ผลการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5Es)ร่วมกับ กลยุทธ์ช่วยจำแบบนีโมนิค “CAMR” เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และเจตคติต่อวิชาชีววิทยา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (Effects Of Inquiry Learning Cycle (5es) Together Withmnemonic “Camr” For Enhancing Learning Achievement And Attitude Towards Biology Of 10th Grade Students)

Main Article Content

รณกร พึ่งสำโรง (Ronnakorn Pungsamrong)
นพมณี เชื้อวัชรินทร์ (Nopmanee Chauvatcharin)
กิตติมา พันธ์พฤกษา (Kittima Panprueksa)

Abstract

              การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5Es) ร่วมกับกลยุทธ์ช่วยจำแบบนีโมนิค “CAMR” เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และเจตคติต่อวิชาชีววิทยาของนักเรียน โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนดาราสมุทร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 2 ห้องเรียน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม อย่างละ 1 ห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น  2) แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับกลยุทธ์ช่วยจำแบบนีโมนิค “CAMR” 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 4) แบบวัดเจตคติต่อวิชาชีววิทยา วิเคราะห์ข้อมูลด้วย t-test แบบ Independent sample  


               ผลการวิจัยพบว่า                                                                                               


  1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาชีววิทยา เรื่อง ความหลากหลายทางชีวภาพ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5Es) ร่วมกับกลยุทธ์ช่วยจำแบบนีโมนิค “CAMR” สูงกว่าการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5Es) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 

  2. เจตคติต่อวิชาชีววิทยา เรื่องความหลากหลายทางชีวภาพ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5Es) ร่วมกับกลยุทธ์ช่วยจำแบบนีโมนิค “CAMR” สูงกว่าการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5Es) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 


            This research aims to study effects of Inquiry learning cycle (5Es) together with Mnemonic “CAMR” for enhancing students’ learning achievement and attitude towards biology. The participants of this research were two classrooms of 10th grade students who were selected randomly using the cluster random sampling from Darasamurt school in the second semester of academic year 2017. One classroom was an experimental group whereas the other was a control group. The research instruments consisted of 1) lesson plans using Inquiry learning cycle (5Es), 2) lesson plans using Inquiry learning cycle (5Es) together with Mnemonic “CAMR”, 3) learning achievement test, and 4) attitude towards biology test. The data were analyzed by t-test for independent sample.


            The research finding were summarized as follows:                              


  1. The learning achievement of biology on biodiversity scores of 10th grade students after using Inquiry learning cycle (5Es) together with Mnemonic “CAMR” were higher than using Inquiry learning cycle (5Es) at the .05 levels of significant.

  2. The attitude towards biology on biodiversity score of 10th grade students after study using Inquiry learning cycle (5Es) together with Mnemonic “CAMR” were higher than using Inquiry learning cycle (5Es) at the .05 levels of significant.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ