การพัฒนาตัวแบบตัวบ่งชี้สมรรถนะด้านไอซีทีสําหรับผู้สอน ในสถาบันการพลศึกษาในประเทศไทย

Main Article Content

กนก อันถาวร
สุรศักดิ์ มังสิงห์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวแบบตัวบ่งชี้สมรรถนะด้านไอซีทีสําหรับผู้สอนใน สถาบันการพลศึกษาในประเทศไทยผู้วิจัยนําข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อหารายการสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของผู้ปฏิบัติงานสายผู้สอน และได้ผ่าน การพิจารณาความเหมาะสมและความจําเป็นจากผู้เชี่ยวชาญ ด้วยเทคนิคเดลฟายสามารถสร้างเป็นตัวแบบ รายการสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT Competency Model) ที่ยอมรับได้ว่า เป็นสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่จําเป็นสําหรับการทํางานของบุคลากรสายผู้สอน สถาบันการพลศึกษา ได้ตัวบ่งชี้จํานวน 32 ตัว สร้างองค์ประกอบด้วยวิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบ เชิงสํารวจ ได้ตัวบ่งชี้จํานวน 25 ตัว จากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่ 1 ทําให้ทราบว่า ทุกองค์ประกอบมีความถูกต้องเชิงประจักษ์ และวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่ 2 ซึ่ง องค์ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ มีค่าน้ําหนักองค์ประกอบที่มีนัยสําคัญทางสถิติ (P-value = 0.251) แสดงว่าทุกองค์ประกอบเป็นตัวแบบสมรรถนะด้านไอซีที่สําหรับผู้สอนในสถาบันการพลศึกษา โดย องค์ประกอบที่มีความสําคัญเรียงจากมากไปหาน้อยดังนี้คือ 1) สื่อการสอนด้านไอซีที (R = 93) 2) การ ศึกษาอิเล็กทรอนิคส์ (R =0.86) 3) เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (R = 0.79) 4) คุณลักษณะด้านไอซีที (R=0.75) และองค์ประกอบ ด้านจรรยาบรรณด้านไอซีที (R =0.70) ทุกองค์ประกอบมีสัมประสิทธิ์ การพยากรณ์ (R) ซึ่งสามารถอธิบายตัวแบบสมรรถนะด้านไอซีที่สําหรับผู้สอนในสถาบันการพลศึกษาได้ ทุกองค์ประกอบ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2555). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนสามัญบิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

พรรณี สวนเพลง. (2013). ยุทธศาสตร์เทคโนโลยีสารสนเทศ. กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์ซีเอ็ด.

ยุทธ ไกยวรรณ. (2556). การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างด้วย AMOS, กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2553). การวิจัยทางการบริหารการศึกษา: แนวคิดและกรณีศึกษา, ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.

สถาบันการพลศึกษา. (n.d.). แนะนําสถาบันการพลศึกษา, ชลบุรี: สืบค้นเมื่อ 11 กุมภาพันธ์, 2556, จาก http://www.ipe.ac.th

สํานักการประชาสัมพันธ์ต่างประเทศ. (2554), ประเทศไทยกับอาเซียน, กรุงเทพฯ Retrieved from http://www.prd.go.th/download/thai_asian.pdf

UNESCO. (n.d.). ICT Competency for teacher. UNESCO ICT Competency Framework for Teacher. Retrieved February 20. 2013. from http://www.unesco.org