Usage of Paracetamol in reducing cystoscopy-related pain: A prospective study

Authors

  • Sermsin Sindhubodee Division of urology, Department of surgery, Rajavithi hospital
  • Nattapong Wongwattanasatien Division of urology, Department of surgery, Rajavithi hospital

Keywords:

paracetamol, lidocain gel, cystoscope-related pain, พาราเซตามอล, สารหล่อลื่นผสมลิโดเคน, อาการปวดจากการส่องกล้องตรวจกระเพาะปัสสาวะ

Abstract

Objective: To evaluate the pre-emptive analgesic effect of Paracetamol on rigid cystoscopy-related pain.
Material and Methods: A total of 209 male patients were randomized into 2 groups. The study group (n=110) was given 2 paracetamol tablets of 500 mg each, and the control group (n=99) was given 2 placebo tablets. Thirty minutes after the administration of the tablets, lidocaine gel was injected into the urethra; 10 minutes later the cystoscopic procedure was commenced. Using an 11-point numerical rating scale, the severity of pain was assessed during 3 periods: the injection of the lidocaine gel into the urethra, the endoscopic examination of the urinary bladder, and at the first urination after cystoscopy.
Results: Pain scores with pre-emptive paracetamol plus lidocaine gel were not different from the placebo plus lidocaine gel at the times of the injection of the gel into the urethra (p=0.925), the endoscopic examination of the urinary bladder (p=0.454), and the first urination after cystoscopy (p=0.174).
Conclusion: Pre-emptive paracetamol has no efficacy in reducing cystoscopy-related pain.

 

การใช้ยาพาราเซตามอลในการลดอาการปวดจากการส่องกล้องตรวจกระเพาะปัสสาวะ
เสริมสิน สินธุบดี, ณัฐพงศ์ วงศ์วัฒนาเสถียร
หน่วยศัลยกรรมระบบทางเดินปัสสาวะ แผนกศัลยกรรม โรงพยาบาลราชวิถี
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลการใช้ยาพาราเซตามอลในการลดอาการปวดจากการส่องกล้องตรวจกระเพาะปัสสาวะ
ผู้ป่วยและวิธีการศึกษา: ทำการศึกษาในผู้ป่วยชาย จำนวน 209 ราย โดยสุ่มแยกผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่ม ซึ่งกลุ่มทดลองได้รับยาพาราเซตามอล ขนาด 500 มิลลิกรัม จำนวน 2 เม็ด (n=110) และกลุ่มควบคุมได้รับยาหลอก จำนวน 2 เม็ด (n=99) หลังจากผู้ป่วยได้รับยา 30 นาที ศัลยแพทย์ได้ฉีดสารหล่อลื่นลิโดเคนเข้าสู่ท่อปัสสาวะ และรอ 10 นาที จึงสองกล้องตรวจกระเพาะปัสสาวะ การประเมินผลความปวด ใช้ 11-point numerical rating scale โดยประเมินผล 3 ช่วง ได้แก่ ระหว่างการฉีดสารหล่อลื่นลิโดเคนเข้าสู่ท่อปัสสาวะ ระหว่างการส่องกล้องตรวจกระเพาะปัสสาวะ และ ระหว่างการปัสสาวะครั้งแรกหลังส่องกล้อง
ผลการศึกษา: เมื่อเปรียบเทียบคะแนนความปวดในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยาพาราเซตามอล กับกลุ่มควบคุมพบว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ระหว่างฉีดสารหล่อลื่นลิโดเคนเข้าสู่ท่อปัสสาวะ (p=0.925) ระหว่างการส่องกล้องตรวจกระเพาะปัสสาวะ (p=0.454) และระหว่างการปัสสาวะครั้งแรกหลังการส่องกล้อง (p=0.174).
สรุป: การใช้ยาพาราเซตามอลก่อนการส่องกล้องไม่มีผลในการลดอาการปวดจากการส่องกล้องตรวจกระเพาะปัสสาวะ

Downloads

Published

2013-12-31

How to Cite

Sindhubodee, S., & Wongwattanasatien, N. (2013). Usage of Paracetamol in reducing cystoscopy-related pain: A prospective study. Insight Urology, 34(2), 12–18. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJU/article/view/63140

Issue

Section

Original article