สถานการณ์และแนวทางการป้องกันการฆ่าตัวตาย: มุมมองผู้มีส่วนได้เสีย จังหวัดเลย ประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • กายสิทธิ์ แก้วยาศรี สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเลย
  • บุญมา สุนทราวิรัตน์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเลย
  • นิตยาภรณ์ โคตรแก้ว โรงพยาบาลหนองหิน

คำสำคัญ:

การฆ่าตัวตาย, แนวทางการป้องกัน, มุมมองผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

บทคัดย่อ

การวิจัยผสมผสาน (Mixed method research) นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การฆ่าตัวตายและแนวทางการป้องกันการฆ่าตัวตายจากมุมมองของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จังหวัดเลย เก็บข้อมูลการฆ่าตัวตายย้อนหลังจำนวน 4 ปี โดยใช้แบบบันทึกข้อมูลการฆ่าตัวตาย วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน One Way ANOVA ยืนยันความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีการของ Tukey HSD และสถิติ Kruskal-Wallis Test เติมเต็มด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยใช้แนวคำถามสืบค้นในการสนทนากลุ่มและการสัมภาษณ์เชิงลึก หลังจากนั้นนำแนวทางการป้องกันการฆ่าตัวตายสู่การปฏิบัติ และประเมินผล เก็บข้อมูลระหว่างตุลาคม 2562 - กันยายน 2563 ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่าง 209 คนเป็นชายมากกว่าหญิงประมาณ 4 เท่า อายุเฉลี่ย 43.13 ปี (SD=16.085) อายุต่ำสุด 14 ปี และอายุสูงสุด 87 ปี อัตราตายสูงสุด 9.58 ต่อแสนประชากร ใช้วิธีการแขวนคอมากสุดร้อยละ 72.73 เพศไม่มีความสัมพันธ์ใดๆกับวิธีการฆ่าตัวตาย Kruskal-Wallis Test (Chi=3.707, P-value=0.157)และวิธีการฆ่าตัวตายไม่แตกต่างกันในแต่ละกลุ่มอายุ(F=0.764, p-value=0.467) ข้อมูลเชิงคุณภาพพบว่ากลุ่มเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายไม่สามารถเข้าถึงบริการสุขภาพเป็นประเด็นสำคัญ แนวทางการป้องกันการฆ่าตัวตายขึ้นอยู่กับบริบทพื้นที่ การค้นหาผู้ป่วยเชิงรุกโดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านและส่งต่อเพื่อเข้ารับบริการสุขภาพนับเป็นการต่อยอดแนวทางการป้องกันการฆ่าตัวตาย

References

วงค์พรรณ์ มาลารัตน์ และคณะ. ปัญหาการฆ่าตัวตายในชุมชน จังหวัดเชียงราย. ศูนย์สุขภาพจิตที่ 10 กระทรวงสาธารณสุข. มปพ

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. [อินเตอร์เน็ต]. 2562. [เข้าถึงเมื่อ 5 ตุลาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=29978/.

World Health Organization: WHO. 2020. World Health Statistics data. [Internet].2020. [cited 2020 Nov 1]. Available from: http://apps.who.int/gho/data/node.sdg.3-4-viz-2?lang=en.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการจัดการโรคซึมเศร้า. พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรประเทศไทย จำกัด; 2557.

World Health Organization: WHO. 2020. World Health Statistics data. [Internet]. 2020. [cited 2020 April 10]. Available from: https://www.who.int/health-topics/suicide#tab=tab_1.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. [อินเตอร์เน็ต]. 2562. [เข้าถึงเมื่อ 15 กันยายน 2563]. เข้าถึงได้จาก:https://dmh.go.th/report/suicide/.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเลย. ฐานข้อมูล Health Data Centre: HDC. [อินเตอร์เน็ต]. 2562. [เข้าถึงเมื่อ 25 พฤษภาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก: https://www.lo.moph.go.th/main/.

ชาย โพธิสิตา. ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้งติ้ง; 2552.

American Psychiatric Association: APS.2020. Suicide Prevention. [Internet]. 2020. [cited 2020 July 16]. Available from: https://www.psychiatry.org/patients-families/suicide-prevention.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเลย. ฐานข้อมูล Health Data Centre: HDC. [อินเตอร์เน็ต]. 2562. [เข้าถึงเมื่อ 30 กันยายน 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://www.lo.moph.go.th/main/.

สมภพ เรืองตระกูล. ตําราจิตเวชศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: เรือนแก้วการพิมพ์; 2553.

สมพร รุ่งเรืองกลกิจ. เพศหญิงหรือความเป็นหญิงจึงนำมาสู่การเป็นโรคซึมเศร้า. วารสารจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 2555; 7: 61-74.

วราภรณ์ ประทีปธีรานันต์. อัตราการฆ่าตัวตายและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมฆ่าตัวตาย โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต. 2556; 28: 90-103.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-07-12