การศึกษาความคลาดเคลื่อนของการสรุปคำการวินิจฉัยโรคของผู้ป่วยใน สาขาอายุรกรรมของโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ

ผู้แต่ง

  • นงนุช นอกพุดซา หน่วยงานเวชสารสนเทศ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ

คำสำคัญ:

ความคลาดเคลื่อน, การสรุปการวินิจฉัยโรคและหัตถการ, อายุรกรรม, เงินชดเชยค่าบริการทางการแพทย์

บทคัดย่อ

บทนำ: การสรุปคำการวินิจฉัยโรคของผู้ป่วยในสาขาอายุรกรรม มีการสรุปคำวินิจฉัยที่ยังไม่ครบถ้วน ไม่ละเอียดและไม่ตรงกับความเป็นจริง ส่งผลกระทบต่อการเบิกค่ารักษาพยาบาลทำให้โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติสูญเสียรายได้อย่างมาก

วัตถุประสงค์: 1. เพื่อศึกษาความคลาดเคลื่อนของการสรุปคำการวินิจฉัยโรคจากเอกสารใบบันทึกสรุปการจำหน่าย (In-Patient Summary) ของสาขาอายุรกรรมของโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ฯ  2. เพื่อเปรียบเทียบผลต่างการปรับค่าน้ำหนักสัมพัทธ์ (Adjust Relative Weight, AdjRW) และค่ารักษาพยาบาลก่อนและหลังการตรวจพบความคลาดเคลื่อนในการสรุปคำวินิจฉัยโรคและหัตถการจากเอกสารใบบันทึกสรุปการจำหน่าย (In-Patient Summary)

วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างคือ เวชระเบียนผู้ป่วยในสาขาอายุรกรรมที่จำหน่ายตั้งแต่เดือนมกราคม-มิถุนายน พ.ศ.2564 ที่มีสิทธิการรักษาเฉพาะ สิทธิต้นสังกัดกรมบัญชีกลางและสิทธิข้าราชการ กรุงเทพมหานคร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประกันสุขภาพถ้วนหน้า และประกันสังคมเท่านั้น ทั้งหมดจำนวน 1,184 ฉบับ และใช้หลักเกณฑ์ประเมินการสรุปคำวินิจฉัยโรคและหัตถการของแพทย์ summary assessment (SA) version 2018 ศึกษาผลการสรุปการวินิจฉัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ และทำการเปรียบเทียบผลต่าง AdjRW ค่ารักษาพยาบาลด้วยผลต่าง  

ผลการศึกษา: จากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 1,184 ฉบับ พบว่า มีความคลาดเคลื่อน จำนวน 455 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 38.43 นำข้อมูลมาตรวจสอบความคลาดเคลื่อนส่งผลทำให้ AdjRW เพิ่มขึ้น 1465.4207 เป็นจำนวนเงินเพิ่มขึ้น 17,066,879 บาท คิดเป็นร้อยละ 58.68 ของสิทธิต้นสังกัดกรมบัญชีกลางที่มีความคลาดเคลื่อนมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 42.86 ของการสรุปคำวินิจฉัยโรคร่วม โรคแทรกซ้อนที่ผิดพลาดของการสรุปโรคและหัตถการ (SA)

สรุป: การสรุปคำการวินิจฉัยโรคต้องมีความถูกต้อง ครบถ้วนตรงตามความเป็นจริง มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อโรงพยาบาล ทำให้โรงพยาบาลได้รับเงินชดเชยค่าบริการทางการแพทย์มากยิ่งขึ้นและ เต็มจำนวน

References

อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์.บทความเหมาจ่ายรายหัวและ DRG คือการบังคับซื้อในราคาถูกกว่าต้นทุน เผยแพร่: 18 ตุลาคม 2560.เข้าถึงได้จาก https://mgronline.com/daily/detail/9600000103766

แนวทางปฏิบัติในการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2564. เข้าถึงได้จาก http://www.pknhospital.com/2019/data/pragun/64/P5.pdf

ประมุข มุทิรางกูร. การประเมินความถูกต้องการสรุปการวินิจฉัยโรคและหัตถการของแพทย์ Summay assessment (SA) version 2018. ใน: กฤติยา ศรีประเสริฐ, บรรณาธิการ. คู่มือแนวทางปฏิบัติในการตรวจสอบเอกสารหลักฐานการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขของหน่อยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าปี 2562. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: บริษัท สหมิตรพรินติง แอนด์ พับลิสซิ่ง จำากัด; 2561.357

ต้นทุนบริการผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตของโรงพยาบาลภายใต้โครงการพัฒนาข้อเสนอ UCEP ด้านการเงินการคลัง วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, ปีที่ 16 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม-กันยายน 2564. เข้าถึงได้จากhttps://kb.hsri.or.th/dspace/bitstream/handle/11228/5415/hsri-journal-v15n3-p370-380.pdf?sequence=1&isAllowed=y

กมลวรรณ วงษ์ฝุง, วสุนันท์มโนคติธรรม การศึกษาแนวทางปฏิบัติและผลลัพธ์ในการขอรับ ค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขตามสิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้าของโรงพยาบาลศูนย์และ โรงพยาบาลทั่วไปในเขตสุขภาพที่ 4 กระทรวงสาธารณสุข (ปริญญานิพนธ์สาธารณสุขศาสตร์บัญฑิต). สาขาวิชาเวชระเบียน, บัณฑิตวิทยาลัย,นนทบุรี: วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุขกาญจนาภิเษก; 2560: 117-118.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-11