ความพึงพอใจในส่วนประสมทางการตลาด ต่อการตัดสินใจเลือกสวนสาธารณะ ในกรุงเทพมหานครเพื่อการวิ่ง

Main Article Content

สุกัญญา มณีอินทร์
กุลพิชญ์ โภไคยอุดม

บทคัดย่อ

งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบลักษณะประชากรศาสตร์ของผู้วิ่งที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกสวนสาธารณะในกรุงเทพมหานครเพื่อการวิ่ง จำแนกตาม เพศ อายุอาชีพ และรายได้และเพื่อศึกษาความพึงพอใจในส่วนประสมทางการตลาดต่อการตัดสินใจเลือกสวนสาธารณะในกรุงเทพมหานครเพื่อการวิ่ง โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือผู้ที่มาวิ่งในพื้นที่สวนสาธารณะ จำนวน 406 คน โดยเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีค่าIOC เท่ากับ 0.81และมีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาเท่ากับ 0.88 นำข้อมูลมาวิเคราะห์หาค่าความถี่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้การวิเคราะห์เพื่อการค่าถดถอยเชิงพหุคูณ เพื่อหาระดับความแตกต่างของการตัดสินใจ
ผลการวิจัยลักษณะประชากรศาสตร์ของผู้ที่มาวิ่งในพื้นที่สวนสาธารณะ พบว่าช่วงอายุที่แตกต่างกันส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกสวนสาธารณะเพื่อการวิ่งที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผู้ที่มาวิ่งในพื้นที่สวนสาธารณะมีความพึงพอใจต่อส่วนประสมทางการตลาด 7P’s โดยรวมอยู่ในระดับมาก (3.63) และความคิดเห็นเกี่ยวกับการตัดสินใจเลือกสวนสาธารณะในกรุงเทพมหานครเพื่อการวิ่ง โดยรวมอยู่ในระดับมาก (4.01) เมื่อวิเคราะห์ความพึงพอใจในส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกสวนสาธารณะในกรุงเทพมหานครเพื่อการวิ่ง โดยใช้การทดสอบค่าทางสถิติการถดถอยแบบพหุคูณ พบว่า ด้านผลิตภัณฑ์ด้านสถานที่ ด้านส่งเสริมการตลาด ด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ และด้านกระบวนการให้บริการส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการสวนสาธารณะในกรุงเทพมหานครเพื่อการวิ่งอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกกาญจน์ตู้จินดา. (2552). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการสวนสาธารณะของประชาชนในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กรมพลศึกษา. (2555).แผนพัฒนานันทนาการแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2555-2559). กรุงเทพมหานคร: กรมพลศึกษา.

กรมอนามัย. (2559). กรมอนามัย จับมือ ภาคีเครือข่ายพัฒนาฟิตเนสและสวนสาธารณะเพื่อการออกกeลังกายต้นแบบเน้นปลอดภัยได้มาตรฐาน, สืบค้นเมื่อ5กันยายน 2559.จาก http://www.anamai.moph.go.th/ewt_news.php?nid=9538&filename=index

ธนวรรณ แสงสุวรรณ และคณะ. (2547) การจัดการการตลาด. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: เพียรสันเอ็ดดูเคชั่น อินโดไชน่า.

ธรรมจักร เล็กบรรจง. (2558). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด 7P’s ที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการโรงแรมฮาลาลของนักท่องเที่ยว. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต,จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภควดีศรีอ่อน. (2555) พฤติกรรมการใช้สวนสาธารณะและสภาพแวดล้อมทางภูมิทัศน์กรณีศึกษาสวนรมณีนาถ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ภัทราวดีอิ่มศิริ. (2548) การให้บริการสวนสาธารณะเขตลาดกระบัง. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.

ศูนย์ข้อมูลกรุงเทพมหานคร. (2556).การแบ่งพื้นที่ตามนโยบายการพัฒนาผังเมือง, สืบค้นเมื่อ 5 กันยายน 2559. จาก http://203.155.220.230/m.info/nowbma/

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2558). วิ่งสู่ชีวิตใหม่, สืบค้นเมื่อ 9 เมษายน 2559. จาก http://www.thaihealth.or.th/Content/29824-วิ่งสู่ชีวิตใหม่

Torkildsen, G. (2005). Leisure and Recreation Management. (5th ed.). New York :Routledge 270 Madison Avenue.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd). New York: Harper and Row.