สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการเรียนรู้แบบดิจิทัลในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2(The competency of School Administrators Affecting The effectiveness of digital learning in schools under Phetchabu- The competency of School Administrators Affecting The effectiveness of digital learning in schools under Phetchaburi Primary Educational Service Area Office 2

Main Article Content

ภมรวรรณ แป้นทอง (Paentong Paentong)
อภิชาติ เลนะนันท์ (Apichat Lenanant)

Abstract

              การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลการเรียนรู้แบบดิจิทัลในสถานศึกษา 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลการเรียนรู้แบบดิจิทัลในสถานศึกษา 4) เพื่อศึกษาสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการเรียนรู้แบบดิจิทัลในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหาร และครู ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2 ปีการศึกษา 2560 แบ่งเป็น ผู้บริหารจำนวน 97 คน ครูผู้สอนจำนวน 194 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 291 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ แบบสอบถามแบบประมาณค่า 5 อันดับ สถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard  Deviation) การหาและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s Product-Moment Correlation Coefficient) รวมทั้งการการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ(Multiple Regression Analysis)


 ผลการวิจัย พบว่า


  1. สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรีเขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อแยกพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านการทำงานเป็นทีม ด้านสัมพันธ์ชุมชน ด้านการบริการที่ดี และค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านการพัฒนาตนเอง

  2. ประสิทธิผลการเรียนรู้แบบดิจิทัลในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรีเขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อแยกพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับ พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน ดังนี้ ด้านนักเรียนสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น และด้านนักเรียนมีความเป็นพลเมืองดิจิทัล ค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านนักเรียนมีทักษะการใช้เทคโนโลยี และด้านนักเรียนสามารถสร้างองค์ความรู้ ซึ่งทั้งสองด้านมีค่าเฉลี่ยเท่ากัน

  3. ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลการเรียนรู้แบบดิจิทัลในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรีเขต 2 มีความสัมพันธ์ในทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

  4. สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาที่เป็นตัวทำนายประสิทธิผลการเรียนรู้แบบดิจิทัลในสถานศึกษา  มี  3 ด้าน คือ  ด้านการวิเคราะห์และสังเคราะห์ (X9)  ด้านการพัฒนาตนเอง (X1) และด้านสัมพันธ์ชุมชน (X7) โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ 0.839 มีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยที่เป็นบวกทุกค่า มีค่าอำนาจการพยากรณ์ร้อยละ 70.40 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

                    สมการพยากรณ์ในรูปของคะแนนดิบ (Unstantdardized Score)


                        Ŷtot = 0.408 + 0.408 (X9) + 0.273 (X1) + 0.196 (X7)


                    สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน (Stantdardized Score)


                        Ẑtot = 0.434 (X9) + 0.278 (X1) + 0.200 (X7)


 


The purposes of this research were to study 1) the level of The school administrators competency.  2) the level of the effectiveness of digital learning in schools. 3) The relationship between the competency of school administrators and the effectiveness of digital learning in schools. 4) the competency of school administrators affecting The effectiveness of digital learning in schools under Phetchaburi Primary Educational Service Area Office 2. The research samples were 97 administrators and 194 teachers under the jurisdiction of the Office of Phetchaburi Educational Service Area 2, academic year 2017. The research instrument was questionnaires which constructed in the 5 rating scale. The statistics to analyze used the data were mean, standard deviation, Pearson’s Product-Moment Correlation Coefficient and multiple regression analysis.


               The research findings were as follow:


  1. The competency of School Administrators under Phetchaburi Primary Educational Service Area Office 2 was found at high level as a whole and individual; that were ranged from the highest to the lowest; teamwork, Community Relations and Good service. The lowest mean is self-development.

  2. The effectiveness of digital learning in schools under Phetchaburi Primary Educational Service Area Office 2 was found  at  high  level  as  a  whole  and individual; that  were  ranged  from the highest to the lowest; the students were able to work together with others, the students are digital citizens. The lowest mean is the students have skills in using technology and the students can create knowledge.

  3. The relationship between the competency of School Administrators and the effectiveness of digital learning in schools under Phetchaburi Primary Educational Service Area Office 2 were positively correlated. At the 0.01 level of significance

  4. The three competency of school administrators that could predict the effectiveness

of schools included analysis and synthesis (X9), personal development (X1), and community relations (X7). The value of multiple correlation coefficient was 0.839, all regression coefficients were found with the positive value, and the prediction capability was at 70.40% with statistical significance at the 0.01 level.


               These could be formed as the prediction equations as follows;


               The Prediction Equation of Unstandardized Score


                    Ŷtot = 0.408 + 0.408 (X9) + 0.273 (X1) + 0.196 (X7)


               The Prediction Equation of Standardized Score


                    Ẑtot = 0.434 (X9) + 0.278 (X1) + 0.200 (X7)

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ