The relationship between PSA level and the incidence of prostate cancer of the monks in Priest hospital

Authors

  • Ratdamrong Thammachot Division of Urology, Department of Surgery, Priest Hospital

Keywords:

PSA (Prostate Specific Antigen)

Abstract

Objective: To study the relationship between PSA level and the incidence of prostate cancer of the monks in priest hospital
Material and Methods: Gathering the data of 480 monks aging from 49 to 92 years with priesthood period from 1 to 58 years at Priest hospital. The period of data gathering was from 1 February 2011 to 31 December 2012. Descriptive analysis was to present the research result. The study consisted of 2 activities. One activity was to find PSA level and studied the relationship between patients’ blood test along with their ages and their priesthood period. And the other activity was to find the relationship between the incidence of prostate cancer along with patients’ age and priesthood period.
Results: It was found that the patients at 75 years of age tended to have high PSA level (medium level of relationship); while the patients in between 21-30 years of priesthood period tended to have a little bit high PSA level (low level of relationship) and there was no relationship between the incidence of prostate cancer and patients’ age as well as priesthood period.
Conclusion: The PSA level tended to be high when the patients was older than 75 years and its relationship implied medium level. The PSA level of the patients who was in between 21-30 years of priesthood period period tended to be a little bit high and its relationship implied low level. And there was no relationship between the incidence of prostate cancer and patients’ age as well as priesthood period.

 

การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างค่า PSA และอุบัติการณ์การเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากในผู้ป่วยพระภิกษุสงฆ์ในโรงพยาบาลสงฆ์
รัฐดำรง ธรรมโชติ
แผนกศัลยกรรมระบบทางเดินปัสสาวะ กลุ่มงานศัลยกรรม โรงพยาบาลสงฆ์
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ค่า PSA และอุบัติการณ์การเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากในผู้ป่วยพระภิกษุในโรงพยาบาลสงฆ์
ผู้ป่วยและวิธีการศึกษา: ทำการศึกษาในผู้ป่วยพระภิกษุ ที่มารับการตรวจที่โรงพยาบาลสงฆ์ ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์พ.ศ. 2554 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555 จำนวน 480 รูป โดยมีช่วงอายุตั้งแต่ 49-92 ปี และมีจำนวนปีที่บวช ตั้งแต่1-58 ปี โดยนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการวิเคราะห์และประเมินผลเป็นแบบ Descriptive analysis โดยทำการศึกษาและเก็บข้อมูลเป็น 2 ส่วน คือ เก็บตัวอย่างเลือด ของผู้ป่วยเพื่อตรวจหา ค่า PSA จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาหาความสัมพันธ์กับ อายุและจำนวนปีที่บวช และศึกษาอุบัติการณ์การเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก โดยศึกษาความสัมพันธ์ตามช่วงอายุและจำนวนปีที่บวช
ผลการศึกษา: การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ค่า PSA และอายุผู้ป่วย เมื่อผู้ป่วยอายุ 75 ปีขึ้นไป ค่า PSA มีแนวโน้มสูงขึ้น (มีความสัมพันธ์ในระดับปานกลาง) และผู้ป่วยที่บวชอยู่ในช่วงระยะเวลา 21-30 ปี ค่า PSA มีแนวโน้มสูงขึ้นเล็กน้อย (มีความสัมพันธ์ในระดับต่ำ) และไม่พบความสัมพันธ์ระหว่าง อุบัติการณ์ การเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก กับช่วงอายุของผู้ป่วยและจำนวนปีที่บวช
สรุป: ค่า PSA มีแนวโน้มสูงขึ้นเมื่อผู้ป่วยมีอายุมากกว่า 75 ปีขึ้นไป โดยมีความสัมพันธ์ระดับปานกลาง และผู้ป่วยที่บวชช่วงระยะเวลา 21-30 ปี ค่า PSA มีแนวโน้มสูงขึ้นเล็กน้อยโดยมีความสัมพันธ์ในระดับต่ำ และไม่พบความสัมพันธ์ระหว่าง อุบัติการณ์การเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก กับอายุ ของผู้ป่วยหรือ จำนวนปีที่บวชอย่างใด

Downloads

Published

2014-06-01

How to Cite

Thammachot, R. (2014). The relationship between PSA level and the incidence of prostate cancer of the monks in Priest hospital. Insight Urology, 35(1), 10–16. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJU/article/view/63058

Issue

Section

Original article