ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการใช้เหตุผลในการเรียนวิชาสัมมนา การบริหารทรัพยากรมนุษย์ของนักศึกษาสาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ โดยใช้วิธีการสอนแบบ MIAP (Learning Achievement and Reasoning in Seminar in Human Resource Management of Human resource Major Students By MIAP Approaches)

Main Article Content

ชวลิต ศุภศักดิ์ธำรง (Chavalit Supasaktumrong)

Abstract

                 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ คือ 1. เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาการสัมมนาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ให้มีประสิทธิภาพ 2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาการสัมมนาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของของนักศึกษาสาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ทั้งก่อนและหลังจากการใช้การสอนแบบ MIAP และ 3. เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการใช้เหตุผล รายวิชาการสัมมนาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของนักศึกษาสาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ใช้การสอนแบบ MIAP กลุ่มใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาสัมมนาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ จำนวน 40 คน เลือกแบบวิธีเจาะจงจากนักศึกษาที่ให้ผลการสัมภาษณ์ว่าวิธีการแบบบรรยายไม่เหมาะสมกับผู้เรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบทดสอบวัดความสามารถในการใช้เหตุผล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ t-test


               ผลการวิจัย พบว่า แผนการจัดการเรียนรู้มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 80.05/81.17 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80 คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการใช้เหตุผลของนักศึกษา หลังเรียนด้วยการสอนแบบ MIAP สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05


 


                The purpose of this research were to 1) development efficient lesson plan in Seminar Human Resource Management  2) comparison of learning achievement in Seminar human resource management of human resource major students before and after using MIAP approach and 3) comparison reasoning in Seminar human resource management of human resource major students by using MIAP approach. The sample were 40 students enrolled in Seminar human resource management course by purposive sampling. The research instruments composited of lesson plan, achievement test, and reasoning test. The statistics employed for data analysis were mean, standard deviation, and t-test.


               The results of the research were: the efficiency of lesson learn was 80.05/81.17 which was the standard criterion of 80/80, the students’ learning achievement after using the MIAP was higher than that before using it at the p=.05 level

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ