ผลของการพัฒนา Raman PPH Model ต่อประสิทธิผลการป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอด โรงพยาบาลรามัน

ผู้แต่ง

  • รานีย์ ยุมิง หน่วยงานสูติกรรม โรงพยาบาลรามัน
  • นิยา สือนิ หน่วยงานสูติกรรม โรงพยาบาลรามัน
  • รอมือล๊ะ เจ๊ะแว หน่วยงานสูติกรรม โรงพยาบาลรามัน
  • นลินา วารี หน่วยงานสูติกรรม โรงพยาบาลรามัน

คำสำคัญ:

ตกเลือดหลังคลอด, Raman PPH Model, ป้องกันตกเลือดหลังคลอด

บทคัดย่อ

บทนำ: จากการวิเคราะห์ข้อมูลอันดับโรคสำคัญในงานห้องคลอดโรงพยาบาลรามัน พบว่า ภาวะตกเลือดหลังคลอดเป็นปัญหาสำคัญที่ยังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น  ซึ่งในแต่ละปีมีจำนวนมารดาคลอดต่อปีงบประมาณ 2562-2565 พบอัตรามารดาตกเลือดหลังคลอด 2.08  2.04  0.84  และ 1.54 ตามลำดับ    

วัตถุประสงค์การวิจัย: การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนาเพื่อศึกษาสถานการณ์ภาวะตกเลือดหลังคลอด ภาวะช็อคและอัตราการเสียชีวิตจากมารดาที่ตกเลือดหลังคลอด  สร้างและพัฒนารูปแบบการพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอด  และเพื่อศึกษาผลของการพัฒนารูปแบบการพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอด ก่อนและหลังการใช้ “Raman PPH Model”

กิจกรรมการพัฒนา: ดำเนินการวิจัยตั้งแต่เดือน 1 กันยายน พ.ศ.2561 ถึง 31 พฤษภาคม พ.ศ.2566  โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ได้แก่ 1) พยาบาลวิชาชีพ จำนวน 12 คน 2) หญิงตั้งครรภ์ที่คลอดในโรงพยาบาลรามัน เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนารูปแบบการพยาบาล “Raman PPH Model” ประกอบด้วย 1) แนวทางในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอด 2) มีการใช้แบบประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอดตามมาตรฐานของกรมการแพทย์ 3) นวัตกรรมในการป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอด เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1) แบบบันทึกข้อมูลสภาวการณ์มารดาที่มีภาวะตกเลือดหลังคลอด 2) แบบประเมินการปฏิบัติการใช้ Raman PPH Model ของพยาบาลวิชาชีพเป็นแบบตรวจสอบรายข้อ

ผลการศึกษา: แนวทาง Raman PPH Model ช่วยให้การประเมินและวินิจฉัยความเสี่ยงต่อภาวะตกเลือดหลังคลอดครอบคลุมและรวดเร็วยิ่งขึ้น จากการดำเนินงานตามแนวทาง Raman PPH Model พบว่า อัตราการปฏิบัติตามแนวทางเพื่อป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอดเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 95 อัตราการตกเลือดหลังคลอดลดลง คิดเป็นร้อยละ 0.77 และพบการเกิดภาวะช็อคจากภาวะตกเลือดหลังคลอด 0.24 

สรุป: แนวทาง “Raman PPH Model” สามารถป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอดได้ โดยต้องปฏิบัติตามแนวทางตั้งแต่ระยะฝากครรภ์ ระยะรอคลอด ระยะคลอด และระยะหลังคลอด

References

World Health Organization, UNICEF.Trends in maternal mortality: 1992 to 2015:estimates by WHO, UNICEF, UNFPA. The World Bank and the United Nations Population Division.[Internet]. 2015 [cited 2022 august 10] Available from: https://apps.who.int/iris/bitstream/handle/10665/112682/9789241507226.

นิลวรรณ อุ่นคำ. การพยาบาลมารดาที่มีภาวะตกเลือดระยะหลังคลอดและภาวะช็อค.โรงพยาบาลกาฬสินธุ์:กรณีศึกษา. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชมุชน.2565; 7(3):196-205.

ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติ เรื่อง การป้องกันและรักษาภาวะตกเลือดหลังคลอด.[อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 9 มีนาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก:http://www.rtcog.or.th/home/wp-Content/uploads/2020/09/OB-63-020-Prevention-and-Management-of-PostpartumHemorrhage.pdf.

พิกุล บัณฑิตพานิชชา. การพัฒนาระบบการพยาบาลในการป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอด. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์. 2560; 32(2):131-144.

พิรุฬห์ สิทธิพล. การพยาบาลผู้คลอดที่มีภาวะช็อกจากการตกเลือดหลังคลอด: กรณีศึกษา. วารสารสำนักงานสาธารณสุข จังหวัดมหาสารคม. 2063; 4(8): 277- 292.

วรรณภา ปราบพาล, โสมภัทร สรไชย. การพัฒนากระบวนการคัดกรองความเสี่ยงต่อภาวะตกเลือดหลังคลอด โรงพยาบาลบึงโขงหลง. วารสารการพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 2556: 24(1): 56-66.

พิมลพันธ์ เจริญศรี, วาสนา สารการ, บาลิยา ไชยรา. การพัฒนารูปแบบการพยาบาลหญิงตั้งครรภ์เพื่อป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอดระยะแรกในโรงพยาบาลสรรพสิทธิ. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 2560; 35(3): 48-57.

สุนันทา เอ๊าเจริญ. ประสิทธิผลการป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอดตามแนวทางสามพรานโมเดลโรงพยาบาลสามพราน จังหวัดนครปฐม. วารสารศิลปะการจัดการ. 2562; 2(3):125 – 14.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-11