ปัจจัยเชิงเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่กีฬาและนันทนาการอําเภอสํานักงานพัฒนาการดีฬาและนันทนาการ ของ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา พื้นที่ 5 จังหวัดภาคใต้ตอนกลาง

Main Article Content

Pukdee Talingchat

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับคุณภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่กีฬาและ นันทนาการอําเภอ เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่กีฬาและนันทนาการอําเภอ และเพื่อศึกษาสภาพปัญหาการปฏิบัติงานและแนวทางแก้ไขที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพการปฏิบัติงานของ เจ้าหน้าที่กีฬาและนันทนาการอําเภอ พื้นที่ 5 จังหวัดภาคใต้ตอนกลาง ประชากร เจ้าหน้าที่กีฬาและ นันทนาการอําเภอ และบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการ ควบคุม ดูแล กํากับ ติดตาม เร่งรัด การปฏิบัติงาน ของเจ้าหน้าที่กีฬาและนันทนาการอําเภอ จํานวน 140 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าความแตกต่างของค่าเฉลี่ย เพื่อรายงานใน ความเรียง


ผลการวิจัยพบว่า


  1. ระดับคุณภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่กีฬาและนันทนาการอําเภอ ตามทัศนะ ของ เจ้าหน้าที่กีฬาและนันทนาการอําเภอ โดยภาพรวม พบว่าอยู่ในระดับดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.07 ส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.42 และของบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการควบคุม ดูแล ติดตาม เร่งรัด การ ปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่กีฬาและนันทนาการอําเภอ อยู่ในระดับดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.25 ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐานเท่ากับ 0.39

  2. ผลการเปรียบเทียบคุณภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่กีฬาและนันทนาการอําเภอ จําแนก ตามบริบทชั้นอําเภอ ของเจ้าหน้าที่กีฬาและนันทนาการอําเภอ โดยภาพรวม พบว่าทุกระดับชั้นอําเภอ มี ผลการปฏิบัติงานอยู่ในระดับดี ระดับอําเภอชั้น 4 มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาได้แก่ ระดับอําเภอชั้น 2 ระดับอําเภอชั้น 3 และระดับอําเภอชั้น 1 ตามลําดับ และของบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการควบคุม ดูแล ติดตาม เร่งรัด การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่กีฬาและนันทนาการอําเภอ พบว่าทุกระดับชั้นอําเภอ มีผลการ ปฏิบัติงานอยู่ในระดับดี ระดับอําเภอชั้น 4 มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาได้แก่ ระดับอําเภอชั้น 2 ระดับอําเภอ ชั้น 1 และระดับอําเภอชั้น 3 ตามลําดับ

  3. สภาพปัญหาและข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาคุณภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่กีฬาและ นันทนาการอําเภอ ส่วนใหญ่ พบว่าสภาพปัญหา 1) การประสานงานไม่ทั่วถึงบุคลากรไม่เพียงพอกับ จํานวนประชากรในพื้นที่ที่รับผิดชอบ สําหรับข้อเสนอแนะควร จ้างเจ้าหน้าที่กีฬาและนันทนาการอําเภอเพิ่มขึ้น 2) ขาดผู้นําทางด้านการกีฬา สําหรับข้อเสนอแนะ ควรจัดฝึกอบรมบุคลากรด้านกีฬาเพิ่มขึ้น และ 3) เจ้าหน้าที่กีฬาและนันทนาการอําเภอถูกขอตัวไปช่วยงานสํานักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดบ่อย ครั้งทําให้ไม่สามารถวางแผนการปฏิบัติงานของตนเองได้ สําหรับข้อเสนอแนะ วางแผนในการปฏิบัติงานไว้ ล่วงหน้าเป็นไปในทิศทางเดียวและมีความประสานความร่วมมือให้สอดคล้องกัน

Article Details

How to Cite
Talingchat, P. (2011). ปัจจัยเชิงเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่กีฬาและนันทนาการอําเภอสํานักงานพัฒนาการดีฬาและนันทนาการ ของ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา พื้นที่ 5 จังหวัดภาคใต้ตอนกลาง. Academic Journal of Thailand National Sports University, 3(2), 149–166. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TNSUJournal/article/view/252678
Section
Research Articles

References

กรมการปกครอง. (2551). บันทึกนักปกครอง 2552. กรุงเทพ ฯ : บพิธการพิมพ์ จํากัด.

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2550). แผนปฏิบัติการกีฬาระยะ 5 ปี โครงการจัดทําแผนปฏิบัติ การกีฬาระยะ 5 ปี ตามแผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2550 - 2554).

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2551). มือดําเนินงานโครงการส่งเสริมการออกกําลังกายและกีฬาเพื่อสุขภาพระดับ จังหวัด ระยะที่ 2 พ.ศ. 2551.

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2551). ยุทธศาสตร์กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมชน สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สํานักงาน. (2551). กรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาภาค ฉบับสมบูรณ์, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สหมิตรพริ้งติ้ง ประกาศสํานักทะเบียนกลาง.

กรมการปกครอง. (2552). จํานวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานคร และจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร. สืบค้นเมื่อ 31 ธันวาคม 2552, จาก www. Dopa.go.th/stat/_stat.html

ประกาศสํานักงานพัฒนากีฬาและนันทนาการ. (2552). แจ้งการประเมินผลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่กีฬาและนันทนาการ ประจําปีงบประมาณ 2552 ณ วันที่ 27 ตุลาคม 2552 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่ง ฉบับที่ 10 พ.ศ. 2550 - 2554. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจํากัดวี.เจ.พริ้นติ้ง.

นิรันดร์ จุลทรัพย์. (2547). การวิจัยทางจิตวิทยาการแนะแนว. สงขลา : มหาวิทยาลัยทักษิณ.

สํานักงานสถิติแห่งชาติ. (2551). การสํารวจพฤติกรรมการออกกํากายของประชากร พ.ศ. 2550. กรุงเทพฯ : บริษัท ธนาเพรส จํากัด