การศึกษาย้อนหลังประสิทธิผลการผ่าตัดภาวะไส้เลื่อนในโรงพยาบาลพัทลุง : Retrospective Case Series Study on Effectiveness of Hernia Operation in Phatthalung Hospital

Authors

  • Suttiruck Buakaew

Keywords:

hernia, surgery, cost

Abstract

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกประสิทธิผลการผ่าตัดไส้เลื่อนและต้นทุนบัญชีทางด้านการแพทย์ของโรงพยาบาลพัทลุง   

วัสดุและวิธีการ: การศึกษาเชิงพรรณนาโดยใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูลเวชระเบียนผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดใส้เลื่อนในโรงพยาบาลพัทลุง ระหว่างเดือนมกราคม-ธันวาคม 2560 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา นำเสนอข้อมูลทั่วไปและประสิทธิผลการผ่าตัด ได้แก่ ชนิด ระยะเวลาผ่าตัด วันนอนโรงพยาบาล ภาวะแทรกซ้อน และค่าใช้จ่ายทางบัญชีด้านการแพทย์ที่เกิดจากการผ่าตัด 

ผลการศึกษา: พบว่า มีผู้เข้ารับการผ่าตัดไส้เลื่อนทั้งหมด 347 คน โดยส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (87.90%) มีค่ามัธยฐานอายุ 61 ปี (min 1 ปี max 93 ปี) 44.67% มีอาชีพเกษตรกรรม และ 24.21% อาศัยอยู่ในอำเภอเมือง 15.85% มีประวิติความดันโลหิตสูง โดยผู้เข้ารับการผ่าตัด 91.65% ได้รับการวินิจฉัยเมื่อแรกรับเป็นไส้เลื่อนขาหนีบ ประสิทธิภาพการผ่าตัด พบว่า 71.76% เป็นการผ่าตัดที่นัดล่วงหน้า และส่วนใหญ่เป็นการผ่าตัด Lichtenstein ของ Unilateral repair of inguinal hernia (65.99%) ใช้เวลาผ่าตัด (Median) 35 นาที (min 10 นาที max 95 นาที) และไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างผ่าตัด หลังผ่าตัดผู้ป่วยนอนโรงพยาบาล (Median) 4 วัน (min 2 วัน max 15 วัน) และไม่พบภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัด มัธยฐานค่าน้ำหนักสัมพัทธ์ 1.2886 (Min 0.56 Max 9.89) มีค่ามัธยฐานต้นทุนทางบัญชีด้านการแพทย์จากการผ่าตัด 18,580 บาท (min 7,597 บาท max 69290 บาท) และสามารถเบิกตามสิทธิรักษาพยาบาล (Median) 8,954 บาท (min 4,495 บาท max 99,451 บาท) โดย 333 ราย (95.97%) โรงพยาบาลพัทลุงเรียกเก็บเงินได้ต่ำกว่าต้นทุนทางบัญชีทางการแพทย์ และไม่มีรายงานอุบัติการณ์การเกิดภาวะไส้เลื่อนซ้ำ

สรุป วิจารณ์ และข้อเสนอแนะ:  

          การผ่าตัดใส้เลื่อนของโรงพยาบาลพัทลุงมีประสิทธิผล และมีความเท่าเทียมในการเข้าถึงบริการสูงมาก แต่ส่วนใหญ่เป็นการผ่าตัดที่โรงพยาบาลขาดทุน เนื่องจากวัสดุการแพทย์มีราคาสูง ดังนั้นโรงพยาบาลจำเป็นต้องปรับระบบการ เช่น ผ่าตัดกลุ่มเป้าหมายที่สุขภาพดีแบบมาเช้า-กลับเย็น ซึ่งจะช่วยลดการขาดทุนของโรงพยาบาลได้

Abstract

Objectives: This study was aimed to describe effectiveness of hernia operations and costs in Phatthalung hospital.

Materials and methods: The retrospective case series study of hernia operation was conducted. Data relating to patient demographics, clinical and primary diagnosis, and operation were obtained from medical record in Phatthalung hospital between January and December 2017. Data were analyzed using descriptive statistics. Demographic characteristics and effectiveness of hernia operations (operation types, duration, admission, complications, and medical cost) were depicted.

Results: The results revealed that from 347 patients, 87.90% were male. Median aged was 61 years-old (min 1, max 93) and 44.67% were farmers. A quarter (24.21%) of patients reside in Maung district and 15.85% had co-mobility (Hypertension). We found that 91.65% of primary diagnosis was inguinal hernia and 71.76% cases appointed in advance. The Lichtenstein repair technique was applied (65.55%) to unilateral repair of inguinal hernia. The median of operation length was 35 minute (min 10, max 95). Post operation bed-occupation (median) was 4 days (min 2, max 15). There was zero complication reported or identified. Median of accounting medical cost (AMC) was 18,580 Baht (min 7597, max 69,290). Adjusted Diagnosis Related Group (median) was 1.2886 (min 0.56, max 9.89). Median reimbursements AMC was 8,954 Bath (min 4,495, max 99,451). Among all 347 patients who were operated, no postoperative mortality and incidence of re-occurrence was found.

Discussions, Conclusions, and Recommendations: In Phatthalung hospital, cost effectiveness and accessibility to hernia operation is excellent, but most of operations are non-profits. Accounting material (operation nest) cost was astounding, so hernia operation reshuffled is required. Elective and one-day operation is the intervention of choice; it would reduce Phatthalung hospital medical cost and debt.   

Downloads

Published

2020-08-08

How to Cite

Buakaew, S. (2020). การศึกษาย้อนหลังประสิทธิผลการผ่าตัดภาวะไส้เลื่อนในโรงพยาบาลพัทลุง : Retrospective Case Series Study on Effectiveness of Hernia Operation in Phatthalung Hospital. Journal of the Association of General Surgeons of Thailand under the Royal of Patronage of HM the King, 3(1). Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/agstjournal/article/view/243706