การสอบสวนวัณโรคดื้อยาในพื้นที่อำเภอแก้งคร้อ ระหว่างตุลาคม พ.ศ. 2561 ถึงสิงหาคม พ.ศ. 2562

ผู้แต่ง

  • ทศพร เจริญจิต โรงพยาบาลแก้งคร้อ

คำสำคัญ:

วัณโรค, วัณโรคดื้อยา, โรงพยาบาลแก้งคร้อ

บทคัดย่อ

ระหว่างตุลาคม พ.ศ.2561 ถึงสิงหาคม พ.ศ. 2562 โรงพยาบาลแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ พบผู้ป่วยวัณโรคดื้อยารายใหม่ 6 ราย โดยในพ.ศ. 2558 ถึง พ.ศ. 2561 มีอุบัติการณ์วัณโรคดื้อยาในพื้นที่เพียง 4 ราย ผู้จัดทำจึงสอบสวนอุบัติการณ์ในครั้งนี้ เพื่อตรวจสอบว่าอุบัติการณ์วัณโรคดื้อยาที่พบเป็นการระบาดแบบกลุ่มก้อนหรือไม่ ศึกษาแบบ Cross-sectional เก็บข้อมูลผู้ป่วยวัณโรคดื้อยา 6 รายที่พบจากฐานข้อมูลโรงพยาบาลแก้งคร้อและลงพื้นที่สำรวจสิ่งแวดล้อม ผลการศึกษาพบว่า คาดว่าไม่ใช่การระบาดแบบกลุ่มก้อน ผู้ป่วยรายที่ 1, 3 และ 5 อยู่ตำบลโคกกุง แต่คนละหมู่ รายที่ 1 เชื้อดื้อยาไอโซไนอะซิด รายที่ 3 และ 5 เป็น Multidrug-resistant TB (MDR-TB) แต่รายที่ 5 แสดงอาการกรกฎาคม 2561 ที่จังหวัดชลบุรี รายที่ 3 แสดงอาการเมษายน 2561 อยู่อำเภอแก้งคร้อ ผู้ป่วยรายที่ 2, 4 และ 6 เป็น MDR-TB อยู่ตำบลหลุบคา ท่ามะไฟหวาน และหนองขาม แสดงอาการธันวาคม 2560, กุมภาพันธ์ 2562 และกันยายน 2558 ตามลำดับ สมมติฐานการเกิดวัณโรคดื้อยาแบบปฐมภูมิ เกิดได้ในผู้ป่วยทุกรายโดยอาจรับเชื้อจากต่างพื้นที่ ผู้ป่วย 3 ราย เป็นเบาหวานควบคุมระดับน้ำตาลไม่ดีเพิ่มความเสี่ยงต่อเชื้อวัณโรคดื้อยา การดื้อยาแบบทุติยภูมิอาจเกิดในผู้ป่วย 3 ราย คือ รายที่ 2 มีประวัติว่าเคยมีน้ำในเยื่อหุ้มปอด ไม่ทราบวินิจฉัย รายที่ 5 และ 6 จากการกินยาไม่สม่ำเสมอ ในอนาคตมีมาตรการเฝ้าระวังวัณโรคดื้อยา คือ หากมีผู้ติดเชื้อวัณโรครายใหม่อาศัยในพื้นที่ที่เคยมีอุบัติการณ์หรือเป็นผู้สัมผัสในการศึกษานี้ ถ้าเสมหะ AFB ผลบวกจะส่งตรวจ Line probe assays ถ้าเสมหะ AFB ผลลบ ส่งตรวจ Sputum gene Xpert หากพบการดื้อยาไรแฟมพิซิน จะส่งเสมหะเพาะเลี้ยงเชื้อวัณโรคและส่งต่อเพื่อรักษาแบบ MDR-TB ระหว่างรอผล สรุปคือ อุบัติการณ์ผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาในครั้งนี้ไม่ใช่การระบาดแบบกลุ่มก้อน ขณะนี้มีมาตรการเฝ้าระวังวัณโรคดื้อยาคือส่งตรวจหาหลักฐานการดื้อยาในครั้งแรกที่วินิจฉัยในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง

References

[WHO] World Health Organization. Annex 2 - Country Profiles for 30 High TB Burden Countries, 20 High TB Burden Countries Based on Absolute Number of Incident Cases, 10 High TB Burden Countries Based on Severity of Disease Burden (Incidence per Capita). 2018;61.

สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางปฏิบัติป้องกันควบคุมวัณโรคดื้อยาหลายขนานชนิดรุนแรงมาก ภายใต้พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558. ฉบับปรับปร. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2562.

Ahmad N, Ahuja SD, Akkerman OW, Alffenaar J-WC, Anderson LF, Baghaei P, et al. Treatment correlates of successful outcomes in pulmonary multidrug-resistant tuberculosis: an individual patient data meta-analysis. Lancet. 2018 Sep;392(10150):821–34.

WHO. Consolidated Guidelines on Tuberculosis Treatment. 2016.

สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค. แนวทางการสอบสวนและควบคุมวัณโรค. พิมพ์ครั้ง. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2561.

กรมควบคุมโรค สำนักวัณโรค. การคัดกรองเพื่อค้นหาวัณโรคและวัณโรคดื้อยา. พิมพ์ครั้ง. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2561.

Kliiman K, Altraja A. Predictors of poor treatment outcome in multi- and extensively drug-resistant pulmonary TB. Eur Respir J. 2009;33(5):1085–94.

สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค. แนวทางการดำเนินงานควบคุมวัณโรคแห่งชาติพ.ศ.2561. พิมพ์ครั้ง. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2561.

Jeon CY, Murray MB. Diabetes mellitus increases the risk of active tuberculosis: a systematic review of 13 observational studies. PLoS Med. 2008 Jul;5(7):e152.

Mankatittham W, Likanonsakul S, Thawornwan U, Kongsanan P, Kittikraisak W, Burapat C, et al. Characteristics of HIV-infected tuberculosis patients in Thailand. Southeast Asian J Trop Med Public Health. 2009 Jan;40(1):93–103.

Friedland G. Tuberculosis, drug resistance, and HIV/AIDS: a triple threat. Curr Infect Dis Rep. 2007 May;9(3):252–61.

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการวินิจฉัยและการดูแลรักษาผู้ป่วยวัณโรคในประเทศไทย. กรุงเทพมหา. บริษัทบียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์ จำกัด; 2561.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-01-12