กลวิธีการสร้างสรรค์ความตลกในรายการโทรทัศน์ไทย (The Strategies Of Creating Humor In Thai Television Programs)
Main Article Content
Abstract
บทความฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยาพนธ์หลักสูตรศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานาฏยศิลป์ไทย ภาควิชานาฏยศิลป์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีการสร้างสรรค์ความตลกในรายการโทรทัศน์ไทย ผ่านรายการที่อิงจากความจริง (Non-Fiction) ประเภทข่าวและสารคดีบันเทิง และรายการให้ความบันเทิง (Light Entertainment) ประเภทประกวดแข่งขันและประเภทสนทนา ที่ออกอากาศเฉพาะในปี พ.ศ. 2560 จำนวน 8 รายการ รายการละ 5 ตอน ผลการศึกษาพบว่ารายการที่อิงจากความจริงประเภทข่าว นิยมสร้างอารมณ์ขันผ่านกลวิธีการการเล่นตลกกับภาษา (Verbal Comedy)ล้อเลียนเสียดสีมากที่สุด โดยสอดแทรกอยู่ในวิธีการนำเสนอข่าวของผู้ดำเนินรายการ ส่วนรายการประเภทอิงจากความจริง ประเภทสารคดีบันเทิง รายการให้ความบันเทิง ประเภทประกวดแข่งขัน รายการให้ความบันเทิง ประเภทสนทนา นิยมใช้กลวิธีการสร้างความตลกในรูปแบบการเล่นตลกกับภาษาการเล่นตลกกับภาษา (Verbal Comedy)มากที่สุด ทั้งนี้รายการโทรทัศน์ประเภทต่าง ๆ ที่นำความตลกมาเป็นองค์ประกอบในรายการ อาจมีวัตถุประสงค์เพื่อสะท้อนทัศนคติและมุมมองเชิงความคิดของตนที่มีต่อเรื่องนั้น ๆ และที่สำคัญคือเพื่อขับเคลื่อนรายการให้น่าสนใจและได้รับความนิยม ต้องกับรสนิยมของคนไทยที่นิยมความสนุกสนานรื่นเริงและนิยมการลดระดับสิ่งที่เป็นความจริงจัง จนอาจกล่าวได้ว่าอารมณ์ขันเป็นลักษณะสำคัญประการหนึ่งของคนไทย