การพัฒนารูปแบบบริการผู้สูงอายุแบบไปเช้าเย็นกลับ (Day care) ตามบริบทชายแดนใต้ กรณีศึกษาผู้สูงอายุ และผู้ดูแลผู้สูงอายุ องค์การบริหารส่วนตำบลเปาะเส้ง อ.เมือง จ.ยะลา

ผู้แต่ง

  • นูรรีย๊ะ ล่าเตะเกะ คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
  • อิสมาแอ ล่าเตะเกะ คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
  • รอฮานี อิสลามิกกุล ศูนย์สุขภาพชุมชนบ้านสะเตง

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ, ผู้ดูแลผู้สูงอายุ, รูปแบบบริการผู้สูงอายุแบบไปเช้าเย็นกลับ

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการ พัฒนารูปแบบ และประเมินรูปแบบบริการผู้สูงอายุแบบไปเช้าเย็นกลับ (Day care) ตามบริบทชายแดนใต้ กรณีศึกษาผู้สูงอายุ และผู้ดูแลผู้สูงอายุ องค์การบริหารส่วนตำบลเปาะเส้ง อ.เมือง จ.ยะลา ดำเนินการวิจัยเป็น 3 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1) ศึกษาความต้องการบริการผู้สูงอายุแบบไปเช้าเย็นกลับ (Day care) 2) ขั้นการพัฒนารูปแบบ และ 3) ขั้นประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบ ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบบริการผู้สูงอายุแบบไปเช้าเย็นกลับ (Day care) ตามบริบทชายแดนใต้ กรณีศึกษาผู้สูงอายุ และผู้ดูแลผู้สูงอายุ องค์การบริหารส่วนตำบลเปาะเส้ง อ.เมือง จ.ยะลา ประกอบด้วย 1) วัฒนธรรม ได้แก่ มีห้องปฏิบัติธรรม และห้องปฏิบัติศาสนกิจ 2) คุณภาพและมาตรฐาน ได้แก่ ผู้ดูแลผู้สูงอายุควรมีความรู้ด้านการปฐมพยาบาลเบื้องต้น และผ่านการอบรมทักษะการดูแลผู้สูงอายุจากหน่วยงานที่ได้มาตรฐานรองรับ ผู้สูงอายุต้องได้รับการดูแลจากคนที่รู้ เข้าใจ และมีความชำนาญเฉพาะทาง อีกทั้งมีระบบการดูแลความปลอดภัย และมีระบบการส่งต่อเมื่อผู้สูงอายุเกิดการเจ็บป่วย เพื่อเข้ารับการรักษา พักฟื้นอาการป่วย 3) กิจกรรมสร้างความสุข ได้แก่ มีกิจกรรมที่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งให้ผู้สูงอายุได้มีกิจกรรมเสริมทักษะต่าง ๆ เช่น ฝึกความจำ การใช้ความคิด รวมถึงการสร้างสรรค์ชิ้นงาน เช่น การทำอาหาร การแต่งหน้า ทำผม วาดรูป ระบายสี นวดแผนไทย สปา เพื่อให้ผู้สูงอายุเลือกใช้เวลาว่างทำกิจกรรมที่ชอบหรือสนใจ พร้อมทั้งมีกลุ่มเพื่อนได้พูดคุยคลายเหงา 4) ค่าใช้จ่าย ได้แก่ มีหลายราคาให้ผู้ใช้บริการเลือก แบบรายวัน รายสัปดาห์ และรายเดือน และผลการประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบ พบว่าความสุขของผู้สูงอายุโดยรวมอยู่ในระดับมาก (M=4.61, SD=0.49)

References

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society) .[ออนไลน์] สืบค้นเมื่อ 27 สิงหาคม 2563 จาก https://fopdev.or.th/สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์.

มหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้. รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุ พ.ศ.2556 โดย มส.ผส. “ประเทศไทยกับสังคมผู้สูงอายุ”. [ออนไลน์] สืบค้นเมื่อ 27 สิงหาคม 2563 จาก https://il.mahidol.ac.th/th/i-Learning-Clinic/general-articles.

Lehman, C. A., & Poindexter, A. Gerontological Nursing: Competencies for care. In K. L.Mauk (Ed.),The ageing population. Massachusetts: Jone and Bartlett; 2006.

Moon, O. R. Outcome and recommendations of International meeting on community health care for older persons in urban areas. Paper presented at the International Meeting on Community health care for older person in urban areas, Paper presented at the WHO Kobe Center; 2001.

กาญจนา พิบูลย์ และคณะ. รูปแบบการจัดบริการสำหรับผู้สูงอายุแบบไปกลับในโรงพยาบาล มหาวิทยาลัยบูรพา. ชลบุรี:มหาวิทยาลัยบูรพา; 2557

นูรรีย๊ะ ล่าเตะเกะ, อิสมาแอ ล่าเตะเกะ แลtรอฮานี อิสลามิกกุล. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการยอมรับธุรกิจบริการผู้สูงอายุแบบไปเช้าเย็นกลับ (Day care) ตามความต้องการของผู้ดูแลผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครยะลา. ยะลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา; 2562

องค์การส่วนตำบลเปาะเส้ง. สถิติข้อมูลประชาชนองค์การบริหารส่วนตำบลเปาะเส้ง อ.เมือง จ.ยะลา; 2563

Best, J. W. Research in Education. (3 rd ed). New Jersey: Prentice hall Inc; 1977.

Bandura Albert. Social learning theory. Pantrice. Hall, Inc, 1977.

ฉัตยาพร เสมอใจ. การบริหารการตลาด. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น. 2549.

ภิญญดา รื่นสุข. รูปแบบการตลาดธุรกิจการให้บริการดูแลผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร, หลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฏีบัณฑิต มหาวิทยาลัยปทุมธานี; 2558

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-01-12