พฤติกรรมการใช้ถุงยางอนามัยของนักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง

ผู้แต่ง

  • อุไรวรรณ นิลเต่า คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ชนัญญา จิระพรกุล คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • เนาวรัตน์ มณีนิล คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการใช้ถุงยางอนามัย, นักศึกษา

บทคัดย่อ

โรคเอดส์และการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ยังคงเป็นปัญหาที่สำคัญ และการศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้ถุงยางอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์ในกลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัยยังพบน้อย ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้ถุงยางอนามัย และเพื่อศึกษาความชุกของการไม่ใช้ถุงยางอนามัยของนักศึกษาคณะหนึ่งในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional analytical study) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างจำนวน 150 คน วิเคราะห์หาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติการถดถอยแบบพหุโลจิสติก (Multiple Logistic Regression) นำเสนอขนาดความสัมพันธ์ด้วยค่า Adjusted Odds Ratio (AOR) ช่วงเชื่อมั่น 95% และค่า
p-value พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้ถุงยางอนามัยของนักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05) เมื่อควบคุมผลกระทบจากตัวแปรอื่น ๆ ในสมการสุดท้าย ได้แก่ การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ก่อนมีเพศสัมพันธ์ (AOR=2.48, 95% CI =1.15-5.32, p-value=0.02) และทัศนคติต่อการใช้ถุงยางอนามัย (AOR=6.78, 95% CI =3.12-14.77, p-value<0.001) ความชุกของการไม่ใช้ถุงยางอนามัย ร้อยละ 64.0 (95%CI=56.0-72.0)ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีการส่งเสริมให้วัยรุ่นมีทัศนคติที่ดีในการใช้ถุงยางอนามัย สนับสนุนไม่ให้มีการขายเหล้า สุรา หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ให้กับวัยรุ่นที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี ทั้งนี้ผู้ปกครอง เพื่อน หรือคนรอบข้างที่สนิทกับวัยรุ่นควรเฝ้าระวัง และช่วยกันสอดส่องไม่ให้วัยรุ่นดื่มสุราเพราะจะนำไปสู่การมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ป้องกันได้

References

สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.ยุทธศาสตร์ป้องกันและควบคุมโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์แห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2564. กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์ ; 2559.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. เอชไอวี [ออนไลน์] 2562 [อ้างเมื่อ 1 ตุลาคม 2562]. จากhttps://ddc.moph.go.th/disease_detail.php?d=59.

สุมาลี ง่อนชัย, ฐิติพงษ์ ยิ่งยง, สุปิยา จันทรมณี, นิรมล ปัญสุวรรณ, วัชรพล สีนอ, ภานุพิชญ์ เที่ยงธรรม. การคาดประมาณสถานการณ์การแพร่ระบาดของ HIV/AIDS ในประชากรที่มีอายุ ตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป ในจังหวัดขอนแก่น ตั้งแต่ พ.ศ. 2560-2573 เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์ ; 2561.

จุฑามาศ เบ้าคำกอง. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีและ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ของนักศึกษา : กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. ว. สำนักงานป้องกันโรคที่ 7 ขอนแก่น 2562 ; ปีที่ 26 (ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2562) : 66-76.

สกุลรัตน์ ประเสริฐผล. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศและการใช้ถุงยางอนามัยของนักเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดกาญจนบุรี. ว. สุขศึกษา 2556 ; ปีที่ 36 (ฉบับที่ 124) : 89-101.

Lwin K.T, Hong S.A. and Thepthien B. Condom use at last sex and associated factors among male migrant workers in a coastal area of Thanbyuzayat Township, Mon State, Myanmar. J Pub Health Dev. 2018;16(3): 15-28

Hsieh, F.Y., Bloch, D. A., Larsen, M.D. (1998). A simple method of sample size calculation for linear and logistic regression. Statistics in Medicine. 17, 1623-1634.

ประคอง กรรณสูต. สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย; 2542.

ณรงค์ ใจเที่ยง, ปฎิพัทธ์ วงค์เรือง พฤติกรรมการใช้ถุงยางอนามัยของกลุ่มวัยเจริญพันธุ์ในจังหวัดพะเยา อุบลราชธานี. ว. กฎหมายและนโยบายสาธารณสุข 2563 ; ปีที่ 6 (ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2563) : 21-32.

ธนันณัฏฐ สิงห์วิเศษ, พิมพ์พรรณ ศิลปะสุวรรณ, ปรารถนา สถิตวิภาวี, ราม รังสินธ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศสัมพันธ์ในวัยรุ่นชายไทย ที่รับเข้าเป็นทหารกองประจำการ. ว.พยาบาลสาธารณสุข 2560; 31, (พ.ค.-ส.ค. 2560) 139-161.

ภัทรนันต์ แซ่ซี. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการใช้ถุงยางอนามัยของแรงงานชายพม่าในโรงงาน อุตสาหกรรมเขตภาคใต้ตอนบนของประเทศไทย [วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. กรุงเทพมหานคร: บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2558.

นันทิดา ศรีจันทร์. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการใช้ถุงยางอนามัยของกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายอำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่. ว.บัณฑิตวิจัย 2560 ; ปีที่ 8 (ฉบับที่ 1) : 217-233.

ศิริวรรณ ทุมเชื้อ. พฤติกรรมทางเพศและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการป้องกันการตั้งครรภ์ของวัยรุ่นในจังหวัดสระบุรี. ว.พยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 97-109.

Zaw Zaw Oo, Jiraporn Chompikul, and Bang-on Thepthien. Determinants of condom use at last sex among adult HIV patients on antiretroviral treatment in Mandalay City, Myanmar. Journal of Public Health and Development 2018; 2018(Vol. 16 No. 3): 67- 80

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-01-11