Complications of transrectal ultrasound prostate biopsy in Phramongkutklao hospital
Keywords:
complications, transrectal ultrasound prostate biopsy, ภาวะแทรกซ้อน, การตัดชิ้นเนื้อตรวจต่อมลูกหมากAbstract
Objective: To assess complications from transrectal ultrasound prostate biopsy in Phramongkutklao hospital
Material and Methods: Data of 128 men who had criteria and performed transrectal ultrasound prostate biopsy between January 2011 to December 2013 was evaluated and retrospected with descriptive study
Results: The minor complications compared to major complications such as gross hematuria is (86.7% : 13.3%), rectal bleeding is (97.7% : 2.3%). The incidence of epididymo-orchitis, fever, prostatitis and urinary retention are 4.7%, 3.9%, 1.6% and 1.6%, respectively
Conclusion: Most of complications are minor and self limiting. The factors such as high PSA and prostate cancer score did not relate with major post-biopsy complications
การศึกษาภาวะแทรกซ้อนจากการตัดชิ้นเนื้อตรวจต่อมลูกหมากของโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
สุวิชัย สุทธิมณีรัตน์, สาธิต ศิริบุญฤทธิ์, นพพร เชยพันธ์
หน่วยศัลยกรรมระบบปัสสาวะ กองศัลยกรรม โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาภาวะแทรกซ้อนจากการตัดชิ้นเนื้อต่อมลูกหมากในระยะเฉียบพลัน (acute complications) ในโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2553-2556
ผู้ป่วยและวิธีการศึกษา: รวบรวมข้อมูลผู้ป่วยที่มีข้อบ่งชี้ในการตัดชิ้นเนื้อต่อมลูกหมากตรวจ โดยทำ�การเก็บข้อมูลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553-2556 จำ�นวน 128 คน ผู้ป่วยต้องเซ็นใบยินยอมในการผ่าตัด และไม่มีข้อห้ามการผ่าตัด เช่นภาวะผิดปกติจากการแข็งตัวของเลือด หรือกินยา anticoagulant (เช่น aspirin, clopidogel, warfarin) โดยหยุดยาไม่ถึง 7 วัน มีสุขภาพแข็งแรงที่จะทำ�การผ่าตัดได้ ไม่มีภาวะติดเชื้ออยู่ เช่น ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ติดเชื้อที่ต่อมลูกหมาก ติดเชื้อบริเวณทวารหนัก
ผลการศึกษา: สัดส่วนการเกิดภาวะแทรกซ้อนรอง (minor complication) เมื่อเทียบกับ ภาวะแทรกซ้อนหลัก (major complication) เช่น ปัสสาวะเป็นเลือด เท่ากับร้อยละ 86.7 ต่อ 13.3, rectal bleeding เท่ากับร้อยละ 97.7 ต่อ 2.3 อุบัติการณ์การเกิดอัณฑะอักเสบ ร้อยละ 4.7, ไข้ ร้อยละ 3.9, ต่อมลูกหมากอักเสบ ร้อยละ 1.6, ปัสสาวะกักคั่ง ร้อยละ 1.6
สรุป: อุบัติการณ์การเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังการตัดชิ้นเนื้อต่อมลูกหมากส่วนใหญ่เป็นภาวะแทรกซ้อนรอง มักหายได้เอง ปัจจัยเรื่อง PSA ตั้งแต่ 10 ng/dL ขึ้นไป มีสัดส่วนการเกิดภาวะแทรกซ้อนหลักน้อยกว่า เมื่อเทียบกับ PSA<10 ng/dL, ส่วนปัจจัยเรื่องมะเร็งต่อมลูกหมาก มีสัดส่วนการเกิดภาวะแทรกซ้อนหลักน้อยกว่าเมื่อเทียบกับไม่มีมะเร็งต่อมลูกหมาก