การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน บ้านหนองเส็ง ตำบลแวงน่าง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม
คำสำคัญ:
กระบวนการพัฒนา, ผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน, กิจวัตรประจำวันบทคัดย่อ
การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน เป็นปัญหาที่ต้องเร่งรัดการดูแลเพื่อให้ผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน กลับมาช่วยเหลือตนเองได้ตามปกติซึ่งไม่สามารถกระทำได้โดยลำพังเพียงแค่คนในครอบครัวเท่านั้น การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษากระบวนการพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านหนองเส็ง ตำบลแวงน่าง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม โดยใช้แนวคิดการมีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกตามเกณฑ์ ประกอบด้วย บุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้อง 20 คน ได้แก่ ตัวแทนผู้ดูแลผู้สูงอายุ 10 คน ผู้ให้บริการด้านสุขภาพ 1 คน เจ้าหน้าที่จากเทศบาลตำบลแวงน่าง 2 คน ผู้นำชุมชน 4 คน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 2 คน พระภิกษุ 1 รูป และผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน 31 คน เก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจงแจงความถี่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า หลังจากพัฒนาด้วยกระบวน 5 ขั้นตอน คือ ศึกษาวิเคราะห์บริบทพื้นที่ การวางแผนเชิงปฏิบัติการ ปฏิบัติตามแผน นิเทศติดตาม และสรุปผลและถอดบทเรียน ได้เกิดรูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ส่งผลให้ผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน มีความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเอง อยู่ในระดับดี ความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน (ADL) ของผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน อยู่ในระดับดี พบว่าคะแนน ADL เพิ่มขึ้นช่วยเหลือตัวเองได้เพิ่มมากขึ้น เปลี่ยนเป็นผู้สูงอายุติดสังคม 2 คน ปัจจัยที่ทำให้เกิดความสำเร็จในครั้งนี้ เกิดจากมีผู้นำชุมชนดี เข้มแข็ง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสนับสนุนงบประมาณและเป็นเจ้าภาพหลัก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล สนับสนุนและเป็นพี่เลี้ยง ประชาชนในชุมชนให้ความร่วมมือทุกกระบวนการ และการติดต่อประสานงานอย่างต่อเนื่องทั้งเป็นทางการและไม่เป็นทางการ
References
2. จุฑาทิพย์ งอยจันทร์ศรี และอรสา กงตาล.การพัฒนาการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่องสําหรับผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านติดเตียงในชุมชนเขตเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์. ใน:การประชุมเสนอผลงาน วิจัยระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น: 2555. หน้า 565-666.
3. สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมือง. รายงานการตรวจราชการกรณีปกติ.มหาสารคาม; 2559.
4. รัชชานันท์ ศรีสุภักดิ์. รูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านในเขตเทศบาลเมืองมหาสารคาม. [วิทยานิพนธ์ ปริญญาสาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต]. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2559.
5. Kemmis, S. andMcTaggart, R.The Action Research Reader. 3rd ed. Geelong: DeakinUniversity Press; 1990.
6. กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.คู่มือการคัดกรอง/ประเมินผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ:สำนักงานกิจการโรงพิมพ์สงเคราะห์องค์การทหารผ่านศึก; 2557.
7. นรากร เลไธสง. รูปแบบการดําเนินงานดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ตําบลหินโคน อําเภอลําปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์. [วิทยานิพนธ์ ปริญญาสาธารณสุขศาตรมหาบัณฑิต].มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2557.
8. สริญญา ปิ่นเพชร. การพัฒนารูปแบบการดูแลระยะยาวสําหรับผู้สูงอายุด้วยการมีส่วนร่วมของครอบครัวและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. บุรีรัมย์: กลุ่มงานเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชน โรงพยาบาลหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์; 2555.
9. นิตยา เพ็ญศิรินภา. การบริหารจัดการเพื่อการพัฒนางานสาธารณสุข. [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัญฑิต สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ]. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช; 2546.
10. กานต์รวี กอบสุข. รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน บ้านโคกบรรเลง ตำบลบุฤาษี อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์. [วิทยานิพนธ์ ปริญญาสาธารณสุขศาตรมหาบัณฑิต,สาขาการจัดการระบบสุขภาพ]. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2554.
11. วิโชติ ผ้าผิวดี. การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโดยภาคีผู้สูงอายุในชุมชนบ้านหนองเสือ ตําบลศรีสุข อําเภอสําโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์. [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการระบบสุขภาพ]. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2556.
12. เพ็ญจันทร์ สิทธิปรีชาชาญ และคณะ.กระบวนการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุแบบมีส่วนร่วมของชุมชนมาบแค. วารสารพยาบาลทหารบก 2555; 13(2): 89-90.