ผลของโปรแกรมกระตุ้นการรับรสต่อปริมาณการบริโภคโซเดียมและ ระดับความดันโลหิตของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง
คำสำคัญ:
โปรแกรมกระตุ้นการรับรส, กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง, การลดโซเดียมบทคัดย่อ
ความสำคัญของปัญหา: โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension) ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ส่งผลให้เกิดความพิการและเสียชีวิต การป้องกันที่ดีที่สุด คือ การส่งเสริมให้ประชาชนมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมซึ่งการลดปริมาณการบริโภคโซเดียมเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยป้องกันการเกิดโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ได้
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมกระตุ้นการรับรสต่อปริมาณการบริโภคโซเดียมและระดับความดันโลหิตของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช
วิธีดำเนินการวิจัย: วิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง (quasi-experimental research, two group pretest-posttest designs) กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมกระตุ้นการรับรสเป็นเวลา 12 สัปดาห์ ได้แก่ สัปดาห์ที่ 1 เก็บข้อมูลทั่วไป ข้อมูลวิธีการปรุงอาหาร และการรับรู้ระดับความเค็ม สัปดาห์ที่ 2 ประเมินปริมาณการบริโภคโซเดียม วัดความดันโลหิต ให้ความรู้/ ฝึกทักษะการปรุงอาหารลดเค็ม และโปรแกรมกระตุ้นการรับรส สัปดาห์ที่ 3-10 การจัดการตนเองตามโปรแกรมกระตุ้นการรับรส และสัปดาห์ที่ 11-12 เก็บข้อมูลหลังการทดลอง กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามแนวทางปกติ ประกอบด้วยการรับทราบข้อมูล และเอกสารวิธีการปฏิบัติตัวลดเสี่ยงลดโรค
ผลการศึกษา: ผลการทดลองหลังครบ 12 สัปดาห์ พบว่ากลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยปริมาณโซเดียมลดลงจาก 2,984.38 (SD=515.63) เหลือ 1,718.75 (SD=309.46) มิลลิกรัมต่อวัน ค่าเฉลี่ยความดันโลหิต Systolic ลดลงจาก 130.87 (SD=15.46) เหลือ 118.69 (SD=14.29) มิลลิเมตรปรอท และค่าเฉลี่ยความดันโลหิต Diastolic ลดลงจาก 85.00 (SD=10.87) เหลือ 78.06 (SD=10.37) มิลลิเมตรปรอท อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม พบว่าค่าเฉลี่ยปริมาณโซเดียมและระดับความดันโลหิตของกลุ่มทดลองลดลงกว่ากลุ่มควบคุมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05)
สรุป: ผลการวิจัยนำมาใช้เป็นแนวปฏิบัติเพื่อให้กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงสามารถลดการบริโภค โซเดียม และส่งผลให้จำนวนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ลดลง
References
World Health Organization.Noncommunicable diseases country profiles 2018.
กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค สำนักโรคไม่ติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข. ข้อมูลโรคไม่ติดต่อ เรียกใช้เมื่อ 11 มีนาคม 2563 จากhttp://thaincd.com/2016/
mission/documentsdetail.php?id=13684&tid=32&gid=1-020.
Onsrinoi, N., Leelukkanaveera, Y., & Toonsiri, C. Predictive factors of hypertension preventive behaviors among people with per-hypertension. Songklanagarind Journal of Nursing, 2017;37:63-74.
รวีวรรณ สุรเศรณีวงศ์. สุขภาพช่องปากในผู้สูงอายุ. วารสารโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์, 2018;14:87-100.
Madiloggovit, J., Chotechuang, N., & Trachootham, D. Impact of self-tongue brushing on taste Perception Perception in Thai older adults: A pilot study. Geriatric Nursing, 2016;37:128-136.
Polit, D. F. Hungler. BP. Nursing research: Principles and methods (3rd ed.). Philadelphia, PA: Lippincott. 1987.
สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไป พ.ศ. 2562. (พิมพ์ครั้งที่ 1). 2562; เชียงใหม่: สํานักพิมพ์ทริคธิงค์.
พิเชษฐ์ หอสูติสิมา. ผลของโปรแกรมสุขศึกษาในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง กลุ่มเสี่ยงตำบลจระเข้หิน อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2560. The office of disease prevention and control 9th Nakhon Ratchasima Journal,2560;25: 56-66.
Khan, A. M., Ali, S., Jameela, R. V., Muhamood, M., & Haqh, M. F. (2019). Impact of fungiform papillae count on taste perception and different methods of taste assessment and their clinical applications: a comprehensive review. Sultan Qaboos University Medical Journal, 2019;19: e184.
Kanfer, F. H., & Gaelick-Buys, L. Self-management methods. In F. H. Kanfer & A. P. Goldstein (Eds.), Helping people change: A textbook of methods: Pergamon Press; 1991. pp. 305–360.
ชุษณา เมฆโหรา. โซเดียม การรับรสเค็มและการปรับลดปริมาณโซเดียมในผลิตภัณฑ์อาหาร. อาหาร. JFRPD. 2565; 52(1): 16-23.
Bandura, Albert. Fearful expectations and avoidant actions as coeffects of perceived self-inefficacy. 1986: 1389.
Provenzano F, Stark S, Steenkiste A, et al. Dietary Sodium Intake in Type 2 Diabetes. Clin Diabetes, 2014; 32(3), 106-112.
Vegter S, Perna A, Postma J, et al. Sodium intake, ACE inhibition, and progression to ESRD. J AM SOC NEPHROL, 2012; 23, 165-173.
Yu W, Luying S, Haiyan W, et al. Importance and benefits of dietary sodium restriction in the management of chronic kidney disease patients: Experience from a single Chinese center. INT UROL NEPHROL. 2012; 44(2), 549-556.
Trachootham, Dunyaporn, et al. Differences in taste perception and spicy preference: a Thai–Japanese cross-cultural study. Chemical senses 43.1; 2018: 65-74.
Sartori, Amanda Caroline, et al. educational intervention using WhatsApp on medication adherence in hypertension and diabetes patients: a randomized clinical trial. Telemedicine and e-Health, 2020, 26(12): 1526-1532.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.