พฤษภาคม 2541; ณ โรงแรมโบ๊เบ๊ทาวเวอร์. กรุงเทพฯ:ดีไซร์;2541.
  2. Kimura J, Shibasaki H, editors. Recent advances in clinical neurophysiology. Proceedings of the 10th lnternational Congress of EMG and Clinical Neurophysiology; 1995 Oct 15-19; Kyoto,  Japan.  Amaterdam: Elsevier;1996.

 3.4. รายงานการวิจัย พิมพ์โดยผู้ให้ทุน

      ลำดับที่. ชื่อผู้นิพนธ์. ชื่อเรื่อง. เมืองที่พิมพ์:หน่วยงานที่พิมพ์/แหล่งทุน;ปีที่พิมพ์.เลขที่รายงาน.

  1. ศุภชัย คุณารัตนพฤกษ์, ศุภสิทธิ์ พรรณนารุโณทัย. การพัฒนากลไกการจ่ายเงินที่มีประสิทธิภาพในระบบสาธารณสุขด้วยกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม. กรุงเทพฯ:กองโรงพยาบาลภูมิภาค/สถาบันวิจัยสาธารณสุขไทย/องค์การอนามัยโลก;2540.
  2. Smith P, Golladay K. Payment for durable medical equipment billed during skilled nursing facillity stays. Final report. Dallas (TX):Dept. of Health and Human Services (US), Office of Evaluation and lnspections;1994. Report  No.HHSIGOEI69200860.

3.5.วิทยานิพนธ์

     ลำดับที่. ชื่อผู้นิพนธ์. ชื่อเรื่อง(ประเภทปริญญา). เมืองที่พิมพ์:มหาวิทยาลัย;ปีที่ได้ปริญญา. 

  1. ชยมัย ชาลี. ต้นทุนในการรักษาพยาบาลของโรงพยาบาลรัฐบาล: ศึกษาเฉพาะกรณีตัวอย่าง4 โรงพยาบาลในเขตกรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์ปริญญาเศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย;2530.
  2. Kaplan SJ. Post-hospital home helth care: the elderly’s access utilization (dissertation). St. Louis  (MO):Washington Univ; 1995.

3.6. สื่ออิเล็กทรอนิกส์

3.6.1 บทความจากวารสารบนอินเตอร์เน็ต

        ลำดับที่. ชื่อผู้นิพนธ์. ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร [ประเภทของสื่อ] ปีที่พิมพ์ (เข้าถึงเมื่อ/cited ปีเดือนวันที่); ปีที่(เล่มที่):(จำนวนภาพ). เข้าถึงได้จาก/Available from: https://......

  1. Morse SS. Factors in the emergence of infectious diseases. Emerg lnfect Dis (Serial online) 1995 Jan-Mar (cited 1996 Jun 5);1(1):(24 screens). Available from: URL:https://www.cdc.gov/ncidod/EID/eid.htm
  2. จิราภรณ์ จันทรจร. การเขียนรายการอ้างอิงในเอกสารวิชาการทางการแพทย์ [อินเทอร์เน็ต]กรุงเทพฯ: คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2551 [เข้าถึงเมื่อ 18 ต.ค. 2554] เข้าถึงได้จาก: http:www...........

3.6.2 รายงานวิจัยในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์

  1. CDI. clinical dermatology illustrated (monograph on CD-ROM). Reeves JRT, Maibach H. CMEA : Multimedia Group, producers. 2nd ed. Version 2.0. San Diego: CMEA;1995.

3.6.3 แฟ้มข้อมูลคอมพิวเตอร์

  1. Hemodyanmics III:the ups and down of hemodynamics [computer program]. Version 2.2 Orlando (FL):Computerized Educational Systems;1993.
  1. ตารางและรูปภาพ

ตารางและรูปภาพรวมกันไม่ควรเกิน 7 ชิ้น

  • ตารางส่งในรูปแบบของเอกสาร word (กรุณาอย่าส่งมาเป็นไฟล์รูปภาพ) รูปแบบของตารางไม่ควรมีเส้นแนวตั้ง สามารถมีเส้นแนวนอนได้ ตัวอักษรในตารางควรเป็น font เดียวกันกับ manuscript โดยสามารถปรับขนาดได้ตามความเหมาะสม สามารถจัดหน้ากระดาษเป็นแนวตั้งหรือแนวนอนได้ตามความเหมาะสม
  • รูปภาพสามารถแนบมาใน manuscript เป็นไฟล์เดียวกัน โดยควรเป็นรูปที่มีความละเอียดอย่างน้อย 600 dpi สามารถใช้ได้ทั้งรูปสีและขาวดำ ทั้งนี้เมื่อตีพิมพ์เป็นรูปเล่ม รูปภาพจะปรากฏเป็นภาพขาวดำ
  • ใต้รูปภาพและตารางควรมีคำอธิบายโดยย่อประมาณ 1-3 บรรทัด และหากมีอักษรย่อปรากฏในตารางหรือรูปภาพควรเขียนคำเต็มกำกับไว้ที่ใต้ตารางหรือรูปภาพ
  1. Copyright Notice

บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารเวชศาสตร์ฉุกเฉิน ถือเป็นผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์  วิจารณ์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้นิพนธ์ กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไปและผู้นิพนธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง

  1. Privacy Statement

The names and email addresses entered in this journal site will be used exclusively for the stated purposes of this journal and will not be made available for any other purpose or to any other party.

  1. หน่วยและมาตรวัด

ใช้ระบบของเมทริกซ์ เช่น น้ำหนักเป็นกิโลกรัม, ส่วนสูงเป็นเซนติเมตร และผลตรวจทางห้องปฏิบัติการใช้ระบบของ SI เช่น creatinine 1.2 g/dl

EDITORIAL

บทบรรณาธิการ (EDITORIAL) เป็นบทความที่เขียนวิจารณ์บทความใดบทความหนึ่งที่อยู่ในวารสารเวชศาสตร์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทน รวมทั้งเพิ่มเติมความรู้ใหม่ๆ เพื่อทำให้บทความที่วิจารณ์นั้นสมบูรณ์ยิ่งขึ้น หรือบทความอื่นใดที่บรรณาธิการเห็นสมควร

RESEARCH ARTICLE

รายงานวิจัย (RESEARCH ARTICLE) เป็นรายงานผลการค้นคว้าวิจัยของผู้เขียน ซึ่งไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารอื่น การเขียนเป็นบทหรือตอนตามลำดับดังนี้ บทคัดย่อภาษาอังกฤษไม่เกิน 300 คำ คำสำคัญ 3-5 คำ บทนำ วัตถุประสงค์ วัสดุ (หรือผู้ป่วย) และวิธีการ ผลการศึกษา วิจารณ์ สรุป กิตติกรรมประกาศ ความยาวไม่เกิน 4,500 คำ ตารางหรือภาพไม่เกิน 7 

ดาวน์โหลด (docx)

REVIEW ARTICLE

บทความฟื้นวิชาการ (REVIEW ARTICLE) ควรเป็นบทความที่ให้ความรู้ใหม่ รวบรวมสิ่งตรวจพบใหม่หรือเรื่องที่น่าสนใจที่ผู้อ่านสามารถนำไปประยุกต์ได้ หรือเป็นบทความวิเคราะห์สถานการณ์โรคต่างๆ ประกอบด้วย บทนำภาษาอังกฤษไม่เกิน 300 คำ ความรู้หรือข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่นำมาเขียนวิจารณ์หรือวิเคราะห์ สรุปเอกสารอ้างอิงที่ทันสมัย ความยาวไม่เกิน 4,500 คำ ตารางหรือภาพไม่เกิน 7

ดาวน์โหลด (docx)

PRELIMINARY REPORT/ Short paper

บทรายงานเบื้องต้น (PRELIMINARY REPORT/ Short paper) เป็นรายงานการค้นคว้าวิจัยหรือการสังเกตขั้นต้น ที่ต้องการรายงานให้ผู้อื่นทราบโดยเร็ว แต่ยังไม่มีรายละเอียดเพียงพอที่จะเขียนเป็นบทรายงานที่สมบูรณ์ได้ความยาวไม่เกิน 2,000 คำ ตารางหรือภาพไม่เกิน 2 และเอกสารอ้างอิงไม่เกิน 15 รายการ

CASE REPORT

รายงานผู้ป่วย (CASE REPORT) เป็นรายงานผลการศึกษาจากผู้ป่วยซึ่งเป็นโรคหรือภาวะที่พบได้ยากหรือโรคอุบัติใหม่ ไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารอื่นมาก่อน ควรประกอบด้วยบทคัดย่อเป็นภาษาอังกฤษและภาษาไทย บทนำ รายงานผู้ป่วย วิจารณ์ ข้อคิดเห็น สรุปและเอกสารอ้างอิง

ดาวน์โหลด (docx)

LETTER to EDITOR

จดหมายถึงบรรณาธิการ (LETTER to EDITOR) เป็นจดหมายที่เขียนวิจารณ์เกี่ยวข้องกับบทความที่ได้ลงตีพิมพ์ไปแล้ว หรือแสดงผลงานทางวิชาการที่ต้องการเผยแพร่อย่างย่อ ความยาวไม่เกิน 2 หน้ากระดาษพิมพ์และมีเอกสารอ้างอิงประกอบ

JOURNAL ABSTRACT

ย่อวารสาร (JOURNAL ABSTRACT) เป็นบทความสั้นๆ ที่แปลและเรียบเรียงจากวารสารต่างประเทศที่ทันสมัยและเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน

บทประชุมวิชาการ

บทประชุมวิชาการ ได้แก่ บทความที่รวบรวมจากการประชุมทางวิชาการ ที่เห็นว่าเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่าน

Imaging quiz

Imaging quiz เป็นการทดสอบความรู้ทั่วไปทางการแพทย์โดยเสนอตัวอย่างผู้ป่วยในภาวะฉุกเฉินที่น่าสนใจ เช่น คลื่นไฟฟ้าหัวใจ ภาพถ่ายทางรังสี เป็นต้น

Privacy Statement

The names and email addresses entered in this journal site will be used exclusively for the stated purposes of this journal and will not be made available for any other purpose or to any other party.