ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับทักษะซอฟต์สกิลของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดฉะเชิงเทรา

ผู้แต่ง

  • พันธะกานต์ ยืนยง โรงพยาบาลบางคล้า
  • สุรเดช สำราญจิตต์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

ทักษะซอฟต์สกิล, ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล, ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง

บทคัดย่อ

บทนำภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลขององค์การ เจตคติ ความพึงพอใจรวมถึงความผูกพันต่อองค์การ และการพัฒนาบุคลากรในองค์การ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมุมมองหรือรูปแบบการปฏิบัติงาน สร้างแรงบันดาลใจ กระตุ้นให้เกิดการใช้ความคิดทักษะดังกล่าวมีลักษณะ หรือคุณสมบัติเฉพาะของผู้นำแต่ละบุคคล การสร้างอิทธิพลต่อการพัฒนาศักยภาพผู้ตาม ซึ่งจะสามารถพัฒนาเป็นลักษณะอุปนิสัย และความสามารถเชิงสมรรถนะส่งผลให้การปฏิบัติงาน และสื่อสารกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ

วัตถุประสงค์: ศึกษาระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง และทักษะซอฟต์สกิลของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับทักษะซอฟต์สกิลของ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดฉะเชิงเทรา

วิธีดำเนินการวิจัย: การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา ประชากร คือ สาธารณสุขอำเภอ ผู้ช่วยสาธารณสุขอำเภอ และผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 139 คน คำนวณกลุ่มตัวอย่างด้วยสูตรคำนวณของ Krejcie และ Morgan ได้กลุ่มตัวอย่าง 102 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามได้ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.99  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และ สถิติสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์ของเพียร์สันที่ระดับนัยสำคัญ 0.01

ผลการศึกษา: ความคิดเห็นเกี่ยวกับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง โดยภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมาก ในขณะที่ ทักษะด้านซอฟต์สกิล ทักษะอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 4.44, SD = 0.47) และภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงมีความสัมพันธ์ทางบวกกับทักษะซอฟต์สกิล อยู่ในระดับสูงมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01, r = 0.896 และรายด้าน พบว่า มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน อยู่ในระดับสูงมากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ได้แก่  ด้านการคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล  r = 0.860  ด้านการกระตุ้นทางปัญญา r = 0.851 และการสร้างแรงบันดาลใจ r = 0.842

สรุป:    ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงภาพรวมและรายด้านมีความสัมพันธ์กับทักษะซอฟต์สกิลในระดับสูง ทำให้สามารถนำไปวางแผนบริหาร และเป็นพื้นฐานข้อมูลสำหรับการพัฒนาผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในการบริหารจัดการ และนำแนวทางการปฏิบัติ ทั้งความรู้ ทักษะและประสบการณ์ที่พร้อมถ่ายทอดสู่ผู้ตาม

References

พระครูวินัยธรสุวรรณ สุวรรณโณ (เรืองเดช).ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงยุคใหม่.วารสาร การบริหารการศึกษา มมร. วิทยาเขตร้อยเอ็ด 2565; 2(2):42-52.

พระปลัดชัยรัตน์ ปิยสีโล (เกตุสุวรรณ์).ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงยุควิถีชีวิตใหม่ของผู้บริหารสถานศึกษา.วารสารพุทธอาเซียนศึกษา 2565;7(1):37-52.

สุขมิตร กอมณี.การพัฒนาศักยภาพกำลังคนด้านซอฟต์สกิล.วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2563;33(1):117-145.

ภารดี ชาวนรินทร์,สมฤดี กีรติวนิชเสถียร,มยุรี กมลบุตร และปราชญา ศุภฤกษ์โยธิน.ซอล์ฟสกิล : ทักษะที่จำเป็นสำหรับวิชาชีพพยาบาล.วารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ 2565;9(1):1-17.

เสถียร ปวงสุข และนิพนธ์ มานะสถิตพงศ์. สมรรถนะด้านการบริหารของผู้ อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัด อุบลราชธานี. วารสารวิจัย และพัฒนาระบบสุขภาพ2564;14(2):57-70.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดฉะเชิงเทรา.สถานพยาบาลในจังหวัดฉะเชิงเทรา[อินเทอร์เน็ต].2566 [เข้าถึงเมื่อ 12 สิงหาคม 2566].เข้าถึงได้จาก http://www.cco. Moph.go.th/cco24/hospital. html.

Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. “Determining Sample Size for Research Activities”.EPM 1970;30(3):607 – 610.

Bass BM, Avolio BJ. Developing transformational leadership: and beyond. EJTD. 1990;14(5).

สรวงพร กุศลส่ง. การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมด้วย กระบวนการ CCPR เพื่อเสริมสร้างทักษะ SOFT SKILL สำหรับนักศึกษาครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2565; 45(3): 1-18.

สาวิตรี เลิศตระกูล. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับ สมรรถนะการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดสุราษฎร์ธานี. [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต] นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2560

จุฑามาศ เผื่อแผ่, สุชาดา นันทะไชย, และสุดารัตน์ สารสว่าง. ความสัมพันธ์ ระหว่างทักษะภาวะผู้นำด้านซอฟท์สกิล กับประสิทธิภาพการตัดสินใจของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร.วารสาร. มจร. อุบล ปริทรรศน์ 2565;7(2):513-524.

Burns JM. Transformational leadership theory. New York: Harper & Row; 1978

บุญชัย ธีระกาญจน์.ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง และธรรมาภิบาลที่ส่งผลต่อประสิทธิผล ของสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ: กรณีศึกษา เขตสุขภาพที่ 3. วารสารระบบวิจัยสาธารณสุข 2559;10(1):80–91.

วรนุช วงค์เจริญ, ปราณี มีหาญพงษ์ และจันทร์จิรา วงษ์ขมทอง.ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง และการปฏิบัติของหัวหน้าหอผู้ป่วย กับความผูกพันในงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลชุมชน. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2561; 26(3):23-31.

ไชยพัทธ์ ภูริชัยวรนันท์, ช่อทิพย์ บรมธนรัตน์ และวรางคณา จันทรคง. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ กับการบริหารงานสาธารณสุข ของสาธารณสุขอำเภอในจังหวัดกาญจนบุรี. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน 2562;5(04):50-50.

สุรพงษ์ ลักษวุธ.ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการดำเนินงานคณะ กรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) จังหวัดบึงกาฬ.วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ2564;14(3):192-206.

Tamsah H, Ilyas GB, Nurung J, Jusuf E, Rahmi S. Soft skill competency and employees’ capacity as the intervening factors between training effectiveness and health workers’ performance. Cogent Business & Management. 2023;10(1):2199493.

สฤษณ์พลชัย บัวจันทร์, และชนะพล ศรีฤาชา. สุนทรีทักษะภาวะผู้นำที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของบุคลากร โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดขอนแก่น.วารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น 2559;23(3):77-85.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-11