The Effect of Local Anesthesia for Transrectal Ultrasound Guided Prostate Biopsy in Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospital
Keywords:
transrectal ultrasound guided prostate biopsy, periprostatic nerve block, ผลของการให้ยาชาเฉพาะที่ในการตัดชิ้นเนื้อต่อมลูกหมากโดยการเจาะผ่านทางทวารหนักร่วมกับการใช้เครื่อง อัลตราซาวด์, การฉีดยาชาที่เส้นประสาทรอบต่อมลูกหมากAbstract
Objective: To compare the effectiveness of periprostatic nerve blockade versus no anesthesia during transrectal ultrasound guided biopsies in a prospective randomized controlled trial in Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospital.
Material and Methods: We evaluated 60 patients in Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospital who had a transrectal ultrasound guided prostate biopsy from June 2012 - Dec 2013. Patients were randomized into 2 groups, the periprostatic nerve blockage by 2% lidocaine (n=29) group, and the no anesthesia group (n=31). Patients were asked to use a scale of 0 to 10 to indicate and complete a visual analog scale questionnaire about pain during probe insertion, at the time the biopsy gun was first inserted, during biopsy, post biopsy, and 15 minutes after biopsy. Statistical analysis was conducted to study the associations of pain for both groups.
Results: Demographic data were not statistically different between each group (age, weight, height, PSA, prostate volume). The mean pain scores during biopsy (3.22 vs 5.83, p<0.001) and post biopsy (3.84 vs 6.79, p<0.001) in the periprostatic nerve blockade group were significantly lower than in the no anesthesia group. The reduction of pain score in periprostatic nerve blockade group was significantly lower than in the no anesthesia group (increase 0.74 vs decrease 1.64, p<0.001 and increase 1.71 vs decrease 1.03, p<0.001). Mean pain scores during probe insertion, during anesthesia, and 15 minutes after biopsy were not statistically different between the 2 groups. Vital signs before and after the procedure in both groups were not statistically different. Prostate volume, PSA, age, and weight were not correlated with pain.
Conclusion: Periprostatic nerve block provided significantly better pain control. This study reinforces the usage of periprostatic nerve block as a standard method of pain management during transrectal ultrasound guided prostate biopsy because it is simple, safe, and significantly effective.
ผลของการให้ยาชาเฉพาะที่ในการตัดชิ้นเนื้อต่อมลูกหมากโดยการเจาะผ่านทางทวารหนักร่วมกับการใช้เครื่องอัลตราซาวด์ ในโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่
ธนกร บูรณะชนอาภา, ศุภณ ศรีพลากิจ
หน่วยศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ ภาควิชาศัลยศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบการศึกษา ของการตัดชิ้นเนื้อต่อมลูกหมาก โดยการเจาะผ่านทางทวารหนักร่วมกับการใช้เครื่องอัลตราซาวด์ แบบฉีดยาชาและไม่ฉีดยาชาในโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่
ผู้ป่วยและวิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบ prospective randomized controlled trial โดยสุ่มผู้ป่วยชายทั้งหมดที่เข้ารับการตัดชิ้นเนื้อต่อมลูกหมากโดยการเจาะผ่านทางทวารหนักร่วมกับการใช้เครื่องอัลตราซาวด์ ในโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ระหว่างเดือน มิถุนายน พ.ศ. 2555 ถึง ธันวาคม พ.ศ. 2556 เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มฉีดยาชาโดยจะได้รับการฉีด 2% lidocaine ที่เส้นประสาทรอบต่อมลูกหมากก่อนการตัดชิ้นเนื้อ และกลุ่มที่ไม่ฉีดยาชา โดยจะเก็บข้อมูลความเจ็บปวดโดยใช้ visual analog scale (0-10) ใน 5 ช่วงที่ทำการตัดชิ้นเนื้อ คือ 1) ช่วงใส่ probeอัลตราซาวด์ 2) ช่วงใส่เข็มตัดชิ้นเนื้อครั้งแรก 3) ช่วงตัดชิ้นเนื้อ 4) ช่วงหลังจากตัดชิ้นเนื้อทันที 5) ช่วงหลังจากตัดชิ้นเนื้อ 15 นาที พร้อมทั้งบันทึกภาวะแทรกซ้อนจากการใช้ยาชา และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติ
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยที่เข้าร่วมทั้งหมด 60 ราย แบ่งเป็นกลุ่มฉีดยาชา 29 ราย และ กลุ่มไม่ฉีดยาชา 31 ราย พบว่าข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วยทั้งสองกลุ่ม ได้แก่ อายุ น้ำหนัก ส่วนสูง ค่า PSA ขนาดต่อมลูกหมาก ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ และในกลุ่มผู้ป่วยที่ฉีดยาชามีค่าเฉลี่ยของความปวดน้อยกว่ากลุ่มไม่ฉีดยาชาอย่างมีนัยสำคัญ ในช่วงระหว่างตัดชิ้นเนื้อ (3.22 และ 5.83, p<0.001) และหลังตัดชิ้นเนื้อทันที (3.84 และ 6.79, p<0.001) โดยค่าเฉลี่ยความปวดในกลุ่มฉีดยาชาลดลงอย่างมีนัยสำคัญระหว่างตัดชิ้นเนื้อและหลังตัดชิ้นเนื้อทันที (ลดลง 1.64 และลดลง1.03, p<0.001) ในขณะที่กลุ่มไม่ฉีดยาชาความปวดเพิ่มขึ้น (เพิ่มขึ้น 0.74 และเพิ่มขึ้น 1.71, p<0.001) สัญญาณชีพของผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มก่อนและหลังตัดชิ้นเนื้อไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ และไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างขนาดต่อมลูกหมาก ค่า PSA อายุ น้ำหนัก กับความปวด
สรุป: การฉีดยาชาที่เส้นประสาทรอบต่อมลูกหมากในการตัดชิ้นเนื้อต่อมลูกหมากโดยการเจาะผ่านทางทวารหนักร่วมกับการใช้เครื่องอัลตราซาวด์สามารถช่วยลดความปวดของผู้ป่วยขณะตัดชิ้นเนื้อ และหลังตัดชิ้นเนื้อทันทีอย่างมีประสิทธิภาพซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายและปลอดภัย สามารถนำไปปรับใช้ในเวชปฏิบัติต่อไปได้