การพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

Main Article Content

กัญชสา อิงคะวณิช

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมสุขภาพของ


ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 3) เพื่อประเมินประสิทธิผลของรูปแบบโครงการการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายมีตัวแปรแฝง 1 ตัว ได้แก่ พฤติกรรมสุขภาพตัวแปรที่สังเกตได้ ภายนอกจํานวน 6 ตัวแปร ได้แก่ ด้านบุคลิกภาพ ด้านเทคโนโลยี ด้านความเชื่อ ด้านการปฏิบัติ ด้านทัศนคติ ด้านความรู้ และมีตัวแปรที่สังเกตได้ภายใน จํานวน 24 ตัวแปรใช้ระเบียบวิธีการวิจัยและ พัฒนา (Research and Devlopment) ด้วยการวิจัยแบบผสมผสานวิธี (Mixed Methods Research) มี 3 ระยะ ระยะที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมสุขภาพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ตอนปลายระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบโครงการการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพองค์ประกอบด้านความรู้ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายระยะที่ 3 ประเมินประสิทธิผลของรูปแบบโครงการการพัฒนาพฤติกรรม สุขภาพองค์ประกอบด้านความรู้ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายมีการทดสอบก่อนและหลังการใช้ รูปแบบโครงการการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพที่พัฒนาขึ้นกับกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ตอนปลาย จํานวน 336 คน ได้มาจากการสุ่มแบบบุ๊คเลทเมทริกซ์ (Book Matrix Sampling) วิเคราะห์ ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์โมเดลเชิงสาเหตุ และตรวจ สอบความสอดคล้องระหว่างรูปแบบตามทฤษฎีกับข้อมูลเชิงประจักษ์ใช้โปรแกรมลิสเรล (Version 9.10) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ รูปแบบโครงการการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพองค์ประกอบด้านความรู้ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ประกอบด้วย คู่มือครู แบบทดสอบความรู้ คู่มือนักเรียน และแบบ ประเมินประสิทธิผลของรูปแบบโครงการการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ตอนปลาย


ผลการวิจัยพบว่า


  1. องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมสุขภาพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ได้แก่ องค์ ประกอบด้านบุคลิกภาพ องค์ประกอบด้านเทคโนโลยี องค์ประกอบด้านความเชื่อองค์ประกอบด้านการ ปฏิบัติ องค์ประกอบด้านทัศนคติ องค์ประกอบด้านความรู้

  2. ความตรงเชิงโครงสร้างจากการสํารวจองค์ประกอบด้วยค่าดัชนีความสอดคล้อง ดังนี้ riila-anas : x2 = 1593.57, agaimanallubas: : df = 149, p-value = 0.00000, RMSEA = 0.09, GFI = 0.90, AGFI = 0.81, CFI = 0.97, RMR = 1.12, SRMR = 0.05 bla: CN = 145.51

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.

ทิศนา แขมมณี. (2550), ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 6 กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). โมเดลลิสเรล : สถิติวิเคราะห์สําหรับการวิจัย, พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ลดาวัลย์ ประทีปชัยกูร. (2552). ภาวะสุขภาพและพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ.คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขานครินทร์,

สุภมาส อังศุโชติและคณะ. (2552). สถิติวิเคราะห์สําหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์: เทคนิคการใช้โปรแกรม LISREL. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.

สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. (2550). แนวทางการดําเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ. จังหวัดนครราชสีมา, นครราชสีมา : สมบูรณ์การพิมพ์,

สํานักมาตรฐานการศึกษา สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ (2551). ตัวชี้วัดสาระการเรียนสุขศึกษาและพลศึกษา, ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา ขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551.

John. & Jones, M.G. (1994). User interface design for web-based instruction. In Badrul, H. K. (Ed.), Web-based instruction. Englewood cliffs, NJ : Educational Technologies Publications.

Joseph F. Hair, Jr. ; William C. Black ; Barry J. Babin ; Rolph E. Anderson ; Ronald L. Tatham. (2006). Multivariate Data Analysis. 6th ed. Prentice Hall.

Richardson. (1997). Capitalism and Modern Social Theory: An Analysis of the Writings of Marx, Durkheim and Weber. Combridge: Combridge University Press.