MANAGEMENT MODEL OF HOCKEY FOR EXCELLENCE IN THE INTERNATIONAL LEVEL FOR THAILAND
Main Article Content
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างรูปแบบการจัดการกีฬาฮอกกี้สู่ความเป็นเลิศระดับนานาชาติสำหรับประเทศไทยและเพื่อประเมินความเป็นไปได้ในการนำรูปแบบการจัดการกีฬาฮอกกี้สู่ความเป็นเลิศระดับนานาชาติสำหรับประเทศไทยไปใช้จริง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพการดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบการจัดการกีฬาฮอกกี้สู่ความเป็นเลิศและนำข้อมูลจากการสังเคราะห์เอกสารไปสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน 2) นำข้อมูลที่ได้มาจัดทำเป็นข้อคำถามเพื่อหาฉันทามติ ด้วยเทคนิคเดลฟายประยุกต์ (Modified Delphi technique) ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 18 คน สรุปความคิดเห็นแล้วนำมาร่างเป็นรูปแบบการจัดการกีฬาฮอกกี้สู่ความเป็นเลิศระดับนานาชาติสำหรับประเทศไทยที่มีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ 3) ประเมินความเป็นไปได้ในการนำรูปแบบการจัดการกีฬาฮอกกี้สู่ความเป็นเลิศระดับนานาชาติสำหรับประเทศไทยไปใช้จริง ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับกีฬาฮอกกี้ จำนวน 9 คน
ผลการวิจัยพบว่า
- 1. รูปแบบการจัดการกีฬาฮอกกี้สู่ความเป็นเลิศระดับนานาชาติสำหรับประเทศไทย มีโครงสร้างของรูปแบบการจัดการ 4 ด้าน ได้แก่ การวางแผน การจัดองค์การ การชี้นำ และการนำไปปฏิบัติ และการควบคุมและการประเมินผล กับทรัพยากรบริหารจัดการ 4 M’s ได้แก่ ด้านบุคลากรมีปัจจัยสำคัญจำนวน 36 ข้อ ด้านงบประมาณมีปัจจัยสำคัญจำนวน 19 ข้อ ด้านสถานที่ อุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวก มีปัจจัยสำคัญจำนวน 17 ข้อ และด้านการบริหารจัดการมีปัจจัยสำคัญจำนวน 31 ข้อ มีปัจจัยสำคัญทั้งสิ้นจำนวน 103 ข้อ
2. รูปแบบการจัดการกีฬาฮอกกี้สู่ความเป็นเลิศระดับนานาชาติสำหรับประเทศไทยมีความเหมาะสมและเป็นไปได้ในการนำไปใช้จริง
Article Details
The published article is a copyright of the Academic Journal of Thailand National Sports University. The passage appeared in each article in this academic journal is a perspective of each author which is not related to the journal. Each author is required to be responsible for all components of his/her own article. If there are any mistakes, each author must be responsible for those mistakes on his/her own.
References
Cook, G. V. (2010). “Active sports” The first step to sporting excellence (Doctoral dissertation), University of Durham.
De Bosscher, V., De Knop, P., Van Bottenburg, M, & Shibli, S. (2006). A conceptual framework for analyzing sports policy factors leading to international sporting success. European Sport Management Quarterly, 6(2), 185-215.
Department of Physical Education. (1991). History of Sports (2 nded). Bangkok: Academic Affairs, Sports Division.
Hockey Association of Thailand. (2012). Hockey Strategies (2012-2016). Bangkok: Hockey Association of Thailand.
Hockey Association of Thailand. (2017). Hockey Strategies (2017-2021). Bangkok: Hockey Association of Thailand.
Houlihan, B., & Green, M. (2008). Comparative elite sport development: Systems, structures and public policy. MA: Butterworth-Heinemann.
Ladda Ruangmanotam and Suebsai Boonverabut. (2016). Factors and pathway of sport development: Thai model. Journal of Sports Science and Health, 17(1), 36-48.
Ministry of Tourism and sports. (2017). The National Sports Development Plans No.6 (2017-2021). Bangkok: Office of the Veterans Organization Printing Office.
Polit, D. F. & Beck, C. T. (2008). Resource manual for nursing research: Generating and assessing evidence for nursing practice (8 thed.). Philadelphia: Lippincott.
Rajanee Quanboonchan. (2004). Developing the sport development plan for excellence. Bangkok: Sport Authority of Thailand.
Ratanaporn Shongpranam. (1995). Problems in promotion of hockey in Thailand as perceived by hockey association administrators, coaches, and athletes (Master’s thesis), Chulalongkorn University.
Suwimon Wongwanich. (2015). Needs assessment research (3rded.). Bangkok: Chulalongkorn University.