Mixed Methods Research: How to Apply to Physical Education

Main Article Content

Asawin Maneein

Abstract

การวิจัยผสานวิธี (Mixed Methods Research) เป็นวิธีการวิจัยที่บูรณาการวิธีการวิจัย เชิงปริมาณ (Quantitative Research) และวิธีการ วิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ซึ่งเกิดจาก แนวคิดของนักวิจัยกลุ่มปฏิบัตินิยม (Pragmatism) ที่ พยายามเชื่อมโยงแนวคิดของนักวิจัยกลุ่ม ปฏิฐานนิยม (Positivism) กับกลุ่มปรากฏการณ์นิยม (Phenomenology) โดยที่กลุ่มปฏิฐานนิยม (Positivist Paradigm) จะมุ่งเน้นการพิสูจน์ความ ถูกต้องหรือยืนยันทฤษฎี และหาความสัมพันธ์ เชิงสาเหตุของปรากฏการณ์ที่สนใจ ด้วยการเก็บ รวบรวมข้อมูลอย่างเป็นขั้นเป็นตอน มีความรัดกุม และใช้วิธีการทางสถิติในการวิเคราะห์ ซึ่งเป็นแนว คิดของวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ส่วนกลุ่มปรากฏการณ์ นิยม (Phenomenological Paradigm) จะมุ่งเน้นการ ทําความเข้าใจปรากฏการณ์ ที่สนใจ ด้วยการ พรรณนาและตีความข้อมูลในสภาวการณ์ที่เป็น ธรรมชาติ ซึ่งเป็นแนวคิดของวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) นักวิจัยในกลุ่มปฏิบัตินียม (Pragmatism Paradigm) ที่มีความคิดว่ากระบวน ทัศน์เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพนั้นแท้จริงแล้วเข้า กันได้หรือสามารถใช้ร่วมกันได้ จึงเริ่มมองหาความ สัมพันธ์ระหว่างปรัชญาทั้งสองกลุ่ม และใช้วิธีวิทยา การวิจัยทั้งสองมาผสมผสานกัน เพื่อที่จะหาทางออก ของปัญหาการวิจัยได้อย่างสมบูรณ์โดยมีความเชื่อว่า


วิธีวิจัยทั้งสองสามารถที่จะเพิ่มเติมจุดแข็งและแก้ไข จุดอ่อนซึ่งกันและกันได้ ซึ่งเป็นแนวคิดของการวิจัย ผสานวิธี (Mixed Methods Research)


ดังนั้นวิจัยผสานวิธี (Mixed Methods Research) จึงเป็นวิธีการวิจัยที่สามารถใช้ในการ ตอบปัญหาวิจัยในหลาย ๆ กรณีที่วิธีการวิจัยแบบ เดียวไม่สามารถตอบปัญหาได้ รวมไปถึงการตรวจ สอบซึ่งกันและกันในด้านวิธีการ ทําให้การวิจัย สามารถตอบปัญหาการวิจัยได้ครอบคลุมที่สุด โดย มีจุดมุ่งหมายเพื่อตรวจความสอดคล้องของข้อมูล และการศึกษาปัญหาในแง่มุมต่าง ๆ และใช้ข้อมูล มาเสริมกันในภาพรวม รวมทั้งเป็นการค้นหาข้อ ขัดแย้งของข้อค้นพบที่อาจมีและเป็นประเด็นใหม่ ที่น่าสนใจ ซึ่งผู้วิจัยไม่คาดคิดมาก่อน ทั้งยังเป็นการ ขยายขอบเขตของการวิจัยทั้งในความกว้างขวางของ การนําไปใช้และความลุ่มลึกของผลการวิจัยที่พ

Article Details

How to Cite
Maneein, A. . (2010). Mixed Methods Research: How to Apply to Physical Education. Academic Journal of Thailand National Sports University, 2(2), 141–150. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TNSUJournal/article/view/249599
Section
Academic Article

References

ดุษฎี โยเหลา. (2546). “การวิจัยผสานวิธี”, พลิกปัญหาให้เป็นปัญญา. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ผ่องพรรณ ตรัยมงคลกูล และสุภาพ ฉัตราภรณ์. (2543). การออกแบบการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

องอาจ นัยพัฒน์. (2549). วิธีวิทยาการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์, พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สามลดา.

Creswell, W. J. (1994). Research Design: Qualitative and Quantitative Approach. 2nd ed. California: Sage Publication.

Creswell, W. J.. (2003). Research Design: Qualitative, Quantitative and Mixed Methods Approach. 2nd ed. California: Sage Publication.

Green, J. C.; Caracelli, V. J. and Graham, W. F. (1989). “Toward a Conceptual Framwork for Mixed Method Evaluation Design”, Education Evaluation and Policy Analysis. 11(3). 255-274.

Guba, E. and Lincoln, T. S. (1988) “Do Inquiry Paradigm Imply Inquiry Methodologies?”, Qualitative Approach to Evaluation in Education: The Silent Scientific Revolution. New York: Prger.

Johnson, B. and Christensen, L. (2004). Educational Research Quantitative, Qualitative and Mixed Approach. 2nd ed. New York: Pearson Education, Inc.

Johnson, B. and Onwuegbuzie, A. J. (October 2004). “Mixed Methods Research: A Research Paradigm Whose Time Has Come”, Educational Researcher. 3307). 14-26.

Patton, M. Q. (2002). Qualitative Research and Evaluation Method, 3rd ed. California: Sage Publication. Tashakkori, A. and Teddlie, C. (1998). Mixed Methodology: Combing Qualitative and Quantitative Approach. London: Sage