การประเมินและการปรับปรุงการควบคุมภายในการรับ – การจ่ายสินค้าคงเหลือ ตามแนวคิดของ COSO : กรณีศึกษาหน่วยงานผลิตและจำหน่ายยา

Main Article Content

สมนึก จงไพบูลย์กิจ
สมยศ วิวรรธน์อภินัย
ทาริกา แย้มขะมัง
เกษศิณี ตั้งอั้น
ชุดาพร สอนภักดี

Abstract

           การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงวิธีการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการควบคุมภายในการรับ – จ่ายสินค้าคงเหลือ ที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบันได้ปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง สอดคล้องกับข้อกำหนดของการควบคุมภายในตามแนวของ COSO (Committee of Sponsoring Organization of the Treadway Commission) โดยวิธีการศึกษาเป็นการประเมินการควบคุมภายในตามแนวของ COSO กับการควบคุมภายในของกรณีศึกษาหน่วยผลิตและจำหน่ายยา พร้อมทั้งเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้อำนวยการฝ่ายและผู้ที่เกี่ยวข้องในระบบสินค้าคงเหลือทั้งหมด 4 ฝ่าย ซึ่งมีประชากรรวมทั้งสิ้น 43 คนการสังเกตการณ์จากการปฏิบัติงาน และการศึกษาจากวิธีการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงานโดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณา

          ผลการศึกษาขั้นตอนการปฏิบัติงานรวมทั้ง การประเมินควบคุมภายในตามองค์ประกอบของการควบคุมภายในตามแนวคิดของ COSO พบว่า หน่วยงานผลิตละจำหน่ายยา มีจุดอ่อนในองค์ประกอบของกิจกรรมการควบคุม เนื่องจากมีการสะสมของการขออนุมัติจำหน่ายทรัพย์สินชำรุด/เสียหาย/ใช้การไม่ได้/เสื่อมสภาพ/หรือสูญไป  และไม่มีการตรวจสอบผลกระทบที่เกิดขึ้น ประกอบกับพนักงานที่เกี่ยวข้องขาดความรู้ ความเข้าใจ และการไม่ปฏิบัติตามวิธีการปฏิบัติงานอย่างเคร่งครัด ดังนั้น ควรมีการวางแผนและดำเนินการให้เป็นไปตามแผนอย่างเคร่งครัด ควรมีการฝึกอบรมแก่พนักงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อการควบคุมภายในที่ดีและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารสินค้าคงคลังต่อไป

 

 

             The purpose of this research aims to study through the procedure of internal control operation for inventory system which operates at the present whether it is accurate and conformable with the regulation under COSO  (Committee of Sponsoring Organization of the Treadway Commission) conceptual framework or not. The study approach is to evaluate the case study of internal control for medicine manufacturing and distribution units together with interview data collection from 43 people in 4 units including directors and people who have been involved in inventory system, observation processing, and study of individual unit operation using descriptive data analysis.

           The result of study through the operation procedure with the internal control constituent assessment under COSO conceptual framework showed that the manufacturing  and distribution units has some inferior in control activity due to the increasing number of approval deposition for damaged, unusable, defective, decayed, loosed assets, and investigate its effect are not concerned. Staff  also lack of knowledge, understanding, and do not strict with operation procedure; therefore, training related staff, planning, and following the procedure are needed for the effective and good inventory system management

 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ