รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านการวิจัยในชั้นเรียนของครูระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (A Classroom Research Competency Development Model for High School Teachers in Lao People’s Democratic Republic)

Main Article Content

ไพวัน ดวงพะจัน (Phaivanh Duangphachanh)
อรนุช ศรีสะอาด (Oranuch Srisaard)
ธีรวุฒิ เอกะกุล (Teerawut Aekakul)

Abstract

              การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านการวิจัยในชั้นเรียนของครูระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ใช้วิธีการตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านการวิจัยในชั้นเรียน ด้วยเทคนิคการประชุมอภิปรายหาข้อสรุปความสอดคล้อง (Multi-Attribute Consensus Reaching : MACR) โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 21 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม จำนวน 3 ฉบับ และแบบบันทึกการประชุมกลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ มัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ และทดสอบสมมุติฐานด้วยสถิติทดสอบ The Kruskal-Wallis (One - way Analysis of Variance) ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านการวิจัยในชั้นเรียนของครูระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ประกอบด้วย หลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์ นิยามศัพท์เฉพาะ ความรู้ที่จำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะด้านการวิจัยในชั้นเรียน ขั้นตอน การพัฒนาสมรรถนะด้านการวิจัยในชั้นเรียนของครู และการประเมินความคิดเห็นของผู้ใช้รูปแบบ โดยขั้นตอน


               การพัฒนาสมรรถนะด้านการวิจัยในชั้นเรียนของครู ประกอบด้วย 6 ขั้นตอนหลัก ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การสร้างความตระหนัก ขั้นตอนที่ 2 การเรียนรู้ด้วยตนเอง ขั้นตอนที่ 3 การฝึกอบรมในขณะปฏิบัติงาน ขั้นตอนที่ 4 โปรแกรมพี่เลี้ยง ขั้นตอนที่ 5 ครูนักวิจัยคิดสะท้อนเป็นรายบุคคล และขั้นตอนที่ 6 การตัดสินใจ ซึ่งรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านการวิจัยในชั้นเรียนของครูที่สร้างขึ้นมีระดับความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก


 


              The purposes of this research were to constructing a classroom research competency development model for high school teachers in Lao People’s Democratic Republic by using the method propriety and feasibility of a classroom research competency development model for teachers were verified by 21 experts through an application of Multi-Attribute Consensus Reaching (MACR) workshop technique; The instruments used for collecting data were 3 questionnaires and a group meeting record. The statistics used for analyzing the collected data were median and interquartile range, and the hypotheses were statistically tested using the Kruskal-Wallis (One-way Analysis of Variance by Ranks). The results of the research were  as follows: A classroom research competency development model for high school Teachers in Lao People’s Democratic Republic. Consisted objective principles and definitions, knowledge needed to develop classroom research competencies, the procedure to classroom research competency development for teachers and evaluation of model user opinion. By the process of developing the classroom research competency of teachers consisted 6 main steps are as follows: 1. Awareness, 2. Self-Learning, 3. On the Job Training : OJT, 4. Mentoring Program, 5. Reflection and 6. Decision making. Which a classroom research competency development model for Teachers the level of appropriateness and feasibility at a high level.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ