หนึ่งภาพแทนพันคำ กับการให้รหัสโรคตา

ผู้แต่ง

  • สิริมนต์ โกมลนิมิ ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล
  • สุมาลี หวังวีรวงศ์ ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล

คำสำคัญ:

รหัสโรค, รหัสโรคทางจักษุวิทยา, โรคตา

บทคัดย่อ

“ภาพหนึ่งภาพมีคำหนึ่งพันคำ” เป็นสุภาษิตที่ใช้กันหลากหลายภาษา หมายความว่าภาพนิ่งภาพเดียวสามารถบรรยายหรือ
ถ่ายทอดความรู้สึกและสื่อสารสิ่งต่าง ๆได้มากพอ ๆ กับการที่เราใช้คำพูดเพื่ออธิบายเป็นพัน ๆ คำได้ในเวลาสั้น ๆ และพบว่าในการ
บันทึกผลการตรวจผู้ป่วยของแพทย์ในใบบันทึกเวชระเบียน แพทย์มักจะวาดรูปลักษณะความผิดปกติที่ตรวจพบหรือพยาธิสภาพของ
ผู้ป่วยที่มารับการตรวจรักษาลงในใบบันทึกการตรวจ เพื่อให้เห็นและเข้าใจง่าย สะดวกและรวดเร็ว ลดระยะเวลาการเขียนบรรยาย
รายละเอียด ในการตรวจการเจ็บป่วยที่ดวงตาก็เช่นกัน ถ้าเรานำภาพมาบรรยายถึงโรคตา ในภาพหนึ่งภาพที่แพทย์วาดลงในการตรวจ
รักษาแต่ละครั้ง อาจช่วยให้ผู้ลงรหัสโรคสามารถเข้าใจและลงรหัสโรคได้อย่างครบถ้วนและถูกต้อง เพราะส่วนใหญ่แพทย์อาจให้การ
วินิจฉัยโรคเพียงโรคเดียว เนื่องจากการให้รหัสโรคที่ถูกต้องครบถ้วน มีความสำคัญต่อข้อมูลของระบบสาธารณสุข องค์การอนามัย
โลกจึงได้กำหนดแนวทางการให้รหัสโรคของทุกประเทศในโลกไปในทิศทางเดียวกัน โดยจัดทำ The International Classification
of Diseases and Related Health Problems, 10th : ICD 10 เพื่อเป็นประโยชน์ในการติดตามข้อมูลและสถิติโรคทางงานวิจัย และ
สาธารณสุข ดังนั้น แพทย์ผู้ตรวจจึงต้องบันทึกข้อมูลให้ครบ เพื่อการลงรหัสโรคที่ถูกต้องและครบถ้วนเช่นกัน แต่ข้อจำกัดในเรื่องเวลา
การตรวจและจำนวนคนไข้ที่มากเกินเวลาการให้บริการการตรวจ อาจทำให้แพทย์ไม่สามารถเขียนหรือบรรยายรายละเอียดได้มากตาม
ต้องการ ลายมือแพทยท์อ่านยาก หรือ บางครั้งเป็นตัวย่อที่ผู้ให้รหัสโรคไม่เข้าใจ ภาพวาดทีแพทย์บันทึกอาจเป็นแนวทางในการให้รหัส
โรคตาได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการวางรากฐานระบบสาธารณสุขของประเทศในอนาคต

References

ปานทิพย์ สวัสดิ์มงคล, วันดี วันศรีสุธน. คำย่อสำหรับการให้รหัส ICD ผู้ป่วยนอก (Abbreviations for ICD coding in outpatient 2009). กรุงเทพฯ: เปเปอร์เมท (ประเทศไทย)จำกัด; 2551.

ปทุมมาศ เชี่ยวเชิงงาน, เพ็ญพร โฉมชัชวาล, ปัทมา สันติวงศ์เดชา. คู่มือกายวิภาคศาสตร์สำหรับ Coder (Anatomy For Coder). กรุงเทพฯ: บริษัทไชยเจริญการ

พิมพ์และบรรจุภัณฑ์ จำกัด; 2553.

วรรษา เปาอินทร์. การใช้รหัส ICD-10-TM ในระบบข้อมูลสุขภาพ. กรุงเทพฯ: รงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์; 2547.

วรรษา เปาอินทร์. ความรู้พื้นฐานการใช้รหัสโรคและรหัสผ่าตัดตามระบบ ICD. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่ง

สินค้าและพัสดุภัณฑ์; 2548.

สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. ICD-10-TM บัญชีจำแนกโรคระหว่างประเทศฉบับประเทศไทย (อังกฤษ-ไทย). เล่มที่ 1 ตารางการจัดกลุ่มโรค. กรุงเทพฯ: บริษัท ศรีเมืองการพิมพ์ จำกัด; 2559.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-01-22