ค่าสายตาผิดปกติที่ได้รับการแก้ไขและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในอำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • ธารีรัตน์ รักตระกูลวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ทัศนีย์ ศิลาวรรณ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • สุวรรณา เชาวน์รัตนกวี คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • เทื้อน ทองแก้ว มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
  • ประศักดิ์ สันติภาพ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

ค่าสายตาผิดปกติ, ค่าสายตาผิดปกติที่ได้รับการแก้ไข, นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ตรวจวัดค่าสายตาและสำรวจการแก้ไขค่าสายตาผิดปกติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ในอำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี 2) วิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขค่าสายตาผิดปกติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ในอำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ในอำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี ที่ผ่านการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ เครื่องตรวจวัดสายตา (optrometry instrument) ที่วัดโดยนักทัศนมาตร และแบบสัมภาษณ์ ค่าคุณภาพของเครื่องมือ แบบสัมภาษณ์ได้ตรวจค่าความตรงเชิงพินิจจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่านและค่าความเทียง (Chronbach’s alpha) คือ 0.74 การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบ่งโรงเรียนตามขนาดของโรงเรียนสุ่มได้โรงเรียนละ 1 โรงเรียนจากนั้นสุ่มห้องเรียนชั้นมัธยมศึกษาปืที่ 1, 2 และ 3 ในแต่ละโรงเรียนนักเรียนในห้องที่ถูกสุ่มได้รับการตรวจวัดค่าสายตา และแว่นสายตาแล้วได้รับการสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา คือ ร้อยละ และสถิติอนุมาณ คือ Chi-squareผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียน 189 คน มีค่าสายตาผิดปกติ 56 คน หรือร้อยละ 29.6และได้รับการแก้ไขถูกต้อง ร้อยละ 44.6  2)ปัจจัยที่สัมพันธ์กับค่าสายตาผิดปกติที่ได้รับการแก้ไขถูกต้อง ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับจักษุวิทยา ทัศนคติในการใส่แว่นตา และขนาดของโรงเรียน ข้อเสนอแนะจากการวิจัย คือ ควรมีการตรวจคัดกรองสายตาผิดปกติรวมทั้งเพิ่มการให้สุขศึกษาเกี่ยวกับจักษุวิทยาร่วมกับการเปลี่ยนทัศนคติให้กับนักเรียนโดยเฉพาะโรงเรียนขนาดปานกลางมากกว่าโรงเรียนขนาดใหญ่

Author Biography

ประศักดิ์ สันติภาพ, คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Lecturer of Community Health department Faculty of Public Health

References

Kovin SN, et al.Global vision impairment and blindness due to uncorrected refractive error, 1990-2010. Optom Vis Sci. 2016. 93 (3): 227-34.

WHO. Fact sheets: visual impairment and blindness [monograph on the Internet].2014. [cited 2019 Jun 4]. Available from: www.who.int

กัลยา ตีระวัฒนานนท์. การพัฒนาระบบการคัดกรองภาวะสายตาผิดปกติและประกอบแว่นสายตาสำหรับเด็กก่อนวัยประถมศึกษาและประถมศึกษาในประเทศไทย. โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ. 2554. เข้าถึงเมื่อ 13 ตุลาคม พ.ศ.2562. จาก: http://www.hitap.net/research/17579.

International Telecommunication. Key ICT.Indicators for developed and developing countries and the world (totals and penetration rates). Geneva: International Telecommunications Unions (ITU)[Internet]. 2016. [cited 2018 Nov 4]. Available from: https://www.itu.int/en/ITU-D/Statistics/Documents/facts/ICTFactsFigures2016.pdf

Kozeis, N. Impact of computer use on children’s vision. Hippokratia. 2009. 13(4): 230-35.

บุญวดี เพชรรัตน์. การดูแลตนเองด้านสุขภาพจิตของวัยรุ่นในชันมัธยมศึกษา จังหวัดสงขลา. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. 2546. 11(1): 21-9.

Lavin W, Taptagaporn S, Khruakhorn S. Computer vision syndrome,CVS: one case report in children. Thammasat medical journal. 2015. 15(1): 1-7.

กระทรวงสาธารณสุข. องค์ความรู้การดำเนินงานดูแลสุขภาพวัยรุ่นแบบบูรณาการสำหรับทีมนักจัดการสุขภาพวัยรุ่น. 2559. บริษัท บียอนด์ พลับบิสชิ่ง จำกัด: นนทบุรี.

วงศ์ธีรา สุวรรณิน. และคณะ. การศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของวัดในจังหวัดปทุมธานี. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 2557. ปีที่ 8 ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม: 63-81.

วีรวัฒน์ วงศ์ศุปไทย. ปทุมรามัญญธานีเทิดไท้องค์ราชันย์ ไทยรามัญย้อนรำลึก ชนชาติมอญ. 2555. ปทุมธานี: องค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี.

เพ็ญพิมล ยิ่งยง. การสำรวจค่าสายตาผิดปกติของเด็กชั้นประถมศึกษา (6-12 ปี) ในจังหวัดกรุงเทพฯและนครปฐม (ผลสำรวจ 1 ปี). วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์. 2553. ปีที่ 93 ฉบับที่ 10: 1205-10.

ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ และ ภูวนาท รัตนนิเวศน์. ความชุกภาวะสายตาผิดปกติในกลุ่มประชากรที่เข้ารับบริการโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ. วารสารจักษุธรรมศาสตร์. 2553. 5 (2): 13-24.

Kathryn R, Mark AB, Loraine TS, Karla Z. The effects of age, accommodation, and refractive error on the adult human eye. Optom Vis Sci. 2016. 93 (1): 3-11.

Low W, Dirani M, Gazzard G, Chan YH, Zhou H.J., Selvaraj P, et al. Family history, near work, outdoor activity, and myopia in Singapore Chinese preschool children. Br J Ophthalmol.2010. 94(8): 1012–6.

Li YJ, Guggenheim JA, Bulusu A, Metlapally R, Abbott D, Malecaze F.An international collaborative family-based whole-genome linkage scan for high-grade myopia. Invest Ophthalmol Vis Sci. 2009. 50 (7): 3116-27.

Srivannaboon S, Chotikavanich S. Corneal characteristics in myopic patients. J Med Assoc Thai. 2005. 88 (9): 1222-7.

Rajavi, Z, et al. Prevalence of amblyopia and refractive errors among primary school children. J Ophthalmic Vis Res. 2005. 10(4): 408-16.

Barria F, Conte F, Muñoz S, Leasher JL, Silva JC. Prevalence of refractive error and spectacle coverage in schoolchildren in two urban areas of Chile. Rev Panam Salud Publica. 2018. 42: 1-8.

กิตติชัย อัครพิพัฒน์กุล และ ดวงมนตรี โรจน์ดํารงวัฒนา. ความชุกภาวะตาบอดสีแดง-เขียว ความดันตาผิดปกติ ค่าสายตาสั้นยาวผิดปกติ และค่าสายตาสั้นยาวผิดปกติที่ไม่ได้รับการแก้ไข ในกลุ่มประชากรวัยทํางาน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. วารสารจักษุธรรมศาสตร์. 2556. 8 (1): 13-8.

Khambhiphant B, Srisuwanwattana W. A one-year review of amblyopia treatment for literate patients at King Chulalongkorn Memorial Hospital. J Med Assoc Thai. 2012. 95(10): 1302-5.

Khamthung R, Suwonnaroop N, Kitnarong N, Watthayu N.The Relationships among Knowledge of Glaucoma, Perceived Susceptibility, Received Information and Preventive Behavior of Glaucoma in Population at Risk. J Nurs Sci. 2011. 29 (2) Apr-Jun.: 93-102.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-01-11