Additional Pain Control during Extracorporeal Shockwave Lithotripsy (ESWL) Using Etoricoxib, Randomized-control Trial
Keywords:
pain control, extracorporeal shockwave lithotripsy, การลดอาการปวด, การสลายนิ่วด้วยคลื่นกระแทกจากภายนอกAbstract
Objective: To compare the efficacy oral etoricoxib with placebo for pain control during extracorporeal shockwave lithotripsy (ESWL).
Material and Methods: A series of 60 patients with renal and ureteral calculi for ESWL between April 2013 - July 2013 were randomized into two groups, the control group receiving placebo and study group receiving oral etoricoxib 90 mg. A visual analog scale (VAS) was used for the subjective evaluation of pain. The various parameters and side effect were recorded and analyzed statistically
Results: The VAS at 15, 30, 45, 60, 75 were not statistically significant between two group. Mean and Maximal VAS during ESWL of control group were (placebo) 5.53, 6.97 and 5.48, 6.90 in study group (etoricoxib) without significantly different between two group (95% CI 0.920, 0.892).
Conclusion: The use oral etoricoxib are not provides effective analgesic treatment in ESWL.
การศึกษาแบบสุ่มเกี่ยวกับการระงับปวดขณะสลายนิ่วด้วย คลื่นกระแทกจากภายนอก เปรียบเทียบระหว่างยาอีโทริคอกสิบกับยาหลอก
ปิยวัฒน์ ตันธนาธิป, มนินธ์ อัศวจินตจิตร์
หน่วยศัลยศาสตร์ระบบปัสสาวะ ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการลดอาการปวดจากการสลายนิ่วด้วยคลื่นกระแทกจากภายนอก ระหว่างยา อีโทริคอกสิบและยาหลอก
ผู้ป่วยและวิธีการศึกษา: เป็นการศึกษา Double blind controlled trial ผู้ป่วยนิ่วไตและท่อไตที่มารับการรักษาด้วยวิธี ESWL ช่วงอายุ 18-65 ปี หลังได้ยา Tramol 50 มิลลิกรัม ทางหลอดเลือดดำ ก่อนทำหัตถการ กลุ่มที่ 1 ได้รับยาอีโทริคอกสิบ 90 มิลลิกรัม กลุ่มที่ 2 ได้รับยาหลอก (placebo) โดยมีการบันทึกอาการปวด (visual analog scale) และผลข้างเคียงที่เกิดขึ้น ตลอดการรักษา
ผลการศึกษา: คะแนนความปวด (VAS) ของผู้ป่วย ณ เวลา 15, 30, 45, 60 และ 75 นาที พบว่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ รวมถึง ค่าเฉลี่ยและค่ามากที่สุด (Mean and Max) ของ VAS โดยในกลุ่มยาหลอกเท่ากับ 5.53 และ 6.97 ส่วนใน กลุ่มยาอีโทริคอกสิบเท่ากับ 5.48 และ 6.90 พบว่าไม่มีความแตกต่างกันในทางสถิติ โดยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 95% CI อยู่ที่ 0.920 และ 0.892 ตามลำดับ
สรุป: การใช้ยาอีโทริคอกสิบก่อนสลายนิ่วให้ผลระงับปวดไม่แตกต่างกับการให้ยาหลอก