การพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาเรื่องสถานการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในทวีปอเมริกาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยผ่านกระบวนการออกแบบ การจัดการเรียนการสอนเชิงระบบ

Main Article Content

อาภัสรา คนงาน

Abstract

         การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง แบบแผนการวิจัยแบบหนึ่งกลุ่มสอบก่อนและหลังเรียนมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสามารถในการคิดแก้ปัญหา เรื่อง สถานการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในทวีปอเมริกาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยผ่านกระบวนการออกแบบการจัดการเรียนการสอนเชิงระบบ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สถานการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในทวีปอเมริกาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยผ่านกระบวนการออกแบบการจัดการเรียนการสอนเชิงระบบ 3) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการเรียนรู้โดยผ่านกระบวน การออกแบบการจัดการเรียนการสอนเชิงระบบ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/8 จำนวน 49 คน ที่กำลังศึกษาใน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 ของโรงเรียนวัดสุทธิวราราม กรุงเทพมหานคร ซึ่งได้มาด้วยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม

          เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) กรอบกระบวนการออกแบบการจัดการเรียนการสอนเชิงระบบ 2) แผนการจัดการเรียนการสอนที่ผ่านกระบวนการออกแบบการจัดการเรียนการสอนเชิงระบบ   3) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สถานการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในทวีปอเมริกา 4) แบบทดสอบความสามารถในการคิดแก้ปัญหา และ 5) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการเรียนรู้โดยผ่านกระบวนการออกแบบการจัดการเรียนการสอนเชิงระบบวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (x̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test for dependent)

           ผลวิจัยพบว่า

           1. ความสามารถในการคิดแก้ปัญหา เรื่อง สถานการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในทวีปอเมริกาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยผ่านกระบวนการออกแบบการจัดการเรียนการสอนเชิงระบบ โดยภาพรวมอยู่ในระดับสูง

           2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง สถานการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในทวีปอเมริกา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยผ่านกระบวนการออกแบบการจัดการเรียนการสอนเชิงระบบ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

           3. ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการเรียนรู้โดยผ่านกระบวนการออกแบบการจัดการเรียนการสอนเชิงระบบ โดยภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก

 

The purposes of this experimental research with one group pre-test post-test design were to: 1) study the problem solving thinking abilities on the situation of natural resources and environment in America of Mathayomsuksa 3 students through instructional system design 2) compare learning achievements with the situation of natural resources and environment in America of Mathayomsuksa 3 students through instructional system design 3)study the opinion of Mathayomsuksa 3students towards learning through instructional system design. The sample of this research consisted of 49 students in Mathayomsuksa 3/8,Suthiwararam School, Bangkok, the second semester, academic year 2015, using simple random sampling technique with a classroom unit.

               The instruments employed to collect data were:1)process framework of instructional system design. 2) lesson plans through instructional system design. 3) a learning achievements test with the situation of natural resources and environment in America. 4) a problem solving thinking abilities test and 5) a questionnaire on the opinion of Mathayomsuksa 3 students towards learning through instructional system design. The collected date was analyzed for the percentage (%), mean (x̅), standard deviation (S.D.) and t-test for dependent.

               The research results revealed that:

               1. The problem solving thinking abilities with the situation of natural resources and environment in America of Mathayomsuksa3 students through instructional system design were at the high.

               2. The learning achievements of students on the situation of natural resources and environment in America of Mathayomsuksa 3 students through instructional system design were higher than before at the level of .05 significance.

               3. The opinion of Mathayomsuksa 3 students towards learning through instructional system design were at the high level of agreement.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ