Twenty four - month follow-up result in the treatment of benign prostatic hyperplasia with 940 nm. Diode Laser, experience in 70 patients
Keywords:
benign prostatic hyperplasia, Diode laser, complications, ต่อมลูกหมากโต, ผลการรักษา, ภาวะแทรกซ้อนAbstract
Objective: To study the results of the treatment of benign prostatic hyperplasia with 940 nm. Diode laser
Material and Methods: The clinical data of 70 men with symptomatic BPH who underwent surgery with 940 nm. Diode laser between June 2011 until April 2014 in Lampang Hospital were analyzed. Operative outcome, postoperative complication and Postoperative parameters including International Prostate symptom score (IPSS), quality of life (QOL) score, peak urinary flow rate (Qmax) and postvoid residual urine volume (PVR) at 1, 3, 6, 12 and 24 month were assessed and compared with preoperative baseline values
Results: Mean operative time was 45.6 minutes. None of the patients required blood transfusion. Mean catheterization time was 22.7 hours. Six patients (8.5%) had urinary incontinence. Eight patients (11.4%) needed consecutive surgery. Twenty four month after surgery, all post operative follow-up parameters including IPSS,QOL score, Qmax and PVR show improvements
Conclusion: This study showed that the results of the treatment of benign prostatic hyperplasia with 940 nm. Diode laser was appeared to be safe and effective for relieving bladder outlet obstruction due to BPH especially for the patients who had high risk for bleeding.
ผลการผ่าตัดต่อมลูกหมากโตในผู้ป่วย 70 ราย โดยการใช้ Diode laser ที่มีความยาวคลื่น 940 นาโนเมตร ระยะเวลาติดตามผล 24 เดือน
บรรเจิด นนทสูติ
หน่วยศัลยศาสตร์ระบบปัสสาวะ กลุ่มงานศัลยกรรม โรงพยาบาลลำปาง
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลการผ่าตัดต่อมลูกหมากโตโดยการใช้ Diode laser ที่มีความยาวคลื่น 940 นาโนเมตร
ผู้ป่วยและวิธีการศึกษา: ศึกษาข้อมูลผู้ป่วยจำนวน 70 รายที่มีปัญหาปัสสาวะลำบากจากภาวะต่อมลูกหมากโตและได้รับการผ่าตัดโดยใช้ Diode laser ที่มีความยาวคลื่น 940 นาโนเมตร ในโรงพยาบาลลำปาง ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2554 ถึงเดือนเมษายน 2557 โดยศึกษาผลการผ่าตัด ภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด และการติดตามผู้ป่วยที่ 1, 3, 6, 12 และ 24 เดือนหลังผ่าตัด
ผลการศึกษา: ระยะเวลาที่ใช้ในการผ่าตัดเฉลี่ย 45.6 นาที ไม่มีผู้ป่วยที่ต้องได้รับการเติมเลือดหลังการผ่าตัด ระยะเวลาที่ใส่สายสวนปัสสาวะหลังผ่าตัดเฉลี่ย 22.7 ชั่วโมง พบผู้ป่วยกลั้นปัสสาวะไม่ได้ 6 ราย (ร้อยละ 8.5) ต้องได้รับการผ่าตัดซ้ำ 8 ราย (ร้อยละ 11.4) ผลการติดตามผู้ป่วยที่ 24 เดือนหลังผ่าตัด พบว่า ค่า IPSS, QOL score, Peak urine flow rate และ postvoid residual urine volume มีผลดีกว่าก่อนการผ่าตัด
สรุป: การผ่าตัดต่อมลูกหมากโตโดยการใช้ Diode laser ที่มีความยาวคลื่น 940 นาโนเมตร มีประสิทธิภาพและความปลอดภัยเป็นที่น่าพอใจ และเหมาะสมกับผู้ป่วยโดยเฉพาะผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการสูญเสียเลือดจากการผ่าตัด