การศึกษาผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่รับการรักษาในห้องแยกโรคและความดันลบ: โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ

ผู้แต่ง

  • ลดาวัลย์ ฤทธิ์กล้า โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโควิด-19, ผลลัพธ์การดูแล, ห้องแยกโรคและความดันลบ

บทคัดย่อ

บทนำ: ผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโควิด-19 อาจมีความรุนแรงสูง หากไม่ได้รับการดูแลรักษาที่เหมาะสม อาจทำให้อาการรุนแรงและเสียชีวิตได้

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่รับการรักษาในห้องแยกโรคและความดันลบ

วิธีดำเนินการวิจัย: เป็นการศึกษาย้อนหลังจากเวชระเบียนตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ.2564- กุมภาพันธ์ พ.ศ.2566 คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์คัดเข้าได้ 1,294 ราย เครื่องมือผู้วิจัยพัฒนาจากการทบทวนวรรณกรรม 1) แบบบันทึกข้อมูลการวินิจฉัยโรค การรักษาและการพยาบาล 2) แบบบันทึกผลลัพธ์การดูแล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา

ผลการศึกษา 1) กลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย 67.21 ± 19.22 ปี มีโรคประจำตัว ร้อยละ 92.27 โรคที่พบได้แก่ ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูงผิดปกติ เบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคไต
อาการสำคัญที่มาโรงพยาบาล ได้แก่ ไอ มีไข้ หอบเหนื่อย มีเสมหะ และอ่อนเพลียผู้ป่วยร้อยละ 55.3 ยังไม่เคยได้รับวัคซีน 2) การวินิจฉัย รักษาและการพยาบาล พบว่า ส่วนใหญ่มีค่า Ct อยู่ระหว่าง 0-30 ค่า CRP>10 ค่า D-Dimer >550 ส่วนใหญ่ได้ยาต้านไวรัส ได้แก่ ฟาวิพิราเวียร์    ร้อยละ 57.21 เรมดิซิเวียร์ ร้อยละ 24.43 และ โมลนูพิราเวียร์ ร้อยละ 18.20 ได้ยาสเตียรอยด์ ร้อยละ 69.71 ยาต้านการแข็งตัวของเลือด   ร้อยละ 41.42 และต้องได้รับออกซิเจน ร้อยละ 69.32 ด้านการพยาบาล พบว่า ผู้ป่วยทุกรายได้รับการประเมินแรกรับ การวินิจฉัยการวางแผน การปฏิบัติการพยาบาล ประเมินผล และติดตามความเสี่ยง และร้อยละ 99.42 ได้รับการวางแผนการจำหน่าย  3) ผลลัพธ์การดูแล พบว่า ระยะเวลาที่นอนโรงพยาบาล มักอยู่ในช่วง 6-10 วัน ค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่อยู่ในช่วง 10,001-30,000 บาท ภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ คือ ปอดอักเสบ ร้อยละ 0.93 การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะที่สัมพันธ์กับการคาสายสวน ร้อยละ 0.70 ภาวะแทรกซ้อนที่สัมพันธ์กับการพยาบาล ได้แก่ แผลกดทับ ร้อยละ 0.85 ผิวหนังอักเสบจากการควบคุมการขับถ่ายไม่ได้ ร้อยละ 0.39 หลอดเลือดดำอักเสบจากการได้ยา ร้อยละ 0.31 ความคลาดเคลื่อนในการบริหารยา ร้อยละ 0.15 ส่วนใหญ่จำหน่ายกลับบ้าน ร้อยละ 42.97

สรุป: การดูแลรักษาผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในห้องแยกโรคและความดันลบ ที่มีการบริหารจัดการที่ดี และความร่วมมือกับทุกฝ่ายทำให้เกิดผลลัพธ์การดูแลที่ดี

References

World Health Organization. Coronavirus disease (COVID-19) 2020 [cited 2022 June 14]. Available from: https://www.who.int/emergencies/diseases/novel-coronavirus-2019.

ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงมหาดไทย. สถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. [เข้าถึง 14 มิถุนายน 2565]. Available from: https://www.moicovid.com/.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่ออันตราย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2563. [เข้าถึง 14 มิถุนายน 2565]. Available from: https://ddc.moph.go.th/uploads/files/10020200514102630.PDF.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(Covid-19): สถานการณ์ในประเทศไทย 2563. [เข้าถึง 20 มิถุนายน 2565]. Available from: https://ddc.moph.go.th/ viralpneumonia/situation.php.

Centers for Diseases Control and Prevention. Basics of COVID-19. 2021 [cited 2021 Mar 14]. Available from: https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/your-health/about-covid-19/basics-covid-19.html.

World Health Organization. Coronavirus disease (COVID-19) questions and answers (general) 2021 [cited 2022 June 14]. Available from: https://www.who.int/thailand/emergencies/novel-coronavirus-2019/q-a-on-covid-19/q-a-on-covid-19-general.

International Health Facility Guidelines. Isolation Rooms 2017 [cited 2022 may 16]. Available from: https://healthfacilityguidelines.com/ViewPDF/ViewIndexPDF/iHFG_part_d_isolation_rooms.

กรมการแพทย์, กรมควบคุมโรค, กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ, สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย, เครือข่ายโรงพยาบาลกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (UHosNet). แนวทางการจัดตั้งหอผู้ป่วยรวม (cohort ward) ห้องแยกโรค (isolation room) และโรงพยาบาลสนาม (field hospital) เพื่อรองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. [เข้าถึง 14 มิถุนายน 2565]. Available from: https://dmsic.moph.go.th/index/detail/8499

ไพฑูรย์ ชมจันทร์. การศึกษาผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยติดเชื้อโควิด 19 ในโรงพยาบาลท่าช้าง. วารสารโรงพยาบาลสิงห์บุรี. 2565;31(1):14-26.

ธัญพร จรุงจิตร. ประสิทธิผลของการพยาบาลผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในระบบ Home Isolation โรงพยาบาลวังเจ้า จังหวัดตาก โรงพยาบาลวังเจ้า จังหวัดตาก 2565. [เข้าถึง 10 มีนาคม 2566]. Available from :http://www.tako.moph.go.th/librarybook/web/files/87b665321a99338968db1edca19a3910.pdf.

Ali MAO, Abdalrahman NA, Shanab EAI, Mohammed MMA, Ibrahim MM, Abdalrahman IB. The outcome of COVID-19 patients in the intensive care unit in Sudan: A cross-sectional study. Health Sci Rep. 2023;6(3): 1161.

Becker RC. COVID-19 update: Covid-19-associated coagulopathy. J. Thromb. Thrombolysis. 2020;50(1):54-67.

Flumignan RLG, Civile VT, Tinôco JD, Pascoal PIF, Areias LL, Matar CF, et al. Anticoagulants for people hospitalised with COVID‐19. Cochrane Database Syst Rev. 2022,4;3(3).1-215

Grasselli G, Scaravilli V, Mangioni D, Scudeller L, Alagna L, Bartoletti M, et al. Hospital-Acquired Infections in Critically Ill Patients With COVID-19. Chest. 2021;160(2):454-65.

Amy HA, Rachel GS, Adarsh B, Michelle B, Umur H. Severe covid-19 pneumonia: pathogenesis and clinical management. BMJ. 2021; 372:436.

Henkel M, Weikert T, Marston K, Schwab N, Sommer G, Haslbauer J, et al. Lethal COVID-19: Radiologic-Pathologic Correlation of the Lungs. Radiol Cardiothorac Imaging. 2020;2(6):1-11.

Garcell HG, Al-Ajmi J, Arias AV, Abraham JC, Garmendia AMF, Hernandez TMF. Catheter-associated urinary tract infection and urinary catheter utilization ratio over 9 years, and the impact of the COVID-19 pandemic on the incidence of infection in medical and surgical wards in a single facility in Western Qatar. Qatar Med J. 2023;2023(1):14.

McEvoy NL, Friel O, Clarke J, Browne E, Geoghegan P, Budri A, et al. Pressure ulcers in patients with COVID-19 acute respiratory distress syndrome undergoing prone positioning in the intensive care unit: A pre- and post-intervention study. Nurs Crit Care. 2023;28(6):1115-23.

Gray M, Beeckman D, Bliss DZ, Fader M, Logan S, Junkin J, et al. Incontinence-Associated Dermatitis: A Comprehensive Review and Update. J Wound Ostomy Continence Nurs. 2012;39(1):61-74

Papadopoulou A, Musa H, Sivaganesan M, McCoy D, Deloukas P, Marouli E. COVID-19 susceptibility variants associate with blood clots, thrombophlebitis and circulatory diseases. PLoS One. 2021;16(9):0256988.

Macías Maroto M, Garzón González G, Navarro Royo C, Navea Martín A, Díaz Redondo A, Santiago Saez A, et al. [Impact of the COVID-19 pandemic on patient safety incident and medication error reporting systems]. J Healthc Qual Res. 2022;37(6):397-407.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-11