Outside-in circumcision for children: Surgical technique and treatment outcomes
Keywords:
Outside-in, Circumcision, Children, Technique, Outcomes, การขริบหนังหุ้มปลายองคชาต, เด็ก, เทคนิคการผ่าตัด, ผลการรักษาAbstract
Objective: Circumcision is a procedure performed by various specialists using a number of techniques. We aimed to describe a new technique called outside-in (OSI) circumcision and the clinical outcomes in children.
Material and methods: The research design was prospective, descriptive study. Fifty-seven patients underwent OSI circumcision between July 2013 and June 2015. The patients were followed up at 1 and 4 weeks for clinical evaluation.
Results: The average age was 5.2 years old (range: 0.1-14.1). The average operative time was 31 minutes (range: 15-45). There was no major complication. There were no statically significant differences in operative time in terms of types of phimosis and surgeons. Most parents were very satisfied with the operative outcomes and they wanted to recommend this technique to others. None of the parents requested the circumcision revised.
Conclusion: OSI circumcision is simple, safe, effective, and has high satisfaction among patients and parents.
การผ่าตัดและผลการผ่าตัดขริบหนังหุ้มปลายองคชาต ด้วยเทคนิค outside-in สำหรับเด็ก
ธนภาส เลื่องอรุณ*, พิษณุ มหาวงศ์*, วิไลวรรณ จงรักษ์สัตย์**
* หน่วยศัลยศาสตร์ระบบปัสสาวะ ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
** หน่วยวิจัย ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: การขริบหนังหุ้มปลายองคชาต ทำโดยแพทย์หลายสาขาและหลายเทคนิค ผู้วิจัยมีความประสงค์จะแสดงเทคนิคและ ผลการผ่าตัดขริบหนังหุ้มปลายองคชาต วิธีใหม่ที่เรียกว่า outside-in (OSI) ในผู้ป่วยเด็ก
ผู้ป่วยและวิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบไปข้างหน้า (prospective descriptive) โดยมีผู้ป่วย จำนวน 57 รายได้รับการผ่าตัด ขริบหนังหุ้มปลายองคชาตด้วยเทคนิค OSI ในช่วงระหว่างเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2556 และเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2558 โดยหลังการ ผ่าตัดผู้ป่วยจะได้รับการตรวจติดตามที่ 1 และ 4 สัปดาห์เพื่อทำการประเมินทางคลินิก
ผลการศึกษา: อายุเฉลี่ยของผู้ป่วยเท่ากับ 5.2 ปี (พิสัย 0.1-14.1 ปี) เวลาเฉลี่ยการผ่าตัดเท่ากับ 31 นาที (พิสัย 14 -45 นาที) ไม่พบภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญหลังผ่าตัด ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของระยะเวลาในการผ่าตัดเมื่อเทียบระหว่าง ชนิดของการผ่าตัดหรือผู้ผ่าตัด ผู้ปกครองเกือบทั้งหมดมีความพึงพอใจต่อผลการผ่าตัดและมีความต้องการที่จะแนะนำเทคนิคนี้ แก่ผู้อื่น ไม่มีผู้ป่วยรายใดต้องการการผ่าตัดขริบหนังหุ้มปลายองคชาตซ้ำ
สรุป: การขริบหนังหุ้มปลายองคชาตแบบ OSI เป็นเทคนิคที่ง่าย ปลอดภัย มีประสิทธิภาพ และได้รับความพึงพอใจสูงจากผู้ป่วย และผู้ปกครอง