Outcome of hypospadias repair in King Chulalongkorn Memorial Hospital: A ten-year experience.
Keywords:
hypospadias, fistula, technique, ท่อปัสสาวะเปิดผิดตำแหน่ง, รูรั่ว, เทคนิคAbstract
Objective: To report outcomes after hypospadias repair surgery in King Chulalongkorn Memorial Hospital.Material and method: Medical records of 66 pediatric patients , who underwent hypospadias repair from January 2003 to December 2012, were retrospectively reviewed. Types of hypospadias, surgical repair technique, postoperative outcomes and complications were obtained andanalyzed with SPSS Version 16.0.
Result: Hypospadias was classified into distal (19 patients), middle (25 patients) and proximal type (22 patients). The two most commonly performed techniques are Koyanagi (n=35, 53.0%) and Tubularized incised plate, TIP (n=25, 37.88%). Other techniques employed are the Two-staged repair (n=3) and MAGPI (n=3). The major complication that occurred in 43.9% of the patients, was urethrocutaneous fistula (22 patients after the Koyanagi technique, 6 after the TIP and 1 after the Two-staged repair). There is no correlation between surgical technique and surgical success rate. A significant risk factor of postoperative fistula is patients with proximal hypospadias.
Conclusion: There is no difference in success rates among the various hypospadias repair techniques.
ผลการผ่าตัดรักษาท่อปัสสาวะเปิดผิดตำแหน่งโดยหน่วยศัลยศาสตร์ระบบปัสสาวะในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546-2555
ประพรพิม อุตมโชติ, ชนธีร์ บุณยะรัตเวช, มนินธ์ อัศวจินตจิตร์
หน่วยศัลยศาสตร์ระบบปัสสาวะ ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อรายงานผลการผ่าตัดรักษาท่อปัสสาวะเปิดผิดตำแหน่งโดยหน่วยศัลยศาสตร์ระบบปัสสาวะในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
ผู้ป่วยและวิธีการศึกษา: ทำการศึกษาข้อมูลแบบย้อนหลังจากเวชระเบียนผู้ป่วยจำนวน 66 ราย ที่เข้ารับการผ่าตัดรักษาท่อปัสสาวะเปิดผิดตำแหน่ง ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2546 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2555 โดยรวบรวมข้อมูล ชนิดของความผิดปกติ เทคนิคการผ่าตัด ผลการผ่าตัด และภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด และทำการวิเคราะห์ด้วยโปรแกรม SPSS Version 16.0.
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยมีรูเปิดที่ส่วนปลายอวัยวะเพศ จำนวน 19 ราย มีรูเปิดที่กลางอวัยวะเพศ จำนวน 25 รายและมีรูเปิดที่ส่วนต้นของอวัยวะเพศ จำนวน 22 ราย การผ่าตัดร้อยละ 53 ใช้เทคนิค Koyanagi และร้อยละ 37.9 ใช้เทคนิค Tubularized incised plate (TIP) สำหรับเทคนิคอื่น ๆ ที่ใช้ ได้แก่ Two-staged repair และ MAGPI ภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดพบ ร้อยละ 43.9 มี urethrocutaneous fistula โดยความสำ�เร็จของการผ่าตัดไม่มีความสัมพันธ์กับเทคนิคการผ่าตัด ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อการเกิด urethrocutaneous fistula คือ ตำ�แหน่งของรูเปิดท่อปัสสาวะที่ส่วนต้นของอวัยวะเพศ
สรุป: ความสำเร็จของการผ่าตัดรักษาท่อปัสสาวะเปิดผิดตำแหน่ง ไม่มีความสัมพันธ์กับเทคนิคการผ่าตัด
Downloads
Published
2013-12-31
How to Cite
Utamachote, P., Bunyaratavej, C., & Usawachintachit, M. (2013). Outcome of hypospadias repair in King Chulalongkorn Memorial Hospital: A ten-year experience. Insight Urology, 34(2), 36–40. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJU/article/view/63143
Issue
Section
Original article