Vesicourethral Alignment Technique in Laparoscopic Radical Prostatectomy at Phramongkutklao Hospital: 5 years’ Experience in Continence Outcomes

Authors

  • Satit Siriboonrid Division of Urology, Department of Surgery, Phramongkutklao hospital, Bangkok, Thailand
  • Nattapong Binsri Division of Urology, Department of Surgery, Phramongkutklao hospital, Bangkok, Thailand
  • Weelak Lertpiwan Division of Urology, Department of Surgery, Phramongkutklao hospital, Bangkok, Thailand
  • Arkane Wongsawat Division of Urology, Department of Surgery, Phramongkutklao hospital, Bangkok, Thailand
  • Poonkiat Reungpoca Division of Urology, Department of Surgery, Phramongkutklao hospital, Bangkok, Thailand

Keywords:

Laparoscopic radical prostatectomy, vesiocourethral alignment, continence, prostate cancer, การผ่าตัดมะเร็งต่อมลูกหมากผ่านกล้อง, การวางท่อปัสสาวะและกระเพาะปัสสาวะในแนวเดียวกัน, การกลั้นปัสสาวะ, มะเร็งต่อมลูกหมาก

Abstract

Objective: We reviewed continence outcomes after the vesicourethral alignment technique in laparoscopic radical prostatectomy was performed at Phramongkutklao Hospital, Bangkok, Thailand.
Material and Methods: Charts of 70 patients who underwent the vesicourethral alignment technique in laparoscopic radical prostatectomy (LRP) were reviewed. After prostatectomy, bladder neck was resized to 1 cm in diameter using the tennis racquet technique. A 20 F Foley catheter was inserted into the bladder via the preserved bladder neck under laparoscopic vision. The Foley catheter balloon was filled with 30 mL of sterile water, and mild traction was applied to appose the bladder neck to the urethral stump. The Foley catheter was fixed to the patient’s leg. Cystostomy tube wasn’t used in this study.
Results: The follow-up period ranged from 12 to 60 months. The mean operative time was 185 minutes in LRP. Blood transfusion was used in 2 cases (2.86%). The mean postoperative catheterization duration was 14.45 days in LRP. Early continence was found in 32 patients (45.71%). Complete continence was achieved in 53 patients (75.71%) after 6 months of follow-up;all of thepatients had complete continence at 1 year after the procedure. Contracture bladder neck was 5.71% (4 cases).
Conclusion: Vesicourethral alignment technique during laparoscopic radical prostatectomy is a feasible and promising approach with a high rate of early and late continence, minimal rate of urinary extravasation, andan acceptable rate of stricture. This technique could be considered as an alternative in anatomically demanding situations.

 

การผ่าตัดมะเร็งต่อมลูกหมากผ่านกล้องด้วยวิธีวางท่อปัสสาวะและกระเพาะปัสสาวะในแนวเดียวกัน ประสบการณ์ 5 ปีเกี่ยวกับการกลั้นปัสสาวะในโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
สาธิต ศิริบุญฤทธิ์, ณัฐพงศ์ บิณษรี, วีร์ลักษณ์ เลิศไพวัลย์,พูนเกียรติ เรืองโภคา
หน่วยศัลยกรรมระบบปัสสาวะ กองศัลยกรรม โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า กรุงเทพฯ
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: รวบรวมข้อมูลย้อนหลังผลลัพธ์ด้านการกลั้นปัสสาวะหลังการผ่าตัดมะเร็งต่อมลูกหมากผ่านกล้องด้วยวิธีวางท่อปัสสาวะและกระเพาะปัสสาวะในแนวเดียวกันซึ่งทำในโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
ผู้ป่วยและวิธีการศึกษา: ทำการศึกษาเชิงพรรณนาโดยนำข้อมูลจากประวัติการรักษาผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดมะเร็งต่อมลูกหมากผ่านกล้องด้วยวิธีวางท่อปัสสาวะและกระเพาะปัสสาวะในแนวเดียวกันจำนวน 70 ราย หลังการตัดต่อมลูกหมากออกแล้วคอกระเพาะปัสสาวะจะถูกเย็บให้มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 เซนติเมตร สายสวนปัสสาวะชนิด Foley ขนาด 20 F จะถึงสอดผ่านรูเปิดท่อปัสสาวะเพื่อเข้าไปยังกระเพาะปัสสาวะ สายสวนปัสสาวะชนิด Foley จะถูกใส่น้ำปริมาณ 20 มิลลิลิตรเพื่อให้ลูกโป่งส่วนปลายขยายออก หลังจากนั้นทำการดึงรั้งท่อปัสสาวะไว้ให้คงที่ ในการศึกษานี้ผู้ศึกษาไม่ได้ใช้ท่อปัสสาวะผ่านออกทางหน้าท้องของผู้ป่วย
ผลการศึกษา: ระยะเวลาติดตามการรักษาอยู่ระหว่าง 12-60 เดือน ระยะเวลาเฉลี่ยที่ใช้ในการผ่าตัด 185 นาทีใช้สารประกอบของเลือดให้ผู้ป่วยจำนวน 2 ราย (ร้อยละ 2.86) ระยะเวลาเฉลี่ยที่ผู้ป่วยต้องใส่สายสวนปัสสาวะคือ 14.45 วัน ผู้ป่วย 32 รายสามารถกลั้นปัสสาวะได้ในช่วงแรกหลังผ่าตัด (ร้อยละ 45.71) ที่ระยะเวลา 6 เดือนหลังการผ่าตัดผู้ป่วย 53 รายสามารกลั้นปัสสาวะได้อย่างสมบูรณ์หลังจากผ่าตัดไป 6 เดือน (ร้อยละ 75.71) และผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดทุกรายมีการกลั้นปัสสาวะได้อย่างสมบูรณ์เมื่อเวลาผ่านไป 1 ปีหลังการผ่าตัด พบการตีบริเวณคอกระเพาะปัสสาวะในผู้ป่วย 4 ราย (ร้อยละ 5.71)
สรุป: การผ่าตัดมะเร็งต่อมลูกหมากผ่านกล้องด้วยวิธีวางท่อปัสสาวะและกระเพาะปัสสาวะในแนวเดียวกันสามารถทำได้ง่ายและผู้ป่วยซึ่งได้รับการผ่าตัดด้วยวิธีนี้สามารถกลั้นปัสสาวะได้อย่างรวดเร็วหลังผ่าตัด, มีปัสสาวะรั่วน้อยและเกิดการตีบของคอกระเพาะปัสสาวะในอัตราที่ยอมรับได้ การผ่าตัดด้วยวิธีนี้สามารถใช้เป็นทางเลือกในการรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก

Downloads

Published

2016-06-30

How to Cite

Siriboonrid, S., Binsri, N., Lertpiwan, W., Wongsawat, A., & Reungpoca, P. (2016). Vesicourethral Alignment Technique in Laparoscopic Radical Prostatectomy at Phramongkutklao Hospital: 5 years’ Experience in Continence Outcomes. Insight Urology, 37(1), 23–32. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJU/article/view/63025

Issue

Section

Original article