ผลของการฟื้นฟูทางไกลด้วยวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ต่อความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

ผู้แต่ง

  • นูรูลฮูดา มะดีเยาะ มะดีเยาะ หน่วยงานกายภาพบำบัด โรงพยาบาลรามัน
  • หัสมะ มะสากา หน่วยงานกายภาพบำบัด โรงพยาบาลรามัน

คำสำคัญ:

การฟื้นฟูทางไกล, วิดีโอคอนเฟอเรนซ์, ความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน, โรคหลอดเลือดสมอง

บทคัดย่อ

บทนำ: โรคหลอดเลือดสมองเป็นโรคที่ทำให้ผู้ป่วยมีปัญหาด้านการเคลื่อนไหว ส่งผลต่อการทำกิจวัตรประจำวัน ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูภายใน 6 เดือนหลังเกิดโรค แต่ด้วยสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19  หน่วยงานกายภาพบำบัด โรงพยาบาลรามัน ได้ปิดให้บริการผู้ป่วยจึงขาดโอกาสในการฟื้นฟู อาจทำให้เกิดความพิการในอนาคต จึงนำวิธีการฟื้นฟูด้วยวิดิโอคอนเฟอเรนซ์มาใช้ เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ไกล้เคียงปกติมากที่สุด

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของการฟื้นฟูทางไกลด้วยวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ต่อความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

วิธีการศึกษา: ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มควบคุม ผู้วิจัยจะโทรศัพท์เพื่อติดตามอาการและให้คำแนะนำ ครั้งละ 10 นาที 1 ครั้ง/สัปดาห์ 8 สัปดาห์ และกลุ่มฟื้นฟูทางไกลด้วยวิดิโอคอนเฟอเรนซ์ จะได้รับการฟื้นฟูกับนักกายภาพบำบัด ครั้งละ 45 นาที 1 ครั้ง/สัปดาห์ 8 สัปดาห์ โดยทั้งสองกลุ่มได้รับการประเมินความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันด้วยแบบประเมิน Modified Bathel index (BI) ก่อนการฟื้นฟู หลังฟื้นฟูสัปดาห์ที่ 4 และ 8

ผลการศึกษา: หลังฟื้นฟูครบ 8 สัปดาห์ พบว่า กลุ่มฟื้นฟูทางไกลด้วยวิดิโอคอนเฟอเรนซ์มีคะแนน BI เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนค่าความแตกต่างของคะแนน BI ระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มฟื้นฟูทางไกลด้วยวิดิโอคอนเฟอเรนซ์มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่สัปดาห์ที่ 4 และ 8

สรุป: การฟื้นฟูทางไกลด้วยวิดิโอคอนเฟอเรนซ์ทำให้ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมีความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันดีขึ้น

References

ยงชัย นิละนนท์. ตีบ ตัน แตก อันตรายจากโรคหลอดเลือดสมอง [อินเทอร์เน็ต]. ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล; 2561. [เข้าถึงเมื่อ 25 มิถุนายน 2564]. เข้าถึงได้จาก https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail

งานวิจัยโรคหลอดเลือดสมองในประเทศไทย.สถานการณ์โรคหลอดเลือดสมอง [อินเทอร์เน็ต]. สมาคมโรคหลอดเลือดสมองไทย; 2562 [เข้าถึงเมื่อ 25 มิถุนายน 2564]. เข้าถึงได้จาก https://thaistrokesociety.org

Lee KB, Lim SH, Kim KH, Kim KJ, Kim YR, et al. Six-month functional recovery of stroke patients: a multi-time-point study. Int J Rehabil [internet]; 2015 [cited 2020 Jun 30]; 38(2):173-80. Available from: https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/25603539/

TRIPLEINNOVATIONS. ระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ (VIDEO CONFERENCE) [อินเทอร์เน็ต]. 2564. [เข้าถึงเมื่อ 26 มิถุนายน 2564]. เข้าถึงได้จาก https://www.liveforsound.com/video-conference-system/

Tchero H, Tabue Teguo M, Lannuzel A, Rusch E. Telerehabilitation for Stroke Survivors: Systematic Review and Meta-Analysis. J Med Internet Res [internet]. 2018 [cited 2020 Feb 31]; 20(10):e10867. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6250558/

Appleby E, Gill ST, Hayes LK, Walker TL, Walsh M, et al. Effectiveness of telerehabilitation in the management of adults with stroke: A systematic review. PLOS ONE [internet]. 2019 [cited 2020 March 19]; 14(11). Available from: https://pubmed.ncbi.

nlm.nih.gov/31714924/

Dos Reis NF, Figueiredo FCXS, Biscaro RRM, Lunardelli EB, Maurici R. Psychometric Properties of the Barthel Index Used at Intensive Care Unit Discharge. Am J Crit Care [internet]. 2022 [cited 2022 Jun 30]; 31(1):65-72. Available from: https://pubmed.ncbi.

nlm.nih.gov/34972844/

Cohen, J. Statistical Power Analysis for the Behavioral Sciences (2nd ed.). Routledge [internet]. 1988 [cited 2022 Jan 18] Available from: https://doi.org /10.4324/9780203771587

Dajpratham P, Meenaphant R, Junthon P, Pianmanakij S, Jantharakasamjit S, Yuwan A. The inter-rater reliability of Barthel Index (Thai version) in stroke patients. J Thai Rehabil [internet]. 2006 [cited 2022 Jun 30]; 16(1): 1-9. Available from: https://www.rehabmed.or.

th/main/wp-content/uploads/2015/01/L-218.pdf

โฉมพิไล นันทรักษา, เสมอเดือน คามวัลย์, พจีมาศ กิตติปัญญางาม, ภัทรา วัฒนพันธุ์. การให้บริการฟื้นฟูทางไกลสำหรับผู้ป่วยกลืนลำบาก. ศรีนครินทร์เวชสาร [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 19 มีนาคม 2565]; 37(2): 112-6. เข้าถึงได้จากhttps://thaidj.org/index.php/smnj/article/view/11961

Sarfo FS, Ulasavets U, Opare-Sem OK, Ovbiagele B. Tele-Rehabilitation after Stroke: An Updated Systematic Review of the Literature. J Stroke Cerebrovasc Dis [internet]. 2018 [cited 2020 April 22]; 27(9):2306-2318. Available from: https:// pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/29880211/

Benvenuti F, Stuart M, Cappena V, Gabella S, Corsi S ,et al. Community-based exercise for upper limb paresis: a controlled trial with telerehabilitation. Neurorehabil Neural Repair [internet]. 2014 [cited 2020 April 20]; 28(7): 611-20. Available from: https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/24515928/

จรัชยา นันต๊ะ, สุพิชชา พุ่มเมือง, อภิชญา ศรีวิชัย, โอฬาร อิสริยะพันธุ์. ผลของการฟื้นฟูทางไกลต่อความสามารถในการทำงานของรยางค์ส่วนบนสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเรื้อรัง. [อินเทอร์เน็ต]. คณะสหเวชศาตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2565. [เข้าถึงเมื่อ 19 มีนาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5137

Laver KE, Adey-Wakeling Z, Crotty M, Lannin NA, George S, Sherrington C. Telerehabilitation services for stroke. Cochrane Database Syst Rev [internet]. [cited 2020 Jan 31]; 1(1):CD010255. Available from: https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/32002991/

Cramer SC, Dodakian L, Le V, See J, Augsburger R, McKenzie A, el al. Efficacy of Home-Based Telerehabilitation vs In-Clinic Therapy for Adults After Stroke: A Randomized Clinical Trial. JAMA Neurol [internet]. 2019 [cited 2020 April 20]; 76(9):1079-1087. Available from: https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-11