การตรวจสอบความเชื่อมั่นและความเที่ยงตรงของแผ่นทดสอบความ สามารถในการมองเห็นภาษาไทย (SakThai Chart) สำหรับการวัด สมรรถภาพการมองเห็น

ผู้แต่ง

  • ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • อภิวัฒน์ สกุลรุ่งเจริญ ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • ภาสวุฒิ ท่อแก้ว ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • ภาคิน จรัสเสถียร คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

ความเชื่อมั่น, ความเที่ยงตรง, สมรรถภาพการมองเห็น, แผ่นทดสอบความสามารถ, การมองเห็นสเนลเลน, แผ่นทดสอบการมองเห็นภาษาไทย

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อดรวจสอบความแม่นยำของแผ่นทดสอบความสามารถในการมองเห็นภาษาไทย (SakThai Chart) สำหรับการวัดสมรรถภาพการมองเห็น

แบบการศึกษา: A cross-sectional study, A test of reliability and validity โดยมีผู้เข้าร่วมวิจัยจำนวน 124 คน ที่มีอายุ 20-65 ปี ที่เข้ามาตรวจรักษาที่แผนกจักษุ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ฯ เข้าทดสอบสมรรถภาพการมองเห็นตามความสมัครใจ โดยอ่านแผ่นทดสอบการมองเห็นแบบตัวเลข (numeric optotype chart) และแผ่นทดสอบการมองเห็นภาษาไทย (SakThai Chart) ด้วยตาข้างขวาและบันทึกผล จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS เวอร์ชัน 25 โดยความเชื่อมั่นของเครื่องมือ ใช้สถิติทดสอบ Pearson correlation และความเที่ยงตรงของเครื่องมือใช้สถิติทดสอบ Item-objective Congruent (IOC) และ Paired t-test

ผลการศึกษา: แผ่นทดสอบความสามารถการมองเห็นภาษาไทย (SakThai chart) มีค่า Pearson corelation คือ 0.992 ซึ่งถือว่าเครื่องมือนี้มีความเชื่อมั่นสูงเมื่อเทียบกับการทดสอบความสามารถการมองเห็นแบบสเนลเลน และเมื่อทดสอบความเที่ยงตรงของเครื่องมือ พบว่า IOC มากกว่า 0.5 ในทุกหัวข้อ และ Paired t-test ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยส่าคัญของทั้งสองเครื่องมือ (P-value = 0.217)

สรุป : แผ่นทดสอบความสามารถในการมองเห็นภาษาไทย (SakThai Chart) มีค่าความเชื่อมั่นและมีความเที่ยงตรงของเนื้อหาสูง และสามารถใช้ทดแทนกับแผ่นทดสอบการมองเห็นแบบสเนลเลน (Snellen Chart) ได้

คำสำคัญ: ความเชื่อมั่น, ความเที่ยงตรง, สมรรถภาพการมองเห็น, แผ่นทดสอบความสามารถ, การมองเห็นสเนลเลน, แผ่นทดสอบการมองเห็นภาษาไทย

References

Snellen H. Test-types for the Determination of the Acuteness of Vision. Utrecht: P.W. van de Weijer; 1862.

de Jong PTVM. A history of visual acuity testing and optotypes. Acta Ophthalmol. 2022;100(7):e1337-e1349.

Rozhkova G, Lebedev D, Gracheva M, Rychkova S. Optimal Optotype Structure for Monitoring Visual Acuity. Perception. 2017;46(3-4):321-331.

Sailoganathan A, Siderov J, Osuobeni E. A new Gujarati language logMAR visual acuity chart: Development and validation. Indian J Ophthalmol. 2013;61(10):557-561.

Ruamviboonsuk P, Tiensuwan M. Visual acuity measurement using a new Thai language logarithmic visual acuity chart and a standard chart. J Med Assoc Thai. 2002;85(7):808-815.

Bailey IL, Lovie-Kitchin JE. Visual acuity testing. Fromthe laboratory to the clinic. Vision Res. 2013;90:2-9.

Ferris FL 3rd, Kassoff A, Bresnick GH, Bailey I. New visual acuity charts for clinical research. Am J Ophthalmol. 1982;94(1):91-6.

Dandona L, Dandona R, Srinivas M, et al. Moderate visual impairment in India: the Andhra Pradesh Eye Disease Study. Br J Ophthalmol. 2002;86(4):373-7.

Bourne RR, Rosser DA, Sukudom P, et al. Evaluating a new logMAR chart designed to improve visual acuity assessment in population-based surveys. Eye (Lond). 2003;17(6):754

Rosser DA, Laidlaw DA, Murdoch IE. The development of a "reduced logMAR" visual acuity chart for use in routine clinical practice. Br J Ophthalmol. 2001;85(4):432-6.

Arditi A, Cagenello R. On the statistical reliability of letter-chart visual acuity measurements. Invest Ophthalmol Vis Sci. 1993;34(1):120-9.

Jenchitr W, Hanutsaha P, Iamsirithaworn S, et al. The national survey of blindness, low vision and visual impairment in Thailand. J Med Assoc Thai. 2007;90(9):1897-903.

Wong TY, Loon SC, Saw SM. The epidemiology of age related eye diseases in Asia. Br J Ophthalmol. 2006;90(4):506-11.

World Health Organization. Universal eye health: a global action plan 2014-2019. Geneva: WHO; 2013.

Kocur I, Resnikoff S, Foster A. Visual impairment and blindness in Europe and their prevention. Br J Ophthalmol. 2002;86(7):716-22.

Elliott DB, Yang KC, Whitaker D. Visual acuity changes throughout adulthood in normal, healthy eyes: seeing beyond 6/6. Optom Vis Sci. 1995;72(3):186-91.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-01-29