Publication Ethics

มาตรฐานทางจริยธรรมการตีพิมพ์ของวารสารวิทยาลัยแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย

วารสารเวชศาสตร์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทยให้ความสำคัญกับมาตรฐานทางจริยธรรมการตีพิมพ์โดยอ้างอิงมาจากจริยธรรมในการตีพิมพ์ที่กำหนดโดย Committee on Publication Ethics (COPE) โดยมีจุดประสงค์เพื่อกระบวนการพิจารณาบทความมีความถูกต้อง โปร่งใส เพื่อให้บทความที่ถูกเผยแพร่ในวารสารมีมาตรฐานสูงสุดก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ในวงการแพทย์ของประเทศไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งความรู้ทางเวชศาสตร์ฉุกเฉิน

กระบวนการพิจารณาประเมินบทความ

  • บทความทุกบทความจะถูกพิจารณาจากผู้ประเมินบทความ (Peer Review) ซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับบทความนั้น ๆ อย่างน้อย 2 ท่าน โดยใช้วิธีการประเมินแบบผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เขียนบทความไม่ทราบชื่อของแต่ละฝ่าย (Double Blinded Review)
  • บทความที่ส่งเข้ามายังวารสาร จะได้รับการปกปิดเป็นความลับในระหว่างขั้นตอนการพิจารณาประเมิน
  • บรรณาธิการจะดำเนินการเพื่อปกป้องข้อมูลส่วนตัวของผู้นิพนธ์และผู้ประเมินบทความอย่างเข้มงวด

ขั้นตอนในการพิจารณาบทความ

              ขั้นตอนการพิจารณาบทความมีดังนี้ โดยใช้เวลาเฉลี่ยทุกขั้นตอนประมาณ 60-90 วัน ทั้งนี้ระยะเวลาอาจเปลี่ยนแปลง ขึ้นกับข้อเสนอแนะให้ผู้เขียนปรับปรุงเพิ่มเติมหรือแก้ไขบทความ และระยะเวลาที่ผู้เขียนบทความใช้ในการดำเนินการแก้ไขบทความ

หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์

  • ผู้นิพนธ์จะต้องจัดทำรูปแบบของบทความตาม template ของวารสาร https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJEM/about/submissions หากรูปแบบที่ส่งตีพิมพ์ไม่ตรงตามที่วารสารกำหนด กองบรรณาธิการสามารถปฏิเสธหรือให้แก้ไขก่อนเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของวารสารต่อไป
  • บทความที่จะลงตีพิมพ์ในวารสารต้องเป็นผลงานของผู้นิพนธ์และไม่เคยได้รับการตีพิมพ์ในวารสารอื่น ๆ ทั้งรูปแบบภาษาไทยหรือภาษาอื่น ๆ
  • บทความวิจัยที่ส่งตีพิมพ์ ผู้นิพนธ์จะต้องนำเสนอรายงานข้อมูลที่เป็นจริงที่เกิดจากการทำวิจัย โดยไม่บิดเบือนข้อมูลหรือให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ
  • บทความวิชาการจะต้องเป็นบทความที่เขียนขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรมวิชาการที่เกี่ยวข้องมีการวิจารณ์และแสดงความคิดเห็นในเชิงวิชาการ
  • ผู้การอ้างอิงผลงานของผู้อื่นที่นำมาใช้จะต้องเกี่ยวข้องกับเนื้อหาในบทความและการอ้างอิงนั้นจะต้องปรากฏอยู่ในรายการอ้างอิงท้ายบทความ
  • คณะของผู้นิพนธ์ที่ปรากฏอยู่ในบทความ จะต้องเป็นผู้ที่มีส่วนในการดำเนินการวิจัยจริง
  • ผู้นิพนธ์จะต้องมีการระบุผลประโยชน์ทับซ้อน (หากมี)

หน้าที่และความรับผิดชอบของบรรณาธิการ

บรรณาธิการมีความรับผิดชอบต่อบทความที่เผยแพร่ในวารสาร ดังนี้:

  • มุ่งมั่นที่จะทำให้บทความตอบสนองความต้องการของผู้อ่านและผู้เขียน
  • ปรับปรุงคุณภาพของวารสารอย่างสม่ำเสมอ
  • ตรวจสอบคุณภาพของงานวิจัยที่ได้รับการเผยแพร่
  • สนับสนุนเสรีภาพในการแสดงความเห็นทางวิชาการ
  • คงไว้ซึ่งความถูกต้องของผลงานทางวิชาการ
  • ปกป้องมาตรฐานของทรัพย์สินทางปัญญาจากผลประโยชน์ทางธุรกิจ
  • เต็มใจที่จะแก้ไขข้อผิดพลาดการตีพิมพ์ การทำให้เกิดความกระจ่าง การถอด-ถอนบทความ และการขออภัย หากจำเป็น

หน้าที่ของบรรณาธิการต่อผู้อ่าน

  • ผู้เขียนบทความควรแจ้งให้ผู้อ่านทราบข้อมูลเกี่ยวกับผู้ให้ทุนสนับสนุนงานวิจัยรวมถึงข้อกำหนดของทุนที่มีผลต่องานวิจัย

 หน้าที่ของบรรณาธิการต่อผู้นิพนธ์

  • บรรณาธิการควรตรวจสอบคุณภาพของวารสารในทุกขั้นตอนเพื่อให้มั่นใจได้ว่าวารสารจะมีมาตรฐาน
  • การตัดสินใจของบรรณาธิการในการรับหรือปฏิเสธบทความควรขึ้นอยู่กับคุณภาพของวารสารในประเด็นดังต่อไปนี้ ได้แก่ ความสำคัญ ความความเป็นต้นฉบับและความชัดเจนของเอกสารและความเกี่ยวข้องของการศึกษากับการส่งวารสาร
  • การตัดสินใจของบรรณาธิการต่อการยอมรับหรือปฏิเสธบทความวิจัยเพื่อการตีพิมพ์ ควรขึ้นอยู่กับความสำคัญ ความเป็นต้นฉบับ ความชัดเจนของบทความวิจัย และตรงตามขอบเขตของวารสาร
  • มีการชี้แจงกระบวนการตรวจสอบประเมินบทความ (peer review) และหากมีขั้นตอนใดที่แตกต่างจากขั้นตอนที่ได้แจ้งไว้จะต้องชี้แจงได้อย่างโปร่งใส
  • มีช่องทางให้ผู้นิพนธ์อุทธรณ์ได้หากผู้นิพนธ์มีความคิดเห็นแตกต่างจากความเห็นของบรรณาธิการ
  • บรรณาธิการจะต้องแสดงคำแนะนำแก่ผู้นิพนธ์อย่างครบถ้วน ทุกประเด็นและปรับปรุงคำแนะนำให้ทันสมัยอยู่เสมอ
  • บรรณาธิการไม่ควรเปลี่ยนแปลงการตัดสินใจในการตอบรับหรือปฏิเสธบทความที่ถูกตัดสินจากบรรณาธิการท่านเดิม ยกเว้นมีปัญหาร้ายแรงเกิดขึ้นในระหว่างการส่งบทความมารับการพิจารณา

หน้าที่ของบรรณาธิการต่อผู้ประเมินบทความ

  • บรรณาธิการจะต้องให้คำแนะนำแก่ผู้ประเมินบทความในทุกประเด็นตามนโยบายของวารสาร และควรปรับปรุงคำแนะนำให้ทันสมัยอยู่เสมอ พร้อมทั้งควรมีการอ้างอิงหรือการเชื่อมโยงกับระเบียบดังกล่าวนี้ด้วย
  • บรรณาธิการจะดำเนินการเพื่อปกป้องข้อมูลส่วนตัวของผู้ประเมินบทความ
  • บรรณาธิการต้องกำหนดผู้ประเมินบทความให้ตรงกับความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาวิชาของบทความ

บทบาทและหน้าที่ของผู้ประเมินบทความ

  • ผู้ประเมินเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาวิชาของบทความ โดยพิจารณาจากเนื้อหาของบทความ
  • ผู้ประเมินบทความจะไม่ประเมินบทความที่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์ เช่น เป็นผู้นิพนธ์ร่วมที่จะทำให้ผู้ประเมินไม่สามารถประเมินและให้ข้อเสนอแนะได้อย่างอิสระ
  • ผู้ประเมินบทความจะไม่เปิดเผยข้อมูลของบทความและผู้นิพนธ์ แก่บุคคลอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องในกระบวนการประเมินบทความ
  • ผู้ประเมินจะประเมินบทความ โดยพิจารณาตามคำแนะนำและเกณฑ์ที่กำหนดโดยวารสารเวชศาสตร์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย
  • หากผู้ประเมินพบว่าบทความมีการคัดลอกผลงานของผู้อื่น (plagiarism) ในบทความ และหากมีหลักฐานหรือข้อยืนยันที่ชัดเจนว่ามีการคัดลอกผลงานของผู้อื่น ผู้ประเมินสามารถปฏิเสธการตีพิมพ์และแจ้งแก่บรรณาธิการได้

สนับสนุนความถูกต้องทางวิชาการและจริยธรรม

  • บทความวิจัยที่มีการตีพิมพ์ในวารสาร ต้องเป็นไปตามหลักจริยธรรมสากลที่ได้รับการยอมรับ
  • งานวิจัยทางการแพทย์ที่เกี่ยวกับผู้ป่วยหรือสัตว์ทดลองจะต้องได้รับการอนุมัติและเห็นชอบโดยคณะบุคคลที่มีอำนาจ (เช่น คณะกรรมการทางจริยธรรมด้านงานวิจัย คณะกรรมการพิจารณาบทความวิจัยของสถาบัน เป็นต้น)

การรับรองความถูกต้องของผลงานทางวิชาการ

  • เมื่อมีการรับรู้ว่ามีความไม่ถูกต้องเกิดขึ้นกับบทความวิชาการที่ตีพิมพ์ไปแล้ว รวมถึงมีประโยคที่นำไปสู่ความเข้าใจผิด หรือเป็นรายงานที่บิดเบือนข้อเท็จจริง บรรณาธิการต้องแก้ไขทันทีและด้วยความชัดเจน
  • หากปรากฎการประพฤติทุจริตภายหลังการดำเนินการตรวจสอบแล้ว บรรณาธิการต้องดำเนินการเพิกถอนบทความนั้นด้วยความชัดเจนที่จะสามารถพิสูจน์ได้ ทั้งนี้การเพิกถอนนี้ต้องให้ผู้อ่านและระบบฐานข้อมูลอื่น ๆ ทราบด้วย

ผลประโยชน์ทับซ้อน

  • บรรณาธิการคำนึงถึงผลประโยชน์ทับซ้อน โดยจะดำเนินการเพื่อหลีกเลี่ยงผลประโยชน์ทับซ้อนของบรรณาธิการเองรวมทั้งของเจ้าหน้าที่วารสาร ผู้นิพนธ์ ผู้ประเมินบทความ และสมาชิกกองบรรณาธิการ

การร้องเรียน

  • บรรณาธิการมีแนวทางในการจัดการข้อร้องเรียนอย่างโปร่งใส กำกับโดยคณะกรรมการจริยธรรมการตีพิมพ์ของวารสาร

ขั้นตอนการอุทธรณ์

  • ผู้ร้องเรียนสามารถอุทธรณ์ต่อข้อแนะนำของคณะกรรมการจริยธรรมการตีพิมพ์ได้ โดยสามารถร้องขอรายละเอียดของผู้ที่ต้องติดต่อได้ที่คณะกรรมการจริยธรรมการตีพิมพ์ของวารสาร

เอกสารอ้างอิง

  1. COPE: Committee on Publication Ethics [Internet]. [cited 2020 Nov 24]. Available from: https://publicationethics.org/guidance/Guidelines