สภาพตลาดของธุรกิจการแข่งขันกีฬา ในจังหวัดเชียงใหม

Main Article Content

อรรณพร สุริโย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคในการทำธุรกิจการจัดการแข่งขันกีฬาในจังหวัดเชียงใหม่ (2)ศึกษาสภาพตลาดของธุรกิจการจัดการแข่งขันกีฬา ในจังหวัดเชียงใหม่ (3)ศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการการจัดการแข่งขันกีฬาในจังหวัดเชียงใหม่ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างการวิจัยคือ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการจัดการแข่งขันกีฬากลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 7คน สนทนากลุ่มย่อยจำนวน 7 คน และตอบแบบสอบถามจำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม ดำเนินการวิจัย โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบไม่มีโครงสร้าง สนทนากลุ่มย่อยจากกลุ่มตัวอย่างที่เลือก แบบเจาะจงและใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์มูลดังนี้คือข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนา กลุ่มย่อย ทำการวิเคราะห์จากเนื้อหาไปพร้อมๆกับการเก็บรวบรวมข้อมูลตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามโดยใช้สถิติค่าความถี่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า สภาพตลาดของธุรกิจการจัดการแข่งขันกีฬา จังหวัดเชียงใหม่ มีจุดแข็งมากกว่าจุดอ่อน และโอกาสมากกว่าอุปสรรค ทำให้สามารถทำธุรกิจนี้ โดยใช้กลยุทธ์เชิงรุกในการดำเนินธุรกิจ ธุรกิจการจัดการแข่งขันกีฬาในจังหวัดเชียงใหม่ ยังไม่มีการแข่งขันกัน ส่วนมากเป็นการจัดการแข่งขัน โดยเจ้าของสนามแข่งขัน หรือหน่วยงานของภาครัฐ และกลุ่มที่มีความชอบกีฬาได้รวมกลุ่มกันจัดแข่งขันกีฬา นอกจากนี้จังหวัดเชียงใหม่ ยังไม่มีการจัดการแข่งขันกีฬา ที่เป็นเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ของจังหวัด ผู้ใช้บริการจะมีอำนาจต่อรองมากเนื่องจากธุรกิจการจัดการแข่งขันกีฬาเป็นการจัดการกิจกรรมเพื่อมวลชนบางครั้งจะคำนึงถึงวัตถุประสงค์และประสิทธิภาพของงานมากกว่าผลกำไรอุปสรรคในการเข้ามาของคู่แข่งขันรายใหม่สูง ในมุมมองของเจ้าของสนามหญ้าเทียมและสนามกอล์ฟ โดยสนามกอล์ฟจะมีอุปสรรคสูงกว่าสนามหญ้าเทียมเนื่องจากมีการลงทุนที่มากกว่าและใช้พื้นที่เป็นจำนวนมากอำนาจต่อรองของผู้ขายวัตถุดิบต่ำเนื่องจากธุรกิจการจัดการแข่งขันกีฬาเป็นธุรกิจที่ต่อเกี่ยวข้องกับหน่วยงานหลายฝ่าย ทั้งเจ้าของสถานทีในการจัดการแข่งขัน กรรมการตัดสินกีฬา หน่วยงานที่อำนวยความสะดวกในการจัดการแข่งขัน ภัยคุกคาม
ของสินค้าทดแทนต่ำ เนื่องจากการแข่งขันกีฬาเป็นกิจกรรมที่ต้องใช้ความรู้และประสบการณ์ของผู้จัดการแข่งขัน ที่มองเป็นภัยคุกคาม ก็จะเป็นการที่หน่วยงานต่าง ๆ จัดแข่งขันกีฬากันเองไม่มีการจ้าง ปัจจัยด้านการตลาดมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในระดับมาก โดยปัจจัยด้านบุคคลากร เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในระดับมากเป็นอันดับแรก รองลงมาได้แก่ด้านการจัดจำหน่าย และ ด้านผลิตภัณฑ์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

การกีฬาแห่งประเทศไทย. (2560). แผนยุทธศาสตร์การกีฬาแห่งประเทศไทย (2560-2564). สืบค้นเมื่อ 25 มกราคม 2560, จาก http://www.senate.go.th/w3c/senate/pictures/comm/51/sport%20science/050.pdf.

ชัยสมพล ชาวประเสริฐ. (2546). การตลาดบริการ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ชูระวี สุริยจันทร์. (2556). การจัดการแข่งขันกีฬา. สถาบันการพลศึกษา. กรุงเทพฯ: นิบุญ จำกัด.

ธเนศ ยุคันตวนิชชัย. (2553). ขับเคลื่อนกีฬาด้วย “SPORTS MARKEING”. กรุงเทพฯ: 1688 มีเดีย.

ปณิศา ลัญชานนท์. (2548). หลักการตลาด. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

ภูมิ เกตุคำ. (2558). ส่วนประสมทางการตลาดที่ผู้ใช้บริการเลือกใช้สนามกอล์ฟใน จังหวัดปทุมธานี. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยปทุมธานี. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยปทุมธานี.

ยุทธนา ธรรมเจริญ. (2544). การวิเคราะห์พฤติกรมผู้บริโภค. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วิกรานต์ มงคลชาญ. (2556).การวิเคราะห์ตลาดด้วย BCG matrix.29 มิถุนายน 2559,http://marketingforexp.blogspot.com/2013/10/bcg-matrix.html.

วารุณี ตันติวงศ์วาณิช และคณะ. (2554). หลักการตลาด. กรุงเทพฯ: เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่น อินโดไซน่า.

สมชาติ กิจยรรยง. (2547). ยุทธวิธีบริการครองใจลูกค้า. กรุงเทพฯ: เอ็มไอทีคอนซัลติ้ง จำกัด.

สมนึก จันทรประทิน. (2544). การวิเคราะห์การแข่งขันในตลาด. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

หนังสือพิมพ์มติชน. (2559). เปิดแผนปฏิรูปกีฬาปี 2560. สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2559, จาก http://www.matichon.co.th/matichon/matichon.php.

เอกกมล เอี่ยมศรี. (2554). การวิเคราะห์ตลาดด้วย TOWS matrix. สืบค้นเมื่อ11 มิถุนายน 2559, จาก https://eiamsri.wordpress.com/2011/06/07/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89-tows-matrix/.