Pneumovesicoscopic Cohen’s Cross -trigonal Ureteral Reimplantation for Primary Vesicoureteral Reflux in Children: A Siriraj Hospital 8-year Review

Authors

  • Sukree Semmard Division of Urology, Department of Surgery, Faculty of Medicine Siriraj Hospital, Mahidol University, Bangkok, Thailand
  • Banasithi Chaiyaprasithi Division of Urology, Department of Surgery, Faculty of Medicine Siriraj Hospital, Mahidol University, Bangkok, Thailand

Keywords:

Cohen’s cross -trigonal ureteral reimplantation, vesicoureteral reflux, ภาวะปัสสาวะไหลย้อนท่อไต, การผ่าตัดด้วยวิธีโคเฮ็นโดยการส่องกล้อง

Abstract

Objective: To determine early experience for perioperative outcomes of pneumovesicoscopic Cohen’s cross -trigonal ureteral reimplantation for primary vesicoureteral reflux in children at Siriraj Hospital.
Material and Methods: A retrospective review of 50 pediatric patients (20 girls and 30 boys, aged months 11 to 132 months) with primary vesicoureteral reflux (VUR) who underwent a laparoscopic Cohen’s cross -trigonal procedure for ureteral reimplantation using a pneumovesical approach at Siriraj Hospital from August 2007 to June 2014. The surgical technique of this procedure, generalized demographic data, perioperative data, bladder capacity, intraoperative blood loss, operative times and success rates in different periods were recorded and the causes of diversion were determined. Postoperative parameters, fever, urethral catheterization, length of stay in hospital, and analgesic drugs used were evaluated.
Results: Total success rate of pneumovesicoscopic Cohen’s cross -trigonal ureteral reimplantation was 78% (39/50); 68.4% (13/19) in the first 4 years, and 83.9% (26/31) in the later period. The mean operative time was 184 mins (range 140-270 mins) for unilateral and 222 mins (range 180-260 mins) for bilateral reimplantation. The mean blood loss was 22.8 mls (range 5-100 mls). Eleven cases (22%) were converted to the open technique. Early postoperative fever was 1.8 days (range 1-5 days). Urethral catheter, ureteral stent duration of right/left sides, and length of stay in hospital were 9.5, 6.5/7.5 and 11.3 days, respectively.
Conclusion: Our preliminary results indicate that pneumovesicoscopic Cohen’s cross -trigonal ureteral reimplantation is a safe and effective procedure;however; there is a high conversion rate.

 

การศึกษาการผ่าตัดแก้ไขภาวะปัสสาวะไหลย้อนท่อไตในเด็กด้วยวิธีโคเฮ็น โดยการส่องกล้อง: ช่วงระยะ 8 ปีแรก ในโรงพยาบาลศิริราช
สุกรี เส็มหมาด, บรรณสิทธิ์ ไชยประสิทธิ์
สาขาวิชาศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กรุงเทพฯ
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาทบทวนผลลัพธ์และประสิทธิภาพของการผ่าตัดแก้ไขภาวะปัสสาวะไหลย้อนท่อไตในเด็กด้วยวิธีโคเฮ็นโดย การส่องกล้องจากประสบการณ์การผ่าตัดในช่วงเริ่มต้น 8 ปีแรกในโรงพยาบาลศิริราช
ผู้ป่วยและวิธีการศึกษา: ศึกษาทบทวนย้อนหลังผู้ป่วยที่มาเข้ารับการผ่าตัดแก้ไขภาวะปัสสาวะไหลย้อนท่อไตในเด็กด้วยวิธี โคเฮ็นโดยการส่องกล้องในโรงพยาบาลศิริราช ตั้งแต่ เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2550 ถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2557 จำนวนผู้ป่วย 50 ราย เป็นชาย 20 รายและหญิง 30 ราย ในการศึกษาได้ทบทวนขั้นตอนการผ่าตัด รวบรวมข้อมูลพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับ โรคและการผ่าตัดของผู้ป่วย ข้อมูลในระหว่างกระบวนการผ่าตัดผู้ป่วยแต่ละราย และข้อมูลในช่วงแรกที่ได้รับการรักษาใน โรงพยาบาลภายหลังการผ่าตัด ผลการศึกษาจะถูกนำมาคำนวณทางสถิติและทำการวิเคราะห์ข้อมูลต่อไป
ผลการศึกษา: อัตราความสำเร็จรวมของการผ่าตัดแก้ไขภาวะปัสสาวะไหลย้อนท่อไตในเด็กด้วยวิธีโคเฮ็นโดยการส่อง กล้องในโรงพยาบาลศิริราชในช่วง 8 ปีที่ผ่านมาคิดเป็นร้อยละ 78 ของผู้ป่วยทั้งหมดที่ได้มาเข้ารับการผ่าตัดรักษาด้วย วิธีนี้ (39 ใน 50 ราย) โดยพบว่าในช่วงประสบการณ์การผ่าตัด 4 ปีแรกจะมีอัตราความสำเร็จ ร้อยละ 68.4 (13 ใน 19 ราย) และเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 83.9 (26 ใน 31 ราย) ในช่วงประสบการณ์การผ่าตัด 4 ปีหลัง ค่าเฉลี่ยระยะเวลาที่ใช้ในระหว่าง ทำการผ่าตัดแต่ละรายคือ 184 นาที (140-270 นาที) ค่าเฉลี่ย 184 นาทีในกลุ่มคนไข้ที่ได้รับการผ่าตัดแก้ไขภาวะปัสสาวะ ไหลย้อนข้างเดียว และ 222 นาทีในกลุ่มคนไข้ที่ได้รับการผ่าตัดแก้ไขภาวะปัสสาวะไหลย้อนทั้งสองข้าง ค่าเฉลี่ยปริมาณเลือดของ คนไข้ที่สูญเสียในระหว่างการผ่าตัดคือ 22.8 มิลลิลิตร (5-100 มิลลิลิตร) มีคนไข้ 11 ราย (ร้อยละ 22) ที่ไม่สามารถผ่าตัดสำเร็จ และต้องเปลี่ยนเป็นการผ่าตัดด้วยวิธีการผ่าตัดเปิดแผล ระยะเวลาเฉลี่ยของการมีไข้ในช่วงภายหลังการผ่าตัดคือ 1.8 วัน (1-5 วัน) ระยะเวลาเฉลี่ยภายหลังการผ่าตัดในการค้างสายสวนท่อปัสสาวะ สายสวนท่อระบายไตซ้ายและท่อระบายไตขวา และระยะเวลารวมในการนอนโรงพยาบาลของคนไข้แต่ละราย คือ 9.5, 6.5, 7.5 และ 11.3 วันตามลำดับ
สรุป: ผลการผ่าตัดแก้ไขภาวะปัสสาวะไหลย้อนท่อไตในเด็กด้วยวิธีโคเฮ็นโดยการส่องกล้องจากประสบการณ์ในช่วง 8 ปีแรกของ โรงพยาบาลศิริราชบ่งชี้ว่าเป็นวิธีที่มีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในการผ่าตัดรักษาคนไข้ถึงแม้ว่าอัตราความสำเร็จจากการ ผ่าตัดจะค่อนข้างต่ำในช่วงประสบการณ์เริ่มต้น

Downloads

Published

2016-12-31

How to Cite

Semmard, S., & Chaiyaprasithi, B. (2016). Pneumovesicoscopic Cohen’s Cross -trigonal Ureteral Reimplantation for Primary Vesicoureteral Reflux in Children: A Siriraj Hospital 8-year Review. Insight Urology, 37(2), 7–11. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJU/article/view/74199

Issue

Section

Original article