ประสิทธิผลของการพัฒนาการบันทึกทางการพยาบาลแบบชี้เฉพาะต่อความสมบูรณ์ คุณภาพการบันทึกทางการพยาบาล ความรู้และความพึงพอใจของพยาบาลอายุรกรรม
คำสำคัญ:
การพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง, การบันทึกแบบชี้เฉพาะ, ความรู้, ความพึงพอใจ, ความสมบูรณ์, การพัฒนาคุณภาพระบบการดูแลต่อเนื่องในกลุ่มโรคสำคัญบทคัดย่อ
ความสำคัญของปัญหา: การบันทึกทางการพยาบาลเป็นการสื่อสารสำคัญที่บ่งบอกถึงสิ่งที่พยาบาลปฏิบัติต่อผู้รับบริการด้วยความรู้และทักษะทางวิชาชีพตามมาตรฐานและจริยธรรมแห่งวิชาชีพ
วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาการบันทึกทางการพยาบาลแบบชี้เฉพาะ และศึกษาประสิทธิผลของการบันทึกทางการพยาบาลแบบชี้เฉพาะต่อความสมบูรณ์ คุณภาพการบันทึกทางการพยาบาล ความรู้และความพึงพอใจของพยาบาลหอผู้ป่วยอายุรกรรม
วิธีดำเนินการวิจัย: เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง โดยใช้รูปแบบการบันทึกทางการพยาบาลแบบชี้เฉพาะในพยาบาลอายุรกรรม12 ราย และศึกษาจากเวชระเบียนผู้ป่วยใน 240 ราย กรอบแนวคิดการวิจัยคือ การปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่องของเดมมิ่ง ประกอบด้วย 1) การวางแผน 2) การปฏิบัติ 3) การตรวจสอบ และ 4) การดำเนินการ เก็บรวบรวมข้อมูลในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง โดยใช้แบบประมินความรู้ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น แบบสอบความความพึงพอใจของพยาบาล แบบประเมินความสมบูรณ์และคุณภาพบันทึกทางการพยาบล ใช้แบบประเมินของฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และ Dependent t-test กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ผลการศึกษา: ภายหลังเข้าร่วมโครงการ ผลการประเมินระดับคะแนนความสมบูรณ์และคะแนนคุณภาพบันทึกทางการพยาบาลพบว่าอยู่ที่ระดับสูง พยาบาลมีระดับคะแนนความความพึงพอใจต่อการบันทึกทางการพยาบาล อยู่ในระดับสูง และคะแนนความรู้สูงกว่าก่อนเข้าร่วมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p> 0.001) และจากการเปรียบเทียบระดับคะแนนความรู้พบว่า ระดับคะแนนความรู้ก่อนเข้าร่วมอยู่ในระดับควรปรับปรุง และหลังเข้าร่วมอยู่ในระดับดีมาก ตามลำดับ
สรุป: การพัฒนาบันทึกทางการพยาบาลรูปแบบชี้เฉพาะ ด้วยการนำกรอบแนวคิดการปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่องของเดมมิ่ง สามารถเพิ่มสมรรถนะการบันทึกทางการพยาบาลได้ ทั้งในด้านความสมบูรณ์ คุณภาพการบันทึกทางการพยาบาล ความรู้และความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพ
References
สภาการพยาบาล. ประกาศสภาการพยาบาล เรื่อง มาตรฐานการพยาบาล พ.ศ. 2562 [อินเตอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 1 เมษายน 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://www.tnmc.or.th/images/userfiles/files/T_0030.PDF.
เรณู พุกบุญมี. บันทึกทางการพยาบาล: จากหลุมพรางมายาคติสู่ความต้องการที่ท้าทายของวิชาชีพ. บันทึกทางการพยาบาล: สมรรถนะที่สาคัญของวิชาชีพ. สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี; 2553.
ยุวดี เกตสัมพันธ์. กระบวนการพยาบาลและบันทึกทางการพยาบาล. กรุงเทพฯ: คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล; 2551.
Thede, Q. L., & Sewell, P. J. Informatics and Nursing Competencies and Applications. 3rd. hiladelphia: Lippincott; 2010.
ยวุดี เกตสัมพันธ์. กระบวนการพยาบาลและบันทึกทางการพยาบาล. กรุงเทพฯ: คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล; 2551.
Hammomd WE. Patient records: yesterday, today and tomorrow. in: Nursing informatics; One step beyond, the evolution of technology and nursing; Apr 2000 Auckland, New Zealand: Adis International Ltd; 2000. pp. 3-10.
ยุวดี เกตสัมพันธ์. Focus Charting: แนวการบันทึกที่สะท้อน Patient Center [อินเตอร์เน็ต]. 2556 [เข้าถึงเมื่อ 20 เมษายน 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://www.slideserve.com /moke/focus-charting-patient-center.
วราภรณ์ ภัทรมงคลเขตต์. การพัฒนาการบันทึกทางการพยาบาลแบบชี้เฉพาะ แผนกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลแม่จัน จังหวัดเชียงราย. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา 2560; 18(1) 123-136.
ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ. ผลการประเมินระบบบันทึกทางการพยาบาล ประจำปี 2562. โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ; 2563.
Deming W. E. The New Economics: for Industry, government, education. Cambridge MA: Center for Advanced Educational Services : Massachusetts Institute of Technology; 2000.
Cochran WG. Sampling Techniques. UnitedStetes of America: John Wiley & Sons, Inc.; 1997.
สภาการพยาบาล. ประกาศสภาการพยาบาลเรื่องมาตรฐานการพยาบาล พ.ศ.2562 [อินเตอร์เน็ต]. สภาการพยาบาล;2562 [เข้าถึงเมื่อ 1 พฤษภาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://www.tnmc.
or.th/images/userfiles/files/T_0030.PDF.
พจนีย์ ธีระกุล และ กัญญดา ประจุศิลป์. ผลของการใช้แบบบันทึกทางการพยาบาลแบบ Focus charting ต่อคุณภาพการพยาบาลตามการรับรู้ของผู้ป่วย และความพึงพอใจในการใช้แบบบันทึกทางการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ. วารสารพยาบาลทหารบก 2560; 18:257-265.
ฐิติขวัญ นวมะชิติ. การพัฒนารูปแบบบันทึกทางการพยาบาลแบบปัญหาชี้เฉพาะ (Focus charting recordของกลุ่มงานศัลยกรรมกระดูกและข้อ โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบณัฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล] ขอนแก่น:มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2557.
วิทวดี สุวรรณศรวล, เพชรสุนีย์ ทั้งเจริญกุล และ บุญพิชชา จิตต์ภักดี. การพัฒนาคุณภาพการบันทึกทางการพยาบาลในโรงพยาบาลนครพิงค์์ จังหวัดเชียงใหม่. พยาบาลสาร 2559; 43(3):128-136.
มลิวัลย์ มูลมงคล, ศศิธร ศรีภูษณาพรรณ, ฉวี สิทธิวางค์กูล, ยุพิน ตันอนุชิตติกุล และ ปิยธิดา จุลละปีย. ผลการใช้การบันทึกทางการพยาบาลแบบ Focus Charting งานผู้ป่วยใน โรงพยาบาลลำปาง. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2560; 26(2):409-417.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสารโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.