Effectiveness of the Homemade Loop for Ureteral Stent Removal: a Pilot Study

Authors

  • Pichate Roongsirisangrat Division of Urology, Department of Surgery, Faculty of Medicine Siriraj Hospital, Mahidol University, Bangkok, Thailand
  • Ekkarin Chotikawanich Division of Urology, Department of Surgery, Faculty of Medicine Siriraj Hospital, Mahidol University, Bangkok, Thailand

Keywords:

ureteral stent removal, double J stent, การนำสายระบายปัสสาวะในท่อไตออก, สายระบายปัสสาวะในท่อไต

Abstract

Objective: To evaluate the effectiveness of a homemade loop for ureteral stent removal with rigid cystoscope.
Material and Methods: A homemade loop was designed using a ureteral stent pusher and 1-0 nylon loop. Ureteral stent removal with cystoscope was performed on a urinary bladder model. Two devices were used and compared: flexible forceps for foreign body removal and a homemade loop. Six physicians with different levels of skill (novice and expert) performed the procedures. Six separate trials on a urinary bladder model were tested for each combination of operator and ureteral stent removal device. The lengths of time to remove the ureteral stent were recorded and analyzed using unpaired t test.
Results: All trials were successful in double J stent extraction. The average times (mean +SD) for flexible foreign body forceps to extract the double J stent were 16.03 + 3.79 seconds and 24.86 + 5.22 seconds for expert and novice, respectively. For the homemade loop, the average times were 37.89 + 15.38 seconds for expert and 51.62 + 13.91 seconds for novice. The flexible foreign body forceps had a faster extraction time than the homemade loop in both the expert and novice groups (p-value < 0.05). For each device, the expert group had a significantly shorter average time compared with the novice group (p-value < 0.05).
Conclusion: A homemade loop, constructed with a simply design, at a low cost, and reproducible, is effective. Although it is not yet comparable to the foreign body forceps in extraction time, because it requires an improved design for better ergonomic function, this technique may be helpful in cases of instrument malfunction, or at small-sized hospitals with limited budgets.

 

ประสิทธิผลของอุปกรณ์ห่วงคล้องทำขึ้นเองอย่างง่ายและราคาถูกสำหรับ นำสายระบายปัสสาวะในท่อไตออกจากร่างกายและเป็นการศึกษานำร่อง
พิเชฐ รุ่งศิริแสงรัตน์, เอกรินทร์ โชติกวาณิชย์
สาขาวิชาศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กรุงเทพฯ
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อทดสอบและประเมินประสิทธิภาพของอุปกรณ์ห่วงคล้องที่ทำขึ้นเองอย่างง่ายเมื่อใช้ร่วมกับอุปกรณ์ส่องกล้อง กระเพาะปัสสาวะเพื่อนำสายระบายปัสสาวะในท่อไตออกจากอุปกรณ์ประดิษฐ์เลียนแบบกระเพาะปัสสาวะของมนุษย์
อุปกรณ์และวิธีการศึกษา: การศึกษานี้เป็นการทดสอบนอกร่างกายมนุษย์โดยใช้อุปกรณ์ประดิษฐ์เลียนแบบกระเพาะปัสสาวะ เปรียบเทียบระหว่างอุปกรณ์สำหรับหนีบจับสิ่งแปลกปลอมและอุปกรณ์ห่วงคล้องที่ทำขึ้นเอง ซึ่งออกแบบโดยใช้อุปกรณ์ช่วย จัดตำแหน่งสายระบายปัสสาวะในท่อไต และไหมเย็บแผลชนิดไนลอน (ureteral stent positioned and 1-0 nylon without needle) มีแพทย์ผู้เข้าร่วมวิจัยจำนวน 6 ท่าน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ตามประสบการณ์ในการส่องกล้องกระเพาะปัสสาวะ โดยใช้อุปกรณ์ ทั้ง 2 ชนิด ชนิดละ 6 ครั้ง เวลาที่ใช้ในการนำสายระบายปัสสาวะในท่อไตออกได้สำเร็จจะถูกบันทึกและนำมาวิเคราะห์ผลทางสถิติ ต่อไป
ผลการศึกษา: การทดสอบอุปกรณ์ห่วงคล้องที่ทำขึ้นเองประสบความสำเร็จในการนำสายระบายปัสสาวะในท่อไตออกทุกครั้ง เวลาเฉลี่ยเมื่อใช้อุปกรณ์สำหรับหนีบจับสิ่งแปลกปลอม เท่ากับ 16.03 + 3.79 วินาที และ 24.86 + 5.22 วินาที ในแพทย์ที่มี ประสบการณ์ในการส่องกล้องกระเพาะปัสสาวะ และแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป ตามลำดับ สำหรับอุปกรณ์ห่วงคล้องที่ทำขึ้นเองจะใช้ เวลาที่นานกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยแพทย์ที่มีประสบการณ์ใช้เวลาเฉลี่ย 37.89 + 15.38 วินาที และแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป ใช้เวลาเฉลี่ย 51.62 + 13.91 วินาที โดยพบว่าแพทย์ที่มีประสบการณ์ในการส่องกล้องกระเพาะปัสสาวะ จะมีเวลาเฉลี่ยที่น้อยกว่า แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป ในอุปกรณ์ทั้ง 2 ชนิดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
สรุป: อุปกรณ์ห่วงคล้องที่ทำขึ้นเองมีประสิทธิภาพที่ดีในการนำสายระบายปัสสาวะในท่อไตออกร่างกาย สามารถออกแบบได้ง่าย จากวัสดุเหลือใช้อื่น ราคาถูก และสามารถทำซ้ำได้เอง ทั้งยังอาจใช้แทนที่ในกรณีอุปกรณ์ที่มีอยู่ขัดข้อง หรือใช้ในโรงพยาบาล ขนาดเล็กที่มีงบประมาณจำกัดได้เป็นอย่างดี แต่อาจต้องมีการออกแบบปรับปรุงเพิ่มเติมเพื่อให้ใช้งานสะดวกยิ่งขึ้น

Downloads

Published

2016-12-31

How to Cite

Roongsirisangrat, P., & Chotikawanich, E. (2016). Effectiveness of the Homemade Loop for Ureteral Stent Removal: a Pilot Study. Insight Urology, 37(2), 12–18. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJU/article/view/74204

Issue

Section

Original article