การพัฒนาวิธีการออกกำลังกายตามแนวคิดภูมิปัญญาไทยเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการทรงตัวของผู้สูงอายุ

Main Article Content

คณิน ประยูรเกียรติ
ก้องสยาม ลับไพรี

บทคัดย่อ

             ผู้สูงอายุเป็นวัยที่มีภาวะเสี่ยงต่อการหกล้มโดยมีสาเหตุหนึ่งมาจากการสูญเสียการทรงตัว ซึ่งสามารถเสริมสร้างได้โดยการออกกำลังกาย โดยผู้สูงอายุสามารถประยุกต์แนวคิดภูมิปัญญาไทยในการออกกำลังกายกายได้ ซึ่งการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาวิธีการออกกำลังกายตามแนวคิดภูมิปัญญาไทยเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการทรงตัวของผู้สูงอายุ โดยวิธีดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ 1) ร่างต้นแบบวิธีการออกกำลังกายตามแนวคิดภูมิปัญญาไทยเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการทรงตัวของผู้สูงอายุ 2) ตรวจสอบคุณภาพของต้นแบบวิธีการออกกำลังกายตามแนวคิดภูมิปัญญาไทยเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการทรงตัวของผู้สูงอายุ โดยตรวจสอบคุณภาพด้านความเที่ยงตรงจากการพิจารณาของผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน และการสัมภาษณ์ และทดลองใช้กับผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 – 70 ปี จำนวน 15 คน ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างโดยใช้ระยะเวลา 8 สัปดาห์ และ 3) ศึกษาผลของวิธีการออกกำลังกายตามแนวคิดภูมิปัญญาไทยเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการทรงตัวของผู้สูงอายุ โดยเป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ อาสาสมัครผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 – 70 ปี จำนวน 30 คน จากนั้นใช้วิธีการสุ่มอย่างง่ายโดยการจับฉลากแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 15 คน และกลุ่มควบคุม 15 คน ดำเนินการเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย   1) แผนการออกกำลังกายตามแนวคิดภูมิปัญญาไทยเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการทรงตัวของผู้สูงอายุ และ 2) แบบทดสอบความสามารถในการทรงตัว วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x}) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าเฉลี่ยอันดับ (Mean Rank) สถิติทดสอบวิลค็อกสัน (Wilcoxon matched-pairs signed-ranks test) และสถิติทดสอบแมนน์วิทนีย์ ยู (Mann Whitney U test) ที่นัยสำคัญทางสถิติระดับ .05


          ผลการวิจัยพบว่า 1) วิธีการออกกำลังกายตามแนวคิดภูมิปัญญาไทยเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการทรงตัวของผู้สูงอายุ ประกอบด้วย 1.1) ความบ่อย สัปดาห์ละ 3 ครั้ง 1.2) ความเข้มข้น แบ่งเป็น 2 ระดับ คือ ระดับง่ายและระดับปานกลาง 1.3) ระยะเวลา ครั้งละ 30 - 45 นาที 1.4) ประเภท เป็นแบบอยู่กับที่และเป็นยก 1.5) ขั้นตอนแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ การอบอุ่นร่างกาย ใช้ระยะเวลา 5 - 10 นาที ประกอบด้วยท่าทางในการอบอุ่นร่างกาย 8 ท่า การออกกำลังกาย ใช้ระยะเวลา 15 - 30 นาที ประกอบด้วยท่าทางการออกกำลังกายรวม 18 ท่า โดยสัปดาห์ที่ 1 - 4 ประกอบด้วยท่าทางการออกกำลังกาย 10 ท่า สัปดาห์ที่ 5 - 8 ประกอบด้วยท่าทางการออกกำลังกาย 8 ท่า และการคลายอุ่น ใช้ระยะเวลา 5 - 10 นาที ประกอบด้วยท่าทางในการคลายอุ่น 8 ท่า 2) ผลของการออกกำลังกายตามแนวคิดภูมิปัญญาไทยเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการทรงตัวของผู้สูงอายุ พบว่า ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีความสามารถในการทรงตัวดีขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมพบว่า กลุ่มทดลองมีความสามารถในการทรงตัวดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

American College of Sports Medicine. (2013). ACSM's guidelines for exercise testing and prescription. Lippincott Williams & Wilkins.

Arsom silp Institute of The Arts. (2010). Thai Sports Wisdom. Bangkok: Plan Printing CO., LTD.

Bishop, D. (2003). “Warm up II”. Sports Medicine, 33(7), 483 - 498.

Chiacchiero, M., & et.al. (2010). “The relationship between range of movement, flexibility, and balance in the elderly”. Topics in Geriatric Rehabilitation, 26(2), 148 - 155.

Department of Physical Education, Ministry of Tourism and Sports. (2012). Aerobic Dance. Bangkok: The Agricultural Co-operative Federation of Thailand. LTD.

Department of the Army. (1998). Physical fitness training (FM) 21-20. Washington, DC: Headquarters, Department of the Army.

Mayuree Tanomsuk. (2006). Developing the exercise model for promotion quality of life of the elderly. (Doctoral dissertation). Kasetsart University.

Miller, D. (2013). Measurement by the physical educator why and how. McGraw-Hill Higher Education.

Ministry of Public Health. (2006). Physical Activity for Elderly with Heart Disease. Bangkok: The Agricultural Co-operative Federation of Thailand, LTD.

National Council on the Aging. (2004). Healthy moves for aging well. Los Angeles: NCOA.

Nattorn Khuntong. (2011). The effect of manora classical dance training on strength and balance of the elders. (Master’s thesis). Srinakharinwirot University.

Paterson, D.H., Jones, G.R. & Ric, C.L., (2007). “Ageing and physical activity: Evidence to develop exercise recommendations for older adults”. Applied Physiology, Nutrition, and Metabolism, 32(S2E), S69 - S108.

Patitta Wongsangtien, Apiwan Ownsungnoen & Rattigan Phusit. (2015). “The effectiveness of the applieed folk art loincloth of the elderly exercise program in Amphur Muang Sukhothai Province”. Academic Journal of Institute of Physical Education, 7(3), 1 - 22.

Prayoch Boonsinsukh & Rumpa Boonsinsukh. (2004). Motor System. Faculty of Allied Health Sciences, Srinakharinwirot University.

Reiman, M. P., & Manske, R. C. (2009). Functional testing in human performance. Human kinetics.

Rikli, R. E., & Jones, C. J. (2001). Senior fitness test manual. Human Kinetics.

Ruth Laohapakdee. (2012). The effects of Mai Plong exercise program on motor ability and social skills of the child with autistic spectrum disorder. (Doctoral dissertation). Chulalongkorn University.

Sarinya Buranasubpasit. (2012). Effects of core muscles training on strength and balance of the elderly. (Master’s thesis). Srinakharinwirot University.

Somboon Inthomya. (2004). A development of the measurement instrument of the bodily-kinesthetic intelligence. (Doctoral dissertation). Chulalongkorn University.

Thanamwong Kritpet & Sitha Phongphibool. (2011). Physiology of exercise. Bangkok: Tiranasar CO., LTD.

The Foundation of Thai Gerontology Research and Development Institute. (2008). Situation of the Thai elderly 2007. Bangkok: TQP CO., LTD. Amarin Printing & Publishing Public Co., Ltd.

The Foundation of Thai Gerontology Research and Development Institute. (2014). Situation of the Thai elderly 2014. Bangkok: TQP CO., LTD. Amarin Printing & Publishing Public Co., Ltd.

The Foundation of Thai Gerontology Research and Development Institute. (2017). Situation of the Thai elderly 2016. Nakornpathom: Printery Co.,Ltd.

Thiwaporn Thaweewannakij et al. (2010). “Balance, fall and quality of life in active and inactive elderly”. Journal of Medical Technology and Physical Therapy, 22(3), 271 - 279.

Wannee Kaemkate. (2012). Research Methodology in Behavioral Sciences. Bangkok: Chulalongkorn University Printing House.

World Health Organization. (2010). Global recommendations on physical activity for health. World Health Organization.