การศึกษาปัจจัยเสี่ยงและระยะเวลาในการเกิด orbital implant exposure หรือ extrusion ภายหลังการทำ enucleation หรือ evisceration

ผู้แต่ง

  • Meesit Wongsaithong Department of Ophthalmology, Faculty of Medicine, Chiang Mai University
  • Susama Chokesuwattanaskul Chulalongkorn University
  • Sakarin Ausayakhun Department of Ophthalmology, Faculty of Medicine, Chiang Mai University

คำสำคัญ:

orbital implant extrusion, orbital implant exposure, evisceration, enucleation

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: การผ่าตัดเอาลูกตาออก (Enucleation) หรือการผ่าตัดที่ควักเฉพาะเนื้อในลูกตาออก (Evisceration) เป็นการผ่าตัดเพื่อน้ำตาส่วนที่มีปัญหาออก แล้วแทนที่ด้วยการใส่วัสดุใส่หนุนลูกตาเทียม ภาวะวัสดุใส่หนุนลูกตาเทียมโผล่ (Exposure) หรือหลุด (Extrusion) เป็นภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดเกี่ยวกับใส่วัสดุหนุนลูกตาเทียมที่พบได้บ่อยที่สุด การศึกษานี้มุ่งที่จะหาอุบัติการณ์ ระยะเวลา และปัจจัยเสี่ยงที่เป็นไปได้ของการเกิดภาวะวัสดุใส่หนุนลูกตาเทียมโผล่ หรือหลุดในผู้ป่วยที่ทำการผ่าตัดเอาลูกตาออกหรือการผ่าตัดที่ควักเฉพาะเนื้อในลูกตาออก

วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล: ศึกษาข้อมูลจากบันทึกการรักษาผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยภาวะวัสดุใส่หนุนลูกตาเทียมโผล่ หรือหลุด หลังจากได้รับการผ่าตัดเอาลูกตาออก หรือการผ่าตัดที่ควักเฉพาะเนื้อในลูกตาออก ณ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระหว่างเดือนมกราคม พ.ศ. 2550 ถึง เดือนธันวาคม พ.ศ. 2560 โดยการใช้การวิเคราะห์การถดถอยพหุ (Multivariable regression analysis) เพื่อหาปัจจัยเสี่ยงที่เป็นไปได้

ผลการศึกษา: ผู้ป่วยทั้งหมด 466 คน ที่ได้รับการผ่าตัดเอาลูกตาออก (313/466, 67.17%) หรือการผ่าตัดที่ควักเฉพาะเนื้อในลูกตาออก (153/466, 32.83%) แบ่งเป็นผู้ชาย 312 คน (312/466, 67.16%) อายุระหว่าง 0-94 ปี อุบัติการณ์ภาวะวัสดุใส่หนุนลูกตาเทียมโผล่ หรือหลุด 12.14% (38/313) ในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเอาลูกตาออก และ 17.65% (27/153) ในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดที่ควักเฉพาะเนื้อในลูกตาออก ข้อบ่งชี้ที่พบบ่อยที่สุดของการผ่าตัดคือ ภาวะลูกตาติดเชื้อ (218/466, 46.78%) การวิเคราะห์การถดถอยพหุพบว่า อายุที่มากขึ้น (p = 0.008) และการติดเชื้อ HIV (p < 0.001) สัมพันธ์กับการเกิดภาวะวัสดุใส่หนุนลูกตาเทียมโผล่ หรือหลุด ในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเอาลูกตาออกอย่างมีนัยสำคัญ

สรุป: อุบัติการณ์ของการเกิดภาวะวัสดุใส่หนุนลูกตาเทียมโผล่ หรือหลุดหลังได้รับการผ่าตัดเอาลูกตาออกหรือการผ่าตัดที่ควักเฉพาะเนื้อในลูกตาออกพบไม่บ่อย อายุที่มากขึ้นและการติดเชื้อ HIV เป็นปัจจัยเสี่ยงที่เป็นไปได้ที่ก่อให้เกิดภาวะวัสดุใส่หนุนลูกตาเทียมโผล่ หรือหลุดในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเอาลูกตาออก ส่วนมากภาวะแทรกซ้อนจะเกิดขึ้นภายใน 1 เดือนหลังจากการผ่าตัดเอาลูกตาออก (18/38, 47.37%) และระหว่าง 1-12 เดือนหลังการผ่าตัดที่ควักเฉพาะเนื้อในลูกตออก(16/27, 59.26%) โดยควรได้รับการติดตามด้วยความถี่และระยะเวลาที่เหมาะสม

References

Al-Farsi HA, Sabt BI, Al-Mujaini AS. Orbital implant exposure following enucleation or evisceration. Oman J Ophthalmol. 2017;10(2):87-90. doi:10.4103/ojo.OJO_156_2016

Ye J, Gao Q, He JJ, et al. Exposure rate of unwrapped hydroxyapatite orbital implants in enucleation surgery. Br J Ophthalmol. 2016;100(6):860-865. doi:10.1136/bjophthalmol-2015-307412

Schellini S, Jorge E, Sousa R, et al. Porous and nonporous orbital implants for treating the anophthalmic socket: A meta-analysis of case series studies. Orbit. 2016;35(2):78-86. doi:10.3109/01676830.2016.1139591

Viswanathan P, Sagoo MS, Olver JM. UK national survey of enucleation, evisceration and orbital implant trends. Br J Ophthalmol. 2007;91(5):616-619. doi:10.1136/bjo.2006.103937

Gradinaru S, Popescu V, Leasu C, et al. Hydroxyapatite ocular implant and non-integrated implants in eviscerated patients. J Med Life. 2015;8(1):90-93.

McElnea EM, Ryan A, Fulcher T. Porous orbital implant exposure: the influence of surgical technique. Orbit. 2014;33(2):104-108. doi:10.3109/01676830.2013.851706

Lin CW, Liao SL. Long-term complications of different porous orbital implants: a 21-year review. Br J Ophthalmol. 2017;101(5):681-685. doi:10.1136/bjophthalmol-2016-308932

Oestreicher JH, Liu E, Berkowitz M. Complications of hydroxyapatite orbital implants. A review of 100 consecutive cases and a comparison of Dexon mesh (polyglycolic acid) with scleral wrapping. Ophthalmology. 1997;104(2):324-329. doi:10.1016/s0161-6420(97)30316-9

Sami D, Young S, Petersen R. Perspective on orbital enucleation implants. Surv Ophthalmol. 2007;52(3):244-265. doi:10.1016/j.survophthal.2007.02.007

Wladis EJ, Aakalu VK, Sobel RK, et al. Orbital Implants in Enucleation Surgery: A Report by the American Academy of Ophthalmology. Ophthalmology. 2018;125(2):311-317. doi:10.1016/j.ophtha.2017.08.006

Yoon JS, Lew H, Kim SJ, et al. Exposure rate of hydroxyapatite orbital implants a 15-year experience of 802 cases. Ophthalmology. 2008;115(3):566-572.e2. doi:10.1016/j.ophtha.2007.06.014

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-01-22