A Model for Strategy Evaluation of the Institute of Physical Education with Balanced Scorecard

Main Article Content

Kraisit Manasrisuriyun

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ (1) เพื่อสร้างรูปแบบการประเมินยุทธศาสตร์สถาบัน การพลศึกษาโดยใช้ Balanced Scorecard และ (2) เพื่อพัฒนาตัวชี้วัดและเกณฑ์การประเมินยุทธศาสตร์ สถาบันการพลศึกษาในยุทธศาสตร์ 8 ด้าน


กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหาร อาจารย์ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับสถาบันการพลศึกษา จํานวน 93 คน แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ซึ่งได้จากการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง คือ กลุ่มที่ 1 คณะกรรมการสภาสถาบัน การพลศึกษาที่เป็นผู้กําหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ ได้แก่ อธิการบดี รองอธิการบดี และคณบดี จํานวน 12 คน กลุ่มที่ 2 คณะกรรมการวิทยาเขต และกลุ่มที่ 3 คณาจารย์และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง จํานวน 81 คน ขั้นตอนในการวิจัย ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ (1) ศึกษา วิเคราะห์และสังเคราะห์กรอบแนวความคิด ตัวชี้วัดและเกณฑ์การประเมินของ ยุทธศาสตร์โดยใช้ Balanced Scorecard ของ Robert Kaplan และ David Norton (2)สร้างรูปแบบการประเมินโดยใช้เทคนิคเดลฟาย วิเคราะห์ข้อมูล โดยค่าสถิติ มัธยฐาน ฐานนิยม พิสัยระหว่างควอไทล์ เพื่อพัฒนาตัวชี้วัดและกําหนดเกณฑ์การประเมิน โดยสอบถามความคิด เห็นผู้ทรงคุณวุฒิ (3)ตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของตัวชี้วัดและเกณฑ์การประเมินของ ความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ โดยพิจารณาจากค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC)


ผลการวิจัย พบว่า (1)รูปแบบการประเมินยุทธศาสตร์สถาบันการพลศึกษาโดยใช้ Balanced Scorecard แบ่งเป็น 2 รูปแบบ ดังนี้สําหรับวิทยาเขต 17 แห่ง ประกอบด้วย 4 มิติ 156 ตัวชี้วัด ดังนี้ มิติที่ (1) มิติด้านลูกค้าจํานวน 15 ตัวชี้วัด มิติที่ (2) ด้านกระบวนบริหารในองค์กรจํานวน 82 ตัวชี้วัด มิติที่ (3) มิติด้านการเรียนรู้และการเติบโตจํานวน 28 ตัวชี้วัดและมิติที่ (4) มิติด้านการเงิน จํานวน 31 ตัวชี้วัด สําหรับรูปแบบการประเมินยุทธศาสตร์สําหรับโรงเรียนกีฬา 11 แห่งประกอบด้วย 4 มิติ 85 ตัวชี้วัด ดังนี้ มิติที่ (1)มิติด้านลูกค้าจํานวน 13 ตัวชี้วัด มิติที่ (2) มิติด้านกระบวนการบริหารในองค์กร จํานวน 37 ตัวชี้วัด มิติที่ (3) มิติด้านการเรียนรู้และการเติบโตจํานวน 18 ตัวชี้วัด และมิติที่ (4) มิติด้าน การเงิน จํานวน 17 ตัวชี้วัด พบว่า ผู้ทรงคุณวุฒิมีความคิดเห็น เห็นด้วยมากที่สุด โดยรวมมีค่ามัธยฐาน (Median) เท่ากับ 4.00-5.00 ค่าฐานนิยม (Mode) เท่ากับ 4.00-5.00 ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ (Interquartile Range) เท่ากับ 0.00 - 0.50 และ (2) ตัวชี้วัดและเกณฑ์การประเมินที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ พบว่า มีความเหมาะสมมากที่สุด โดยมีค่า IOC ระหว่าง 0.80 - 1.00


สรุปได้ว่า รูปแบบการประเมินสถาบันการพลศึกษา โดใช้ Balance Scorecard ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเป็นรูปแบบที่มีความเหมาะสมมาก สามารถนำไปใช้ได้จริง

Article Details

How to Cite
Manasrisuriyun, K. (2022). A Model for Strategy Evaluation of the Institute of Physical Education with Balanced Scorecard. Academic Journal of Thailand National Sports University, 7(1), 39–52. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TNSUJournal/article/view/256411
Section
Research Articles

References

สถาบันการพลศึกษา. (2550). ยุทธศาสตร์สถาบันการพลศึกษา พ.ศ.2550-2555. กรุงเทพฯ, กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

Kaplan, Robert S. and Norton, David P. (1996). The Strategy and Decision Making. New York : South Western Company.

Macmillan, Thomas T.(1971). "The Delphi Technique.” Paper Presented at the Annual Meeting of the California Junior Colleges Associations Committee on Research and Development. Cal : Monterey, May 3-5.

Revinelli, R.J. and Hambleton, R.K. (1977). “On the Use of Content Specialists in The Assessment of Criterion Referenced Test Item Validity.” Dutch Journal of Educational Research, (2): 49-60.