Tourists Expectation and Actual Experience Percertion Towards Eco-Tourism in Kiriwong Village Nakhon Si Thammarat Province
Main Article Content
Abstract
งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเพื่อศึกษาความคาดหวังและการรับรู้ประสบการณ์จริงของนักท่องเที่ยวในด้านการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์หมู่บ้านคีรีวงจังหวัดนครศรีธรรมราชและเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างความคาดหวังและการรับรู้ประสบการณ์จริงของนักท่องเที่ยวในด้านการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์หมู่บ้านคีรีวง จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักท่องเที่ยวชาวไทยทั้งเพศชายและเพศหญิง ที่มีอายุ20 ปีขึ้นไป ที่เข้ามาท่องเที่ยวในหมู่บ้านคีรีวง จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีค่า IOC เท่ากับ 0.87 และมีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่า เท่ากับ 0.84 นำข้อมูลมาวิเคราะห์หาค่าความถี่ค่าร้อยละค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้การวิเคราะห์เพื่อหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันเพื่อหาค่าความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร
ผลการวิจัยพบว่า ความคาดหวังก่อนมาท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวในการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ หมู่บ้านคีรีวง จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.10, S.D. = 0.58) และการรับรู้ประสบการณ์จริงในการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์หมู่บ้านคีรีวงจังหวัดนครศรีธรรมราชโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด( = 4.29,S.D. = 0.58) เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความคาดหวังของนักท่องเที่ยวกับการรับรู้ประสบการณ์จริงของนักท่องเที่ยวในด้านการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ หมู่บ้านคีรีวง จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยใช้การทดสอบค่าทางสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียรสันพบว่า มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Article Details
The published article is a copyright of the Academic Journal of Thailand National Sports University. The passage appeared in each article in this academic journal is a perspective of each author which is not related to the journal. Each author is required to be responsible for all components of his/her own article. If there are any mistakes, each author must be responsible for those mistakes on his/her own.
References
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2556). ประเภทการท่องเที่ยว, สืบค้นเมื่อ 27 กรกฎาคม 2559. จาก http://www.igpthai.org/NS057/userfiles/files/Tourism.pdf
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยสำนักงานนครศรีธรรมราช. (2558). นครศรีธรรมราช, สืบค้นเมื่อ 8 สิงหาคม 2559. จาก http://thai.tourismthailand.org/fileadmin/uploadimg/Multimedia/Ebrochure/60/NakhonSiTH.pdf
ทัศณา เกื้อเส้ง, เยาวดี ศรีราม และวิทิต บัวปรอท. (2555). ความคาดหวังและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่อการจัดสภาพแวดล้อมในแหล่งท่องเที่ยวน้ำตกทรายขาว. มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
วารสารการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (TAT Review Magazine). (2557). เศรษฐกิจการท่องเที่ยว (The Visitor Economy) โดย Pacific Asia Travel Association (PATA), สืบค้นเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2559. จาก http://www.tatreviewmagazine.com/web/menu-read-web-etatjournal/menu-2014/menu-2014-jul-sep/602-32557-visitor-economy
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 11 พ.ศ. 2555-2559, สืบค้นเมื่อ 21 กุมภาพันธ์2559. จาก http://www.mots.go.th/ewt_dl_link.php?nid=4147
สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ จังหวัดนครศรีธรรมราช. (2557). แผนพัฒนาจังหวัดนครศรีธรรมราช, สืบค้นเมื่อ 2 กันยายน 2559. จากhttp://www.pdc.go.th/wpcontent/uploads/2015/11/แผนพัฒนาจังหวัดนครศรีธรรมราช57_60_ฉบับทบทวน.pdf
อุดมศักดิ์แนวจิตร. (2544). ความคาดหวังและความพึงพอใจของนักเที่ยวต่อการจัดสภาพแวดล้อมเพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ กรณีศึกษาอุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Gunn, C. (1988). Vacation scapes: Designing tourist regions. New York: Van Nostrand Reinhold.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd ed.). New York : Harper and Row Publication.