การวิจัยและพัฒนาเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของครูอาชีวศึกษาให้พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องด้วยการวิจัยในชั้นเรียน (Research and Development for Competencies Promote in Continually Self-Development of Vocational Teachers with Classroom Action Research) Research and Development for Competencies Promote in Continually Self-Development of Vocational Teachers with Classroom Action Research

Main Article Content

นรินทร์ สังข์รักษา (Narin Sungrugsa)
พิทักษ์ ศิริวงศ์ (Phitak Siriwong)
สุมาลี พงศ์ติยะไพบูลย์ (Sumalee Pongtiyapaiboon)
ศิวกรณ์ เอ่งฉ้วน (Sivagorn Aungchoun)

Abstract

             การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการณ์และความต้องการในการเสริมสร้างสมรรถนะให้ครูอาชีวศึกษาพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง 2) วิเคราะห์รูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะให้ครูอาชีวศึกษาพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง 3) เสนอแนวทางการเสริมสร้างสมรรถนะให้ครูอาชีวศึกษาพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง และ 4) ประเมินและถอดบทเรียนรูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะให้ครูอาชีวศึกษาพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน กลุ่มตัวอย่างเป็นครูอาชีวศึกษาในภูมิภาคตะวันตก             8 จังหวัด จำนวน 384 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ดำเนินการวิจัยในวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเพชรบุรี กลุ่มเป้าหมาย 21 คน ใช้การเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม แนวทางการสัมภาษณ์เชิงลึก และแนวทางการสนทนากลุ่ม หลักสูตรการฝึกอบรมและคู่มือ แบบทดสอบก่อนและหลังการฝึกอบรม แบบประเมินคุณภาพงานวิจัย แบบสอบถามความพึงพอใจ แนวทางการถอดบทเรียน การวิเคราะห์เชิงปริมาณความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที และการวิเคราะห์เชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์แบบอุปนัย 


             ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพการจัดการเรียนการสอนของวิทยาลัยในภูมิภาคตะวันตก ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ความมุ่งมั่นและความพึงพอใจต่อวิชาชีพครู  และการพัฒนาตนเองอยู่ในระดับมาก ความต้องการของการวิจัยในชั้นเรียนทุกคน ร้อยละ 30.00 2) รูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะให้ครูพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องด้วยการวิจัยในชั้นเรียน เรียกว่า “OCC-EDU Model” และผ่านการรับรองรูปแบบ 3)   ผลการทดลอง การจัดอบรมมีคะแนนก่อนการและหลังการอบรมเฉลี่ยแตกต่างกัน  การประเมินความรู้ ความสามารถและการปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียนของครูอาชีวศึกษาในภาพรวมอยู่ในระดับมาก แนวทางการเสริมสร้างสมรรถนะให้ครูอาชีวศึกษาพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องด้วยการวิจัยในชั้นเรียน ได้แก่ ครูต้องมีแรงบันดาลใจและไฟในตัว ผู้บริหารให้งบประมาณ เพื่อนร่วมงานทำงานเป็นทีม ครอบครัวให้กำลังใจ 4) ความพึงพอใจของครูอาชีวศึกษาที่มีต่อรูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะให้ครูพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และการถอดบทเรียน พบว่า (1) การมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์ผลงานวิชาการอย่างครูมืออาชีพ (2) มีเป้าหมายที่ชัดเจนในการให้คุณค่าในวิชาชีพครู (3) มีวัฒนธรรมร่วมในบทบาทของความเป็นครู (4) การปฏิบัติที่ดีในการสร้างแรงบันดาลใจและสร้างสรรค์การเรียนรู้ (5) ผู้นำมีบทบาท วิสัยทัศน์และความมุ่งมั่นในการพัฒนาการศึกษา (6) ครูมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง มีความมุ่งมั่นและมีไฟในตัว  และ (7) ความร่วมมือในการทำงานเป็นทีม


 


              This research and development, the objectives of this research  were 1) study all necessary data needed for competencies promote in continually self-development of vocational teachers, 2) study the model of competencies promote, 3) propose a guideline of how to competencies promote in continually self-development of vocational teachers, and 4) evaluate and gather the lesson learned from it. The research methodology was divided into 4 stages. The 384 teachers from eight provinces in Thai Western region were selected by using of multi-stages sampling technique. Moreover the technology and agriculture collage was selected by using purposive selection into the process of action research. The research instruments employed here were questionnaire, guideline for in-depth interview, guideline for focus group discussion, the training course and its manual, pre-test and post-test of the training course, evaluation test of quality in research, satisfaction test and guideline for gathering in the lesson learned. The collected data was then quantitatively and qualitatively analyzed and presented in frequency, percentage, standard deviation, outcomes of t-test and its inductive analysis respectively. 


             From the results they could be demonstrated as follows:   


              -The management of learning and teaching in vocational collage, the attention and satisfaction of professional career and the self-continuous development were overall evaluated at much level. For all of the items needed for practicing the action research in classroom was  percentage item amounted to 30.00%.


             -The model of competencies promote was constructed and named to “OCC-EDU Model” and this was endorsed.             


               -The post-test score of training course was significant higher than the pre-test score at  P< .05. The knowledge, capabilities and practices of teachers were overall evaluated at much level. The guideline for competencies promote in continually self-development of vocational teachers with classroom action research : the inspiration of teacher, administrator support to budget, collaborative in peer teacher, and family motivation support. 


             -Their motivation of self-continuous development was satisfied to the model of empowerment at much level.  


             -From the lesson learned, all of these as 1) the teachers participated in creating  their academic works as professional 2) there had a clear targeting for the values provided to teacher professional 3) there had a common culture in the roles of teacher belonging 4) there had a good practice in building up the inspiration and the creation on learning 5) the leaders had their roles, vision and efforts for developing in the education 6) the teachers had their self-continuous development, built-in inspiration power and strong commitment 7) there had a collaboration from many power groups.      

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ