Parental School According to Brain-based Learning Concept
Main Article Content
Abstract
เด็กปฐมวัย ( แรกเกิด-6ปี ) เป็นวัยที่ร่างกายและสมองมีการเจริญเติบโตเร็วมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง 1,000 วันแรก ( แรกเกิด-2ปี ) สมองโตถึง 80% ของผู้ใหญ่ จึงถือว่าเป็นวัยทองของรากฐานของชีวิต คุณภาพของการอบรมเลี้ยงดู และการศึกษาของเด็กปฐมวัย จึงเป็นรากฐานของบุคคล ครอบครัว สังคม การเลี้ยงดูเด็กที่ถูกต้อง เหมาะสม ให้มีภาวะโภชนาการ พัฒนาการสมวัย สมองและสติปัญญาดี มีพฤติกรรมเหมาะสม จึงเป็นหน้าที่ของพ่อแม่ ครอบครัว และผู้ดูแลเด็กโดยตรง
ปัจจุบันเด็กเกิดน้อยลง ( อัตราการเพิ่มของประชากรลดลงจากร้อยละ 2.7 ในปีพ.ศ.2513 เป็นร้อยละ 0.4 ในปีพ.ศ. 2554 ( สำนักงานวิชาการและทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ) เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจและสังคมเปลี่ยนไป หญิงไทยมีการศึกษาสูงขึ้น แต่งงานช้าลง มีค่านิยมในการเป็นโสดเพิ่มขึ้น ไม่อยากมีภาระ ภาวะมีบุตรยาก สภาพสังคมไม่เอื้อต่อการมีลูก กลัวเลี้ยงลูกไม่ได้ ไม่มีคนช่วยเลี้ยง สังคมไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ดังนั้นการส่งเสริมการเกิดอย่างมีคุณภาพ ตามนโยบายกรมอนามัย จึงมีความสำคัญ จำเป็นต้องมีการพัฒนารูปแบบกระบวนการให้ความรู้พ่อแม่ ครอบครัว และผู้ดูแลเด็กให้ถูกต้อง เหมาะสม และนำไปปฏิบัติได้จริง
Article Details
The published article is a copyright of the Academic Journal of Thailand National Sports University. The passage appeared in each article in this academic journal is a perspective of each author which is not related to the journal. Each author is required to be responsible for all components of his/her own article. If there are any mistakes, each author must be responsible for those mistakes on his/her own.
References
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข .( 2558 ) คู่มือโรงเรียนพ่อแม่. นครสวรรค์ : ศูนย์อนามัยที่ 3.
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. ( 2547 ) คู่มือวิทยากรโรงเรียนพ่อแม่. นนทบุรี : โรงพิมพ์ทหารผ่านศึก.
นนธนวนัณท์ สุนทรา. ( 2559 ) โรงเรียนพ่อแม่ BBL. กรุงเทพมหานคร: พาณิชพระนคร (2535) จำกัด.
ประเสริฐ บุญเกิด. ( 2556 ) เล่นตามรอยพระยุคลบาท. พิมพ์ครั้งที่ 2 : พลัสเพส จำกัด.
สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ OKMD. BBL การเรียนรู้ตามหลักการพัฒนาสมอง Brain-based Learning. 2548. www.okmd.or.th, www.facebook.com/Brain-based Learning: BBL.