Nutritional Markers that Predict Postoperative Outcomes in Patients who undergo Major Urological Operations

Authors

  • Tosapol Areejitranusorn Division of Urology, Department of Surgery, Faculty of Medicine, Siriraj Hospital, Mahidol University, Bangkok, Thailand
  • Patkawat Ramart Division of Urology, Department of Surgery, Faculty of Medicine, Siriraj Hospital, Mahidol University, Bangkok, Thailand
  • Chaiyong Nualyong Division of Urology, Department of Surgery, Faculty of Medicine, Siriraj Hospital, Mahidol University, Bangkok, Thailand
  • Teerapon Amornvesukit Division of Urology, Department of Surgery, Faculty of Medicine, Siriraj Hospital, Mahidol University, Bangkok, Thailand
  • Ekkarin Chotikawanich Division of Urology, Department of Surgery, Faculty of Medicine, Siriraj Hospital, Mahidol University, Bangkok, Thailand

Keywords:

bladder cancer, radical cystectomy, serum albumin, มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ, การผ่าตัดกระเพาะปัสสาวะออกทั้งหมด, albumin ในเลือด

Abstract

Objective: To determine the impact of serum prealbumin and postoperative outcomes in patients who underwent radical cystectomy for bladder cancer and urinary diversion using intestinal segments.
Material and Methods: A cohort study of 45 patients who underwent radical cystectomy with urinary diversion at Siriraj Hospital between September 2012 and July 2014. Nutritional variables included prealbumin, albumin, and body mass index (BMI). Patients with preoperative prealbumin less than 18 mg/dL were considered to be in the hypoprealbuminemia group. Postoperative recovery parameters and complications were obtained in order to investigate outcomes.
Result: Forty of 45 patients (89%) were eligible for this study. Thirty-four males (85%) and 6 females (15%) were included with at mean age of 64.8 (+9) years old. Thirty-six patients had a preoperative prealbumin level. Twelve patients (33%) had hypoprealbuminemia. In univariateanalysis, postoperative complications were higher in patients who had hypoprealbuminemia than in the other groups (IRR = 2.25, p = 0.003, 95%CI 1.25-4.07). Although the postoperative recovery period was longer in patients with hypoprealbuminemia, this finding is not statistically significant.
Conclusion: Serum prealbumin has an impact on postoperative outcomes. Low levels of prealbumin correlate with overall complications.

 

การใช้ตัวชี้วัดทางภาวะโภชนาก่อนผ่าตัดเพื่อติดตามการฟื้นตัวหลังผ่าตัดในผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะปัสสาวะที่เข้ารับการผ่าตัดกระเพาะปัสสาวะออกทั้งหมด
ทศพล อารีจิตรานุสรณ์, ภควัฒน์ ระมาตร์, ไชยยงค์ นวลยง, ธีระพล อมรเวชสุกิจ, เอกรินทร์ โชติกวาณิชย์
สาขาวิชาศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับ prealbumin ในเลือดก่อนผ่าตัดกับภาวะฟื้นตัว และภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นหลังผ่าตัด ในผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะปัสสาวะที่รับการรักษาโดยการผ่าตัดกระเพาะปัสสาวะออกทั้งหมด และทำทางเดินปัสสาวะเทียม ในโรงพยาบาลศิริราช
ผู้ป่วยและวิธีการศึกษา: ใช้การศึกษาแบบ cohort study โดยมีกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะปัสสาวะที่เข้ารับการผ่าตัดกระเพาะปัสสาวะออกทั้งหมดและทำทางเดินปัสสาวะเทียมในโรงพยาบาลศิริราช ระหว่างเดือนกันยายน 2555 ถึงเดือนกรกฎาคม 2557 จำนวนทั้งสิ้น 45 รายเป็นกลุ่มการศึกษา ข้อมูลที่ศึกษานำมากจากเวชระเบียนผู้ป่วยใน โดยมีการบันทึกตัวแปรทางภาวะโภชนาการก่อนรับการผ่าตัดได้แก่ ระดับ prealbumin และ albumin ในเลือด ค่าดัชนีมวลกาย เป็นต้น ซึ่งค่า prealbumin ในเลือดที่น้อยกว่า 18 mg/dL ถือว่าเป็นกลุ่มที่มีระดับ prealbumin ในเลือดต่ำ เพื่อนำไปหาความสัมพันธ์กับภาวะฟื้นตัว และภาวะแทรกซ้อนในระหว่างนอนโรงพยาบาลของผู้ป่วยหลังผ่าตัด
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยที่ผ่านเกณฑ์เพื่อศึกษา 40 ราย เป็นเพศชาย 34 ราย และเพศหญิง 6 ราย มีอายุเฉลี่ย 64.89 ปี ผู้ป่วยที่มีค่าระดับ prealbumin ในเลือดก่อนผ่าตัดที่นำไปศึกษาได้จำนวน 36 ราย เป็นกลุ่มที่มีระดับ prealbumin ต่ำ จำนวน 12 ราย ในการวิเคราะห์ univariate analysis พบว่า กลุ่มที่มีระดับ prealbumin ในเลือดต่ำก่อนผ่าตัด มีแนวโน้มใช้เวลาในการฟื้นตัวหลังผ่าตัด (เวลาที่สามารถเริ่มรับประทานอาหาร, เริ่มขับถ่ายอุจจาระได้) นานกว่ากลุ่มที่มีระดับ prealbumin ปกติ แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ โดยภาวะแทรกซ้อนในระหว่างนอนโรงพยาบาลของผู้ป่วยที่ระดับ prealbumin ต่ำนั้นมีมากกว่ากลุ่มที่มีระดับ prealbumin ในเลือดปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (IRR = 2.25, p = 0.004, 95%CI 1.25-4.07)
สรุป: ระดับ prealbumin ในเลือดก่อนผ่าตัดส่งผลต่อผลการผ่าตัด โดยที่ระดับ prealbumin ในเลือดที่ต่ำสัมพันธ์การภาวะแทรกซ้อนที่มากขึ้นในผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะปัสสาวะที่รับการรักษาโดยการผ่าตัดกระเพาะปัสสาวะออกทั้งหมดและทำทางเดินปัสสาวะเทียมในโรงพยาบาลศิริราช

Downloads

Published

2015-12-01

How to Cite

Areejitranusorn, T., Ramart, P., Nualyong, C., Amornvesukit, T., & Chotikawanich, E. (2015). Nutritional Markers that Predict Postoperative Outcomes in Patients who undergo Major Urological Operations. Insight Urology, 36(2), 18–25. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJU/article/view/63014

Issue

Section

Original article